นักวิชาการ วสท. แจงชัดเสาตอม่อสะพานพระราม 3 ไร้ปัญหา หลังสื่อไทยตีข่าวต่างชาติสงสัยบอบบางผิดปกติ

นักวิชาการ วสท. แจงชัดเสาตอม่อสะพานพระราม 3 ไร้ปัญหา หลังสื่อไทยตีข่าวต่างชาติสงสัยบอบบางผิดปกติ

จากกรณีที่มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพผ่านทวิตเตอร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า “ที่นี่คือเมืองไทย เสาบางเกินไปหรือเปล่าครับ” โดยหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้มีคนวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก

โดยรศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร ที่ปรึกษาสาขาวิศกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย อธิบายว่า หากมองตามความรู้สึกขนาด อาจจะดูไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะมีขนาดที่บางมาก แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน ในการถ่ายเทน้ำหนัก ปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพาน การออกแบบเสาตอม่อก็มีขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ

สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก สะพานพระราม 3 ก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม 2539 และเปิดให้สัญจรในวันที่ 30 มี.ค.2543 สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจาก สะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้าง “สะพานพระราม 3” ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ ปัจจุบันเปิดใช้งานมาแล้ว 23 ปี โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลและก่อสร้าง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็ก และบางกว่าเสาตอม่อที่เราคุ้นเคยกัน แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน และในการถ่ายเทน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ทำให้ดังนั้นจึงมั่นใจไดว่าเสาตอม่อ “สะพานพระราม 3” มีความแข็งแรงมั่นคงพอ และที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพานการออกแบบเสาตอม่อก็ให้เสาตอม่อขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ อีกทั้งการออกแบบลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะพานขยับตามแนวทิศทางการวิ่งของรถ ลดรอยแตกร้าวได้ดี

 

ต่อมาในโลกออนไลน์ต่างพากันแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิ เพจเฟซบุ๊ก “The METTAD” โพสต์ข้อความระบุว่า จะเสี้ยมกีบไปฟาดตู่ แต่สร้างตั้งแต่ปี 39 ส่วนกีบผู้ชาญฉลาด ก็เอาไปฟาดตู่ต่อ สื่อฯชนะ” , “ต่างชาติ สงสัย ไม่ผิด แต่สื่อไทยแท้ๆ นอกจากไม่มีความสามารถในการหาข้อมูล มาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้กับผู้อ่านแล้วยังทำได้แค่นั่งเทียนเขียนข่าวเหมือนรับเด็กไร้ประสบการณ์ทำงานมาทำหัวข้อข่าวขายขำไปวันๆ น่าอนาถใจ”

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น