No data was found

“บิ๊กตู่” โพสต์แจงค่าไฟแพง โยงค่าต้นทุนแก๊สโลก พ่วงแผนสำรองไฟรัฐบาลปี 55 ผูกมัดซื้อไฟเอกชน ลั่นทำแล้วรุกใช้พลังงานสะอาดแทน แก้ปัญหาระยะยาว

กดติดตาม TOP NEWS

"บิ๊กตู่" โพสต์แจงค่าไฟแพง โยงค่าต้นทุนแก๊สโลก พ่วงแผนสำรองไฟรัฐบาลปี 55 ผูกมัดซื้อไฟเอกชน ลั่นทำแล้วรุกใช้พลังงานสะอาดแทน แก้ปัญหาระยะยาว

26 เม.ย.2566 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha โดยระบุใจความดังนี้ว่า พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักครับ

การประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (25 เม.ย.66) ได้ติดตามสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าของประชาชนในช่วงฤดูร้อนปีนี้ เพื่อหารือแนวทางการลดผลกระทบให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ สรุปเป็นมาตรการระยะเร่งด่วนและระยะยั่งยืน ได้ดังนี้

 

 

1. ประเด็น “ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น” มีสาเหตุหลักๆ มาจาก

(1) ในช่วงที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศ สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะในช่วงกลางวัน ทำให้การใช้ไฟฟ้าเพื่อคลายร้อนสูงขึ้น ติดต่อกันหลายวัน

(2) ประเทศไทยนำเข้าเชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติจากต่างประเทศ มาผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ค่าไฟฟ้าในประเทศ ขึ้น-ลงตามราคาพลังงานโลก และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (ที่มีความผันผวน) ด้วย

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

ทั้งนี้ รัฐบาลได้เตรียมแนวทางลดผลกระทบ-ค่าครองชีพให้กับภาคครัวเรือน ครอบคลุมบ้านที่อยู่อาศัย-ผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย กว่า 80% ดังนี้
(1) มาตรการต่อเนื่อง จากช่วง ม.ค.-เม.ย.66 ได้แก่ การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟ “ไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน” กว่า 18 ล้านครัวเรือน เป็นเวลา 4 เดือน (พ.ค.-ส.ค.66) ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จากวิกฤตพลังงาน ที่เป็นผลมาจากสงครามในทวีปยุโรป

(2) มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า “เพิ่มเติม” 150 บาทต่อราย สำหรับครัวเรือนที่ใช้ไฟ “ไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน” กว่า 21 ล้านครัวเรือน ในรอบบิล พ.ค.66 หรือค่าไฟฟ้าในเดือน เม.ย.นี้ ที่เป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุด และมีการใช้ปริมาณไฟฟ้าแต่ละครัวเรือนสูงขึ้น ก่อนที่จะเข้าสู่ฤดูฝนช่วง พ.ค.

ซึ่งทั้ง 2 มาตรการจะใช้งบประมาณราว 11,000 ล้านบาท จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยรัฐบาลเห็นว่าความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเป็นวงกว้างในปัจจุบัน เป็นเหตุผลความจำเป็นที่มีน้ำหนักเพียงพอ ที่รัฐบาลจะนำเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามกฎหมาย และมีผลในทางปฏิบัติต่อไป

 

2. ประเด็น “พลังงานไฟฟ้าสำรอง” และ “ค่าพร้อมจ่าย” มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันอยู่ในสังคม ได้แก่
(1) การสำรองไฟฟ้าในปัจจุบัน เป็นผลมาจากสมมติฐาน-ประมาณการ การขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในช่วงปี 55 นำมาสู่การทำแผนด้านพลังงาน และสัญญาข้อผูกพันกับเอกชนผู้ผลิตไฟฟ้า ที่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการดำเนินการ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย และต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แม้ช่วงโควิดจะส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศลดลงกว่าแผน แต่เมื่อฟื้นตัวจากสถานการณ์และวิกฤตต่างๆ แล้ว ส่งผลดีต่อกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศ ให้กลับเข้าสู่แผนและเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้

(2) ล่าสุดรัฐบาลนี้ ได้มีการปรับแผนด้านพลังงาน ที่มุ่งส่งเสริมพลังงานสะอาด-สีเขียว ที่มีราคาไม่แพง และมีกำลังการผลิตสำรองที่เข้าสู่กรอบมาตรฐาน (15-20%) ให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของโลก และนโยบายของรัฐบาล เช่น โมเดลเศรษฐกิจ BCG, การส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต-ใช้-ส่งออกยานยนต์ EV, การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ ตลอดจนการเก็บคาร์บอนเครดิตของธุรกิจ/โรงงานอุตสาหกรรมของไทย สำหรับลดภาษีก๊าซเรือนกระจก หรือ “ภาษีคาร์บอน” (Carbon Tax) ในการส่งออกสินค้าไปขายในต่างประเทศ รวมทั้งลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่ง

