ส.อ.ท. เคลื่อนใหญ่ร้องรัฐเร่งแก้ไฟแพงชง “บิ๊กตู่” ปรับพลังงานทั้งระบบ

ส.อ.ท. เคลื่อนใหญ่ร้องรัฐเร่งแก้ไฟแพงชง "บิ๊กตู่" ปรับพลังงานทั้งระบบ

ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่คนไทยฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ ต้องจริงจังกับการดูแลค่าไฟฟ้าว่าจะเดินหน้าไปสู่จุดใด โดยเฉพาะประเด็นเรื่องปริมาณไฟฟ้าสำรองเกินความจำเป็น จนกลายเป็นภาระต้นทุนย้อนกลับมาทำให้ราคาขายปลีกผ่านกฟผ.มีอัตราสูงกว่าควรจะเป็น

โดยเฉพาะกับผลสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. ว่าด้วยความเห็น “สิ่งที่อยากให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการใน 90 วันแรก”  คืออะไร ควรเร่งแก้ไขปัญหาราคาพลังงานและค่าไฟฟ้าแพง อย่างไร

ปรากฎว่าอันดับที่ 1 เห็นควรปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงานท้ังระบบ เช่น ค่าไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งปรับสัดส่วนเชื้อเพลิงที่นำมาผลิตไฟฟ้าให้สมดุล 77.8%

อันดับที่ 2 เห็นควร ปรับลดอัตราค่า FT ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม 2566 เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ 70.0%

อันดับที่ 3 เห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน (กรอ.พลังงาน) 50.6%

อันดับที่ 4 เห็นควรเปิดให้เอกชนขายไฟฟ้า ส่วนที่เกินจากการใช้งานผ่านระบบส่ง/จำหน่ายของการไฟฟ้าฯและมีระบบหักลบหน่วยใช้ไฟฟ้าที่ขายคืนการไฟฟ้าฯเข้าระบบ 49.6%

 

ขณะที่ล่าสุด Top Biz Insight (31 มี.ค.) พูดคุยเพิ่มเติมกับผู้เกี่ยวข้อง เป็นทางด้าน นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุกับ TOPNEWS ว่า ส.อ.ท.เตรียมยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กพช) ผ่านสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทบทวนค่าไฟฟ้าในงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.66 ในราคาจะไม่เกิน 4.40 บาท/หน่วย ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ จากเดิม 4.77 บาท เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจ

“ตามประกาศของกกพ.เมื่อวันที่ 22 มี.ค.66 มีมติเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยและผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟของภาคอุตสาหกรรม จะมีการปรับลดลงจาก 5.33 บาทต่อหน่วย ลงมาเหลือ 4.77 บาทต่อหน่วย คิดเป็นการลดลง 11% ขณะที่ค่าไฟภาคครัวเรือน จ่ายแพงขึ้นประมาณ 1% ตรงนี้ไม่เห็นด้วยว่าทำไมภาคครัวเรือนต้องจ่ายแพงขึ้น”

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะที่เมื่อกลับมาดูสมมติฐานในการจัดทำราคาของเรกกูเลเตอร์ พบว่าการใช้สมมติฐานที่ Conservative อาจไม่เหมาะสม เพราะมีการใช้ราคาต้นทุนของพลังงานที่มาทำโรