No data was found

เช็คลิสต์ ยา 6 ชนิด “ยากินแล้วง่วง” ต้องระวัง ระหว่างขับรถ

ยากินแล้วง่วง, สงกรานต์ 2566, อุบัติเหตุ, ขับรถ, ง่วงซึม, อ่อนเพลีย, ยาแก้แพ้, ยาแก้เมารถ

กดติดตาม TOP NEWS

ใกล้วันหยุดยาว ใครมีแพลนขับรถเที่ยวเช็คให้ดี 6 "ยากินแล้วง่วง" ต้องระวัง ระหว่างขับรถ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ เช็ค

สงกรานต์ 2566 หยุดยาวมาเยือนทั้งที ขับรถเที่ยวกับครอบครัวหรือชาวแก๊งคงจะฟินไม่น้อย และเพื่อให้เที่ยวสนุกขับขี่ปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ TOP News รวม 6 “ยากินแล้วง่วง” ที่ต้องระวัง ระหว่างขับรถ มาฝาก เช็คให้ดีก่อนสาย

ข่าวที่น่าสนใจ

“ยากินแล้วง่วง” คืออะไร

  • ยาที่ทำให้ง่วงซึม
  • บางกลุ่มส่งผลให้อ่อนเพลีย วูบ หรือรบกวนการมองเห็นได้
  • จนบางครั้งกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงเสี่ยงต่อการขับขี่ยานพาหนะด้วย

6 ชนิดยา กินแล้วง่วง ต้องระวัง ระหว่างขับรถ

1. ยาแอนติฮิสตามีน (Antihistamine)

  • รู้จักกันในชื่อ ยาแก้แพ้หรือยาแก้โรคภูมิแพ้
  • รวมถึงกลุ่มยาแก้เมารถ เช่น คลอเฟนิรามีน พบทั้งชนิดที่เป็นยาเดี่ยวและชนิดผสม
  • ส่งผลให้เกิดการกดประสาท ทำให้ง่วงนอน มึนงง มองไม่ชัด
  • นอกจากไม่ควรใช้ยาก่อนที่จะขับขี่ยานพาหนะแล้ว ยังไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มสุรา หรือยาที่มีฤทธิ์กดประสาทด้วย

2. ยาคลายเครียด/ยานอนหลับ/ยารักษาโรคจิตเวช และยารักษาโรคทางระบบประสาทบางชนิด

  • เช่น ไดอะซีแพม อัลพาโซแลม
  • ยากลุ่มนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีผลต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น
    • เกิดอาการซึมมาก
    • หลับนานผิดปกติ
    • กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
    • ส่งผลให้การตัดสินใจล่าช้า มีผลต่อการทำงานของร่างกายในการรับรู้ของอวัยะต่าง ๆ และสั่งการทำงานของแขนขา
  • ซึ่งหากรับประทานยาในกลุ่มนี้แล้วมาขับขี่ยานพาหนะอาจจะมีอาการง่วงซึมค้างจากยา หรือประสิทธิภาพในการตัดสินใจในการขับขี่ลดลง อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้

 

ยากินแล้วง่วง, สงกรานต์ 2566, อุบัติเหตุ, ขับรถ, ง่วงซึม, อ่อนเพลีย, ยาแก้แพ้, ยาแก้เมารถ

 

3. ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมอนุพันธ์ของฝิ่น

  • เช่น ทรามาดอล
  • มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้พบผลข้างเคียงตั้งแต่อาการใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ มึนงง ง่วงซึม จนถึงรุนแรง เช่น
    • กดศูนย์การหายใจของร่างกาย
    • กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก
    • ประสาทหลอน
  • จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองขณะที่ใช้ยานี้

4. ยาแก้ไอหลายชนิดที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น

  • เช่น ยาแก้ไอน้ำดำที่มีส่วนผสมของโคเดอีน 
  • จะส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงซึม ลดประสิทธิภาพในการขับขี่
  • การใช้ยาในขนาดสูงทำให้การหายใจหยุด ช็อก และหัวใจหยุดเต้น

5. ยาคลายกล้ามเนื้อ/แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

  • มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง
  • ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดตึง ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
  • จนบางครั้งอาจทำให้แขนขาอ่อนแรง และใช้งานในการควบคุมได้ไม่ดีพอ

