No data was found

อัยการแจงเหตุไม่ฟ้อง “ธนาธร” ซุกหุ้นสื่อ

กดติดตาม TOP NEWS

สืบเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีความเห็นให้ดำเนินการแจ้งความเอาผิดทางอาญา กับ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จากการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 151 เรื่องการถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ขณะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 อันเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นายธนาธร พ้นสถานะความเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี

โดยรายละเอียดตามมาตรา 151 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ตามบทบัญญัติของกฎหมาย กำหนดไว้ว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะ ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทําหนังสือยินยอม ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนดยี่สิบปี” ต่อพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง และทางนายธนาธร ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

จากนั้น เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง นำตัวนายธนาธร พร้อมสำนวนเห็นควรสั่งฟ้องคดี มาส่งต่อพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 เพื่อพิจารณาจะมีคำสั่้งฟ้องตามสำนวนคดีหรือไม่ กระทั่งมีรายงานข่าวว่าเพิ่มเติมในวันที่ 16 เม.ย. 2564 ว่า “พนักงานอัยการฯ มีคำสั่งไม่ฟ้องนายธนาธร โดยวินิจฉัยเห็นว่าผู้ถูกร้องไม่มีเจตนา ที่จะไม่แจ้ง หรือ ปกปิด การถือครองหุ้นสื่อ” จนกลายเป็นที่วิพากษ์อย่างกว้างขวาง

แต่ไม่นานนัก นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ออกกล่าวปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดยให้รายละเอียด ว่า ไม่ทราบที่มาของข่าวดังกล่าว เพราะเดิมคดีนี้อัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 22 เม.ย. 2564 โดยเป็นการเลื่อนมาจากวันที่ 19 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา จึงต้องรอรับแจ้งจากอัยการ ในวันที่ 22 เม.ย.นี้ ว่า จะสามารถมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องได้หรือไม่ ถ้าอัยการแจ้งว่าจะมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ก็จะประสานนายธนาธร ร่วมเดินทางไปรับฟังคำสั่ง

ล่าสุด “TOP NEWS” ได้สอบถามประเด็นนี้กับแหล่งข่าว ในสำนักอัยการสูงสุด ระบุว่า กรณีกกต.แจ้งความกล่าวหา นายธนาธร มีประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาหลายส่วน เริ่มจากการที่กกต.ไปกล่าวหา นายธนาธร มีหุ้นสื่ออยู่ในมือ ณ วันเวลาที่ไปสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2562 แต่ทางนายธนาธรให้การปฏิเสธ ว่าได้มีการโอนให้มารดาไปตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 2562 จากนั้นจึงได้มีการไปจดแจ้งกับนายทางทะเบียนของกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ วันที่ 21 มี.ค. 2562

“ตามหลักการของกฎหมายตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ส่วนตัวเห็นว่าเพียงแต่มีการทำเอกสารการโอน ก็มีผลทางกฎหมายแล้ว เพียงแต่ว่าการจดทะเบียนถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งทาง กกต.ได้มีการร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อที่จะขอให้มีคำวินิจฉัยในเรื่้องนี้ และทางนายธนาธรก็ใช้ประเด็นนี้ในการต่อสู้คดี แต่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าสิ่งที่นายธนาธรให้การ ฟังไม่ขึ้นเพราะข้อมูลและคำให้การมีพิรุธ และไม่มีพยานหลักฐานใดมาหักล้าง จนมีข้อสรุปน่าเชื่อได้ว่ามีการโอนหุ้นเกิดขึ้นในวันที่ 21 มี.ค. 2562 หรือ หลังจากสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ไปแล้ว ประเด็นมันอยู่ตรงนี้”

และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่เชื่อ ท่านจึงวินิจฉัยว่า นายธนาธร สมัครส.ส. ในช่วงที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และเป็นการกระทำผิดจึงเพิกถอนสิทธ์เลือกตั้ง ขณะเดียวกันเมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ถูกระบุว่าผูกพันธ์ทุกองค์กร จึงมาสู่ประเด็นต่อมาคือ กกต.ไปแจ้งความร้องทุกข์นายธนาธร โดยให้ดำเนินคดีอาญาฐานรู้ว่าตัวเอง ขาดคุณสมบัติแต่ยังไปสมัครเป็น ส.ส.ซึ่งประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในเบื้องต้น

ซึ่งความเห็นส่วนตัวมองว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่บอกว่าผูกพันธ์ทุกองค์กร เป็นเรื่องผูกพันธ์ในบริบทในกฎหมายเขียน แต่ไม่ได้ผูกพันธ์ในคดีอาญา เพราะไม่เช่นนั้นแสดงว่าทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถ้าผูกพันธ์แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องสอบสวน ก็ไม่จำเป็นต้องให้อัยการ ก็ส่งไปจำคุกหรือส่งไปรับโทษได้เลย ซึ่งหลักกฎหมายอาญาไม่มีกฎหมายเขียนอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงต้องกลับมาเริ่มที่กระบวนสอบสวน ซึ่งอัยการไม่ได้ก้าวล่วงเรื่องความผูกพันธ์ แต่โดยข้อเท็จจริงก็ไม่มีกฎหมาย ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือสิ่งที่ต้องถือตามในกระบวนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นที่มาของการพิจารณาคดีของอัยการ ว่าจะมีความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใด สำหรับคำฟ้องในกรณีของนายธนาธร ซึ่งต้องว่ากันไปตามพยานหลักฐาน

“สิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญท่านไม่เชื่อ เป็นการชั่งน้ำหนักว่าท่านไม่เชื่อว่ามีการโอนหุ้นเกิดขึ้น ตามกรอบเวลาที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แต่ในทางอาญาจะเอาความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญมาจำคุกนายธนาธรเลยไม่ได้ มันต้องมาชั่งน้ำหนักที่สำนวนการสอบสวน ว่าจริงๆแล้วพยานหลักฐานทางอาญา นายธนาธรมีเจตนาทำผิดถึงขั้นที่ กกต.กล่าวหาหรือไม่ คำตอบคือในสำนวนการสอบสวน คือ ไม่มีพยานหลักฐานอะไรนอกจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และนายธนาธรชี้แจงไปแล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญ ท่านไม่เชื่อซึ่งก็เป็นอำนาจของท่าน แต่ความไม่เชื่อของท่านไม่ได้หมายความว่าธนาธรต้องไปติดคุก ต้องมาดูว่าธนาธรได้ทำความผิดอาญาหรือไม่ ต้องดูเจตนาเป็นหลัก ดูพยานหลักฐานเป็นหลัก”

นี่จึงเป็นที่มาที่ไปที่ของคำสั่งอัยการไม่ฟ้องนายธนาธร ตามที่เป็นกระแสข่าว เพราะอัยการพิจารณาตามหลักฐาน ตามข้อเท็จจริงในสำนวน และไม่มีกฎหมายใด บอกว่าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างไรแล้วคดีอาญาต้องถือตามนั้น

อย่างไรก็ตามคำอธิบายในข้อกฎหมายนี้ ขึ้นอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะพนักงานสอบสวน จะไม่เห็นด้วยกับอัยการก็ได้ เพราะว่าสำนวนคดี ที่อัยการสั่งแล้ว ต้องย้อนกลับไปที่ตำรวจและถ้าตำรวจไม่เห็นด้วย ก็ต้องส่งเรื่องมาที่อัยการสูงสุด ซึ่งอัยการสูงสุดอาจจะไม่เอาด้วยกับคณะทำงานอัยการก็ได้ เพราะกฎหมายบอกว่า กรณีสั่งไม่ฟ้องของอัยการให้เสนอความเห็นไปที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าเห็นพ้องต้องกันก็ยุติ ถ้าเห็นต่างก็ส่งให้อัยการสูงสุด จึงถือว่าขณะนี้คดียังไม่สิ้นสุด แต่ถ้าจะบอกว่าอัยการสั่งอย่างนี้ขัดต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ คำตอบคือไม่ขัดเพราะว่าถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างไร ก็เป็นไปตามนั้นก็ไม่ต้องมีกระบวนการสอบสวน ไม่มีกระบวนการวินิจฉัยแล้วก็ส่งผู้ถูกฟ้องเข้าเรือนจำเลย ซึ่งไม่มีกฎหมายข้อใดเขียนในลักษณะนั้น

“ประเด็นที่กล่าวถึงนี้ทางอัยการได้ส่งเรื่องไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ผ่านไปตั้ง 3-4 เดือนแล้ว แต่เพิ่งมาเป็นประเด็น ซึ่งจริงๆเรื่องนี้สั่งไปตามอำนาจหน้าที่ธรรมดา และเป็นความเห็นเกิดจากคณะทำงานด้วย ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง โดยจะมีตั้งคณะทำงานชุดใหญ่ขึ้นมาช่วยกันทำแล้วเสนอหัวหน้าอัยการชุดนั้น เสนอรองอธิบดี อธิบดี ซึ่งต่างก็ดูข้อกฎหมายกันอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ย้ำว่าเรื่องนี้ยังไม่จบมันต้องรอดูเจ้าหน้าที่ตำรวจพิจารณาอีกทีว่า จะเห็นพ้องหรือเห็นต่าง ถ้าเห็นด้วยก็จบคือไม่สามารถเอา นายธนาธร เข้าคุกได้ แต่ส่วนที่เขาถูกตัดสิทธิ์ยังมีอยู่ แต่ถ้าเห็นต่างก็ต้องส่งเรื่องไปให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดต่อไป”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชลบุรี ตำรวจ บก.ปทส. พร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรม นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบริษัทรีไซเคิล ในพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว หลังชาวบ้านร้องกลัวว่าจะเป็นที่กักเก็บกากแคดเมียม
ตำรวจรวบตัว "3 ชาวจีน" ถูกทิ้งอยู่ข้างทาง หลังหนีการสู้รบจาก "เมืองเมียวดี" ลักลอบเข้าไทย
เด็ก "เจ๊แดง" ผงาด "จักรพล" ขึ้นแท่น "โฆษกรัฐบาล" ลุยทำงานเต็มสูบหลังโผครม.เศรษฐา 2 คลอด
ตำรวจสอบสวนกลาง รวบ "แม่เล้า" ริมฝั่งโขง ค้ากามเด็กสาวไทย-ลาว เตือนผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลบุตรหลาน
“แม่น้องไนซ์” รอพบสำนักพุทธฯ เคลียร์ปมเชื่อมจิต ลั่นเตรียมฟ้องสื่อ 5 ช่อง เผยแพร่ข้อมูลเท็จ
3 จีนเทา หนีสู้รบ จากเมียวดีฯ ลอบเข้าไทยจะไปปอยเปตถูกนำมาปล่อยทิ้งข้างถนน
เมืองพัทยา คึกคัก กองเรือพิฆาตเทียบฝั่ง ทหารอเมริกันยกพลขึ้นบกท่องเที่ยว
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพคุณยายวัย 89 ปี อยู่คนเดียว สุดรันทดในบ้านไม้ผุพังไม่มีหลังคาบังแดดบังฝนวอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
"หมอธีระวัฒน์" แจ้งข่าวลาออก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ หลังวิจารณ์ปมวัคซีนโควิด หวั่นกระทบภาพลักษณ์องค์กร
"รทสช." ยังไม่นิ่ง! สะพัด "เสี่ยเฮ้ง" รีเทิร์นคั่วเก้าอี้ "รมช."

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น