No data was found

“พล.ท.นันทเดช” สะกิดคนชั้นกลางอย่านิ่งดูดายเรื่องการเมือง ระวังเหตุเลวร้ายจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

กดติดตาม TOP NEWS

"พล.ท.นันทเดช" สะกิดคนชั้นกลางอย่านิ่งดูดายเรื่องการเมือง ระวังเหตุเลวร้ายจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก

04 พ.ค.2566 พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า การเมืองเป็นเรื่องของทุกๆ คน มาดูเหตุผลที่คนชั้นกลางต้องตื่นตัว ออกมาเลือกตั้งให้มาก ๆ เข้าไว้

 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน, กำลังนั่ง และ สถานที่ในร่ม

ทำไมโพลนิด้าที่พยายามวางตัวเป็นกลางอย่างเต็มที่แล้ว ยังได้ผลออกมาชี้ซ้ำติดต่อกัน 3 ครั้งแล้วว่า “พรรคเพื่อไทย กับ ก้าวไกล ผลัดกันชนะที่ 1 และ 2”

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลโพล เป็นเช่นนี้น่าจะมาจากการทำโพลต่างๆ มักได้ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม ที่เป็นผู้หาเช้ากินค่ำ เกือบ 75% ซึ่งอาจไม่มีเวลามาศึกษานโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ มาใช้เป็นฐานในการรวบรวมข้อมูล ผลโพลจึงน่าจะมีโอกาสผิดพลาดสูง เมื่อถึงเวลาการลงคะแนนจริงๆ

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้ที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 2,500 คนของโพลนิด้า(NIDA Poll ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 3) นั้น มีการจำแนกรายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม ออกได้ ดังนี้

1.ผู้ที่ไม่มีรายได้เลย 560 คน 2.ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1 หมื่นบาท จำนวน 505 คน 3.ผู้ที่มีรายได้ระหว่าง 1-2 หมื่นบาท 774 คน (อนึ่ง ผู้ตอบแบบสอบถามในข้อ 1 อาจรวมถึงนักศึกษาที่เป็น new voter ซึ่งยังไม่ได้ทำงานและมีรายได้ประจำด้วย)

ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 3 กลุ่มนี้รวมคนได้เกือบ 72 %เข้าไปแล้ว จึงถือว่า เป็นกลุ่มความเห็นหลัก ต่อการกำหนดทิศทางของโพล

มาดูต่อถึงจุดสำคัญ คือ ความคิดเห็นทางการเมืองของบุคคลใน 3 กลุ่มดังกล่าว (กลุ่มที่ 1, 2 และ 3) น่าจะเชื่อไปตาม การโฆษณาหาเสียงของพรรคต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการเชื่อฟังหัวคะแนนอีกด้วย เพราะเวลาประจำวันที่มีอยู่ ต้องถูกใช้ไปในการประกอบอาชีพอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะ “พิจารณาข้อดี-ข้อเสีย” ของพรรคการเมืองต่างๆ จึงอาจจะมีน้อยกว่าบุคคลทั่วไป การให้ความเห็นจึงเป็นไปตามผลจากการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคการเมือง และหัวคะแนนเกือบทั้งหมด

ส่วนกลุ่มบุคคลที่มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัว และมีเวลาที่จะให้ความสนใจเรื่องการเมือง จะอยู่ในกลุ่มที่ 4.รายได้ระหว่าง 2-3 หมื่นบาท 261 คน 5.รายได้ระหว่าง 3-4 หมื่นบาท 98 คน และ 6.รายได้เกิน 4 หมื่นบาทขึ้นไป 98คน ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากผลการเลือกตั้งเป็นกลุ่มแรก ถ้าได้รัฐบาลไม่ดี แต่ก็มีจำนวนน้อยกว่า 3 กลุ่มแรกมาก ดังนั้น ผลโพลจึงออกมาในลักษณะเช่นนี้ ตามการให้ข้อมูลของกลุ่มที่ 1-3 ที่มีจำนวนคนมากที่สุดนั่นเอง

จากปัจจัยที่ทำให้เกิดผลโพลในลักษณะนี้ การจะไปชี้แจงให้กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามในข้อ 1-3 ให้มาเข้าใจเรื่องการเมืองที่ถูกต้อง คงทำได้ยาก และถ้ากลุ่มคนชั้นกลางไม่ตื่นตัวทางการเมืองซ้ำเข้าไปอีก หรือเห็นว่า“ใครจะมาก็ไม่เกี่ยวข้องกับตัวฉัน” จนไม่ออกมาเลือกตั้งให้มากๆแล้ว จะเกิดอะไรขึ้น ก็อย่าเสี่ยงไปลองดูเลยครับ

อย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อว่า ไม่ว่าผู้ตอบแบบสอบถามจะอยู่ในกลุ่มใด (ของนิด้าโพล) ก็น่าประสบปัญหาทางการเมืองที่ไม่ดีมาไม่มากก็น้อย เพราะการเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัวทุกคน ทุกวัย คงไม่มีใครอยากที่จะเจอสภาพที่เลวร้ายซ้ำแล้วซ้ำอีกครับ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สาวโปรตุเกส บันทึกคลิปเศษดาวหางได้แบบคูลสุดๆ (คลิป)
สพฐ. เลื่อนเข้าตรวจสอบ "ถังแก๊สโซลีน" ถูกไฟไหม้มาบตาพุด หลังพบสภาพเสียหายหนัก
ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ได้สิทธิ์อุทธรณ์ ยับยั้งถูกส่งตัวไปสหรัฐ
"ผู้ปกครอง" ขานรับนโยบาย “ยกเว้น-ผ่อนผัน” ใส่เครื่องแบบชุดนร. ขอบคุณศธ.ช่วยแบ่งเบาภาระ
"ธันวา" สวนหน้าหงาย "ธนาธร" หลัง "สกุลธร" น้องชาย ถูกพิพากษาจำคุก คดีติดสินบนเช่าที่ดินสนง.ทรัพย์สินฯ
"กระทรวงดีอี" เร่งระงับเว็บไซต์ "ลอตเตอรี่ พลัส" ล่าสุดผู้ให้บริการโทรมือถือ-อินเตอร์เน็ต เริ่มทยอยปิดกั้นแล้ว
อิหร่านไว้ทุกข์ 5 วัน ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ปูติน-สีจิ้นผิง อาลัย เสียเพื่อนที่ดี
ชาวเลยแห่ขอเอกสารใบสมัคร สว.นับพันคน แต่มาสมัครวันแรกยังบางตา
คนไทยไม่ทิ้งกัน คุณตาวัย 67 ปี ไม่มีเงินสักบาท ปั่น จยย. จากอุตรดิตถ์ กลับชัยภูมิ พบผู้ใจบุญช่วย
"โฆษกรัฐบาล" แจ้งไทม์ไลน์ขายข้าว 10 ปี หลังผลตรวจของ "กรมวิทย์ฯ" พิสูจน์ตามมาตรฐานครบถ้วน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น