6. ยาประเภทอื่น ๆ

  • เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง/ยารักษาโรคหัวใจ และยาหยอดตา ที่มีผลรบกวนการขับขี่ยานพาหนะ

 

ยากินแล้วง่วง, สงกรานต์ 2566, อุบัติเหตุ, ขับรถ, ง่วงซึม, อ่อนเพลีย, ยาแก้แพ้, ยาแก้เมารถ

 

ข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการง่วงนอนจาก “ยากินแล้วง่วง” ขณะขับรถ

1. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในช่วงก่อนและขณะขับรถ

  • โดยสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา เช่น ยานี้ทำให้ง่วงซึม จึงไม่ควรขับขี่ยานยนต์หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง
  • หรือ ควรทดสอบก่อนว่า รับประทานยานี้แล้วไม่ง่วง เป็นต้น

2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนร่วมกับแอลกอฮอล์

  • โดยสังเกตคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ยา เช่น ไม่ควรรับประทานร่วมกับสุราหรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
  • หรือ ยานี้มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่…% ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

 

ยากินแล้วง่วง, สงกรานต์ 2566, อุบัติเหตุ, ขับรถ, ง่วงซึม, อ่อนเพลีย, ยาแก้แพ้, ยาแก้เมารถ

 

3. ยาบางชนิดรบกวนการมองเห็น

  • เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม
  • แม้จะทำให้ตาพร่ามัวเพียงชั่วคราวแต่ไม่ควรใช้ระหว่างขับรถ

4. การใช้ยาที่ทำให้วูบ ใจสั่น หน้ามืด อ่อนเพลีย

  • ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน ยาลดความดันโลหิต
  • ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรถึงผลข้างเคียงให้ชัดเจน
  • ไม่ควรหยุดยาหรือปรับการใช้ยาเองเพื่อขับรถ แต่ควรหลีกเลี่ยงการขับรถด้วยตัวเอง

ยาที่ส่งผลต่อการขับขี่ยานพาหนะ พบได้ทั้งชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งได้จากโรงพยาบาล และเป็นยาสามัญประจำบ้านที่หาซื้อได้เองตามร้านขายยาและร้านค้าทั่วไป ดังนั้น **ก่อนใช้ควรอ่านคำแนะนำบนฉลาก และปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด** เพื่อความปลอดภัยควรเลือกซื้อาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง มีเภสัชกรประจำร้านที่ได้มาตรฐาน สามารถให้คำแนะนำการใช้ยาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมจะดีที่สุด

ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัษฏางค์" โต้ชุดใหญ่ "พิธา" จ้อสื่อเยอรมนี ด้อยค่าปท.ชูวีรกรรมเด็ก 3 นิ้ว
ถึงศาลรธน.แล้ว "40 สว." ยื่นสอบคุณสมบัติ "พิชิต" พ่วงวินิจฉัยความสิ้นสุดลงตำแหน่งนายกฯ
สืบนครบาล รวบ "แก้ว สวนหลวง" อดีตนางพยาบาล หลอกเหยื่อลงทุนซื้อ "โควต้าลอตเตอรี่" เสียหายกว่า 3 ล้านบาท
"หมอเหรียญฯ" ไม่หวั่นถูกโจ๋ 14 ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท ปมเรียก "กุ๊ย" ขอต่อสู้ตามกระบวนการกม.
"พิชิต"นำผอ.สำนักพุทธฯ แถลงยันเชื่อมจิต ไม่มีจริงในพระไตรปิฏก ไร้อำนาจหยุดยั้งทีม "น้องไนซ์"
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม อ.ก.ตร.กฎหมายครั้งที่ 5/2567
อดีตรองอธิการบดีมธ. เปิดความจริงปม "บุ้ง" เสียชีวิต ซัดกลุ่มบิดเบือน เลิกโหนตายเพราะเห็นต่าง
โปรดเกล้าฯ คืนสมณศักดิ์ "พระพรหมสิทธิ-พระศรีคุณาภรณ์" พ้นมลทินข้อกล่าวหาทุจริต
เกาหลีใต้ ศาลสูงตัดสินเห็นชอบแผนเพิ่มนศ.แพทย์
สโลวาเกีย เหตุลอบสังหารนายกฯ สะท้อนวิกฤตความรุนแรงการเมืองยุโรป

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น