No data was found

“ท้องผูก” เรื้อรัง เสี่ยงลำไส้พังไม่รู้ตัว เปิด 8 อาการที่ต้องรู้

ท้องผูก, ท้องผูก ควร กิน อะไร, ท้องผูก ถ่าย เป็น เลือด, ท้องผูก กิน อะไร ให้ ถ่าย, แก้ ท้องผูก ด้วย วิธี ธรรมชาติ, ท้องผูกเรื้อรัง, ระบบขับถ่าย, ภาวะท้องผูก

กดติดตาม TOP NEWS

เตือนภัย "ท้องผูก" เรื้อรัง เสี่ยงลำไส้พังไม่รู้ตัว เปิด 8 อาการสำคัญที่ต้องรู้ หากเข้าข่ายควรพบแพทย์ด่วน พร้อมแนะ 4 วิธีแก้ท้องผูกด้วยวิธีธรรมชาติ

รู้หรือไม่ อาการ “ท้องผูก” เรื้อรัง ท้อง ผูก ควร กิน อะไร ท้อง ผูก ถ่าย เป็น เลือด ท้อ งผูก กิน อะไร ให้ ถ่าย แก้ ท้อง ผูก ด้วย วิธี ธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องปกติ แพทย์เตือน เสี่ยงลำไส้พังไม่รู้ตัว เช็ค 8 อาการสำคัญที่ต้องรู้ อันตรายกว่าที่คิด ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ระบบขับถ่ายเป็นเรื่องสำคัญมากในชีวิตประจำวัน การดูแลระบบขับถ่ายให้ดีจึงเป็นส่วนที่ช่วยให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจแข็งแรง เกิดความสมดุลของร่างกาย ซึ่งส่วนมากภาวะ “ท้องผูก” มักพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายและเป็นได้ในทุกช่วงอายุ โดยส่วนใหญ่พบได้ในวัยทำงาน

ท้อง ผูก VS. ท้อง ผูก เรื้อรัง ต่างกันอย่างไร

  • ภาวะการถ่ายอุจจาระยาก หรือห่างผิดปกติ ร่วมกับอุจจาระที่มีลักษณะแข็งหรือแห้งผิดปกติด้วยเช่นกัน
  • ส่วนท้องผูกเรื้อรัง หมายถึง ภาวะท้อง ผูกที่เป็นต่อเนื่องกันนานเกิน 3 เดือน

พบบ่อยทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้ถึงร้อยละ 25 โดยพบได้ใน

  • กลุ่มช่วงอายุ 20 – 40 ปีบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 57
  • เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย
  • นอกจากนี้ ยังพบบ่อยในผู้ที่
    • มีภาวะขาดน้ำ
    • ขาดอาหารที่มีกากใยสูง
    • ผู้ที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย
    • ผู้ที่มีภาวะเครียดทางอารมณ์

 

ท้องผูก, ท้องผูก ควร กิน อะไร, ท้องผูก ถ่าย เป็น เลือด, ท้องผูก กิน อะไร ให้ ถ่าย, แก้ ท้องผูก ด้วย วิธี ธรรมชาติ, ท้องผูกเรื้อรัง, ระบบขับถ่าย, ภาวะท้องผูก

 

สาเหตุของภาวะท้อง ผูก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่

กลุ่มแรก : ท้อง ผูกปฐมภูมิ

  • เกิดจากการบีบและคลายตัวผิดปกติของลำไส้เอง
  • เช่น ภาวะลำไส้แปรปรวน ภาวะลำไส้เฉื่อย หรือการเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี

กลุ่มสอง : ท้อง ผูกทุติยภูมิ 

  • มีสาเหตุจากความผิดปกติเชิงโครงสร้างของลำไส้ หรือโรคระบบอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดภาวะท้อง ผูก
  • เช่น มะเร็งลำไส้ โรคทางสมอง โรคทางต่อมไร้ท่อ (เบาหวาน ไทยรอยด์) หรือท้อง ผูกจากยา

ซึ่งภาวะท้อง ผูกเรื้อรัง ส่วนใหญ่มักเกิดจากกลุ่มปฐมภูมิ

 

ท้องผูก, ท้องผูก ควร กิน อะไร, ท้องผูก ถ่าย เป็น เลือด, ท้องผูก กิน อะไร ให้ ถ่าย, แก้ ท้องผูก ด้วย วิธี ธรรมชาติ, ท้องผูกเรื้อรัง, ระบบขับถ่าย, ภาวะท้องผูก

 

ภาวะท้อง ผูกส่วนใหญ่ที่เกิดจากกลุ่มปฐมภูมิ เช่น

  • ลำไส้แปรปรวน
  • ลำไส้เฉื่อย
  • การเบ่งถ่ายผิดวิธีนั้นเป็นกลุ่มที่ปลอดภัย

แต่หากเป็นกลุ่มที่มีสาเหตุจากโรค หากไม่ได้รับการวินิจฉัยที่ทันเวลา อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ เช่น มะเร็งลำไส้ เป็นต้น