 

(3) การอนุมัติไฟฟ้าของรัฐบาลปัจจุบันกว่า 90% เป็นพลังงานสะอาดทั้งสิ้น มาทดแทนโรงไฟฟ้าจากฟอสซิล ที่จะทยอยปลดระวาง-หมดอายุสัญญาลง และสนองความต้องการพลังงานสะอาดของกลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีเงื่อนไขการผลิตสินค้า เพื่อเป็นไปตามมาตรฐานความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยจะทยอยมีผลและพร้อมส่งไฟเข้าระบบ ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งนอกจากไม่มี “ค่าพร้อมจ่าย” แล้ว ยังจะมีราคาไฟฟ้าที่ถูกกว่าการรับซื้อจากโรงไฟฟ้าที่ผ่านมาอีกด้วย โดยในอนาคตหากมีกำไรจากการขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดนี้ ในอัตราพิเศษให้กับอุตสาหกรรมและธุรกิจสีเขียว ก็จะนำกลับมาลดค่าไฟฟ้าให้กับภาคครัวเรือนได้มากขึ้น

 

 

ทั้งหมดนี้เป็นวิสัยทัศน์-นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทย จากการใช้ “พลังงานฟอสซิล” สู่ “พลังงานสีเขียว-สะอาด” โดยจะมีการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ใช้เอง ในภาคครัวเรือน และขายต่อเข้าสู่ระบบได้ด้วย รวมทั้งสร้างความพร้อมให้แก่อุตสาหกรรมไทย ตอบโจทย์กระแสโลก และ ดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ เข้ามาในประเทศที่ต้องการพลังงานสีเขียว-สะอาด ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้ผลิตแบตเตอรี่ ดิจิทัลเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ รายใหญ่ของโลก เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทย รองรับนโยบาย EV และอุตสาหกรรมดิจิทัล ก็จะเป็นโอกาสให้เกิดการวิจัยพัฒนาร่วมกันและการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนเป็นการผลักดันโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยให้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ย่ำอยู่กับที่ พร้อมสร้างงาน สร้างอาชีพ ที่มีทักษะและคุณภาพสูง ให้แก่คนรุ่นใหม่ของประเทศไทยมากขึ้นด้วย

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สพท." แตะมือ "สสส." ร่วมหนุนเสริมโครงการ Gig Worker กระทรวงแรงงาน หวังบรรเทาปัญหาปากท้อง "แรงงานอิสระ" สู้วิกฤตเศรษฐกิจเปราะบาง
สุดตื่นตา โขลงช้างป่าละอู กว่า 30 ตัว เล่นน้ำคลายร้อน นทท.แห่ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
วิกฤตภัยแล้งน้ำแห้งคลองชาวสวนทุเรียนขาดน้ำ ผลผลิตร่วงเสียหายต้นทุเรียนตาย ต้องซื้อน้ำรดพอประทังผลผลิตที่เหลือ วอนภาครัฐเข้าช่วยเหลือและเยียวยา
รวบแล้ว ไอซ์ ห้วยยายพรม ก่อเหตุยิงปืนขึ้นฟ้า ลักรถชาวบ้าน ขณะนั่งไลฟ์สดเย้ยตำรวจ
กลุ่มติดอาวุธ จับทหารเมียนมาหลายร้อยนาย หลังโจมตี-ยึดพื้นที่ตะวันตกของรัฐยะไข่ได้สำเร็จ
สะเทือนใจเด็กชายวัย 12 ปี ถูกแม่เมาสุราใช้มีดขว้างใส่ถูกคมมีดบาดขาเป็นแผลได้รับบาดเจ็บ เพื่อนบ้านเกรงเด็กได้รับอันตรายจึงขอความช่วยเหลือมูลนิธิเป็นหนึ่ง
เมียนมา กลุ่มติดอาวุธจับทหารเมียนมาหลายร้อยนายที่รัฐยะไข่
"ภูมิธรรม" ลั่น "ชลน่าน" ยังอยู่ในใจเสมอ ย้ำ 3 รัฐมนตรีหลุดครม. ไม่ได้ลาออกจากเพื่อไทย
บลูมเบิร์กชี้จีนจะมีบทบาทมากที่สุดต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปี
ทัพ ‘นักท่องเที่ยวจีน’ เยือนไทยปีนี้ ทะลุ 2 ล้านคนแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น