“มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง” 1 ใน 5 มะเร็งพบมากในคนไทย เลี่ยงได้

แนะวิธีเลี่ยง "มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง" 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย อันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี

TOP News รายงานประเด็น “มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง” ล่าสุด กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้สัญญาณเตือนเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง กรมการแพทย์

นายแพทย์ วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากร ส่งผลให้แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่สาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี

“สำหรับประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง”

แพทย์หญิง นภา ศิริวิวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก โดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค เช่น อาหารไขมันสูง อาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ ได้รับความนิยมมากขึ้น การกินอาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ และเนื้อสัตว์แปรรูป ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรค อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การขาดการออกกำลังกาย การมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน ตลอดจนการมีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ เป็นต้น

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง กรมการแพทย์

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ (polyp) และพัฒนาจนเป็นมะเร็งโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 10 – 15 ปี “มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง” มักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรกของโรค จะมีอาการก็ต่อเมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ซึ่งอาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่

  • การถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง ถ่ายไม่สุด
  • ถ่ายเป็นมูก หรือมูกปนเลือดหรืออาจถ่ายเป็นเลือดสด
  • ขนาดลำอุจจาระเล็กลง
  • มีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง เป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคสูง ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระปีละครั้ง หากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต่อไป

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อ.อ๊อด" แฉเบื้องหลัง "ทนายตั้ม" วางแผน ส่งคนสนิทพลิกสารภาพโกงเงิน "เจ๊อ้อย" หวังศาลเห็นใจ
MEA แจ้งปิดทำการ เนื่องในวันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2568
"เต้ อาชีวะ" พาเหยื่อสาวไทย แจ้งความถูก "หนุ่มเมียนมา" บุกคอนโดฯ-ขู่ฆ่า
กกพ.ประกาศลดค่าไฟ งวดพ.ค.-ส.ค.68 เหลือ 3.98 สต. หวังแบ่งเบาภาระประชาชน
อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงนามความร่วมมือพัฒนาฝีมือแรงงานไทยกับสมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย
สหกรณ์บ้านเงาะตราด ส่งเงาะตราดสีทอง ลุยตลาดดูไบ เพิ่มโอกาสขยายตลาดผลไม้
มติกนง.เสียงส่วนใหญ่ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25 เหลือ 1.75% ต่อปี
ยาน'เสินโจว-19'ของจีนกล้บสู่พื้นโลกปลอดภัย
"ปตท." ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้-ทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จากสมอ.
ร้านข้าวขาหมูดังเมืองศรีราชา ยืนราคาเดิม แม้เนื้อหมูในตลาดปรับราคาเพิ่มต่อเนื่องหากปรับราคากลัวลูกค้าหด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น