ภาวะท้อง ผูกเรื้อรังที่ไม่มีโรคอันตรายแอบแฝง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของร่างกายและจิตใจได้ ดังนั้น หากเป็นไปได้ ควรป้องกันและรักษาภาวะท้อง ผูกให้หายเป็นปกติ หรืออย่างน้อยต้องให้มีอาการน้อยที่สุด

 

ท้องผูก, ท้องผูก ควร กิน อะไร, ท้องผูก ถ่าย เป็น เลือด, ท้องผูก กิน อะไร ให้ ถ่าย, แก้ ท้องผูก ด้วย วิธี ธรรมชาติ, ท้องผูกเรื้อรัง, ระบบขับถ่าย, ภาวะท้องผูก

เมื่อเกิดอาการท้อง ผูก ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

ในกรณีที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ร่วมกับมีอาการน้อย ไม่มีอาการสัญญาณเตือน อาจปรับเปลี่ยนสุขนิสัย ได้แก่

  • การดื่มน้ำให้มากพอ อย่างน้อย 2-3 ลิตรต่อวัน ภาวะขาดน้ำจะทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ยิ่งทำให้การถ่ายอุจจาระยาก
  • การรับประทานอาหารเส้นใยสูง คือ ผัก ผลไม้ ทั้งนี้เส้นใยจากอาหาร นอกจากจะเป็นโครงให้อุจจาระมีความฟู ถ่ายง่ายแล้ว เส้นใยจากอาหารยังเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ลดการรับประทานเนื้อสัตว์และแป้ง เพราะ จะส่งผลให้ท้อง ผูกเป็นมากขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายด้วยการเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ช่วยสนับสนุนให้มีการบีบตัวของลำไส้
  • การทำกิจกรรมเพื่อคลายเครียด ทั้งนี้

 

ท้องผูก, ท้องผูก ควร กิน อะไร, ท้องผูก ถ่าย เป็น เลือด, ท้องผูก กิน อะไร ให้ ถ่าย, แก้ ท้องผูก ด้วย วิธี ธรรมชาติ, ท้องผูกเรื้อรัง, ระบบขับถ่าย, ภาวะท้องผูก

8 อาการสำคัญที่ต้องรู้ ควรปรึกษาแพทย์

  • มีถ่ายอุจจาระปนเลือด
  • ผอมลงมาก
  • คลำได้ก้อนที่ท้อง
  • ปวดท้องรุนแรง
  • อ่อนเพลีย
  • ท้องอืดรุนแรง
  • ปัญหาเริ่มต้นหลังวัย 50
  • อาการเป็นมากขึ้นหลังจากการรักษาแบบปรับเปลี่ยนสุขนิสัยแล้ว

ข้อมูล : กรมการแพทย์


Apple Back to School โปรปังรับเปิดเทอม ลดสูงสุด 30%

Banana IT : ลดไม่ต้องรอโปรราคานักศึกษา สินค้า Apple และอุปกรณ์เสริม ลดสูงสุด 5,000.- สินค้าใหม่ ราคาดี ไม่ติดสัญญา ใครๆ ก็ได้ราคานี้ : คลิกที่นี่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภ.เมืองพัทยา เดินหน้าขับเคลื่อนแอพพลิเคชั่น PATTAYA SAFETY เพิ่มช่องทางในการอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวไทย-เทศ ในการแจ้งเหตุ-เบาะแส ออนไลน์ผ่านเจ้าหน้าที่ ตร.โดยตรง ตลอด 24 ชั่วโมง
เมืองพัทยา สั่งผู้รับเหมา เทแอสฟัลท์คอนกรีต แก้ไขถนนทางลงเขาพระตำหนักพัทยา หลังได้รับความเสียหายจากการบิดตัวของรถบัสที่เลี้ยวออกซอยอรรถจินดา
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพ สุดหดหู่ แม่พาลูกชายวัย 4 ขวบ ปั่นจักรยานมาขอเข้าวัดกินลูกหิวน้ำเลยไหว้ลาเอาน้ำแดงท้าวเวสสุวรรณมาให้ลูกกินประทังความหิวจนเจ้าอาวาสวัดเข้ามาถามแล้วเอาข้าวมาให้กินก่อนจะพาไปส่งห้องพัก
ผู้นำสโลวาเกีย ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ
รวบแล้ว "มือปืนโหด" ยิงแม่ค้าขายแตงโม-ฟักทอง ดับสลด ต่อหน้าลูกวัย 9 ขวบ
ยาย ป่วยจิตเวช เปิดหน้าต่างบ้านชั้น 2 กระโดดลงมาเจ็บสาหัส
“วธ.” เปิดคูหาประเทศไทยในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ฝรั่งเศส 14-25 พ.ค.นี้
จีน สนามบินเซินเจิ้นเปิดตัวห้องรับรองสัตว์เลี้ยง
ยูเครน เซเลนสกี้ระงับทริปต่างปท.หลังรัสเซียรุกหนักคาร์คีฟ
มาเลเซีย จี้เฟสบุ๊คชี้แจงเหตุลบโพสต์อันวาร์พบฮามาส

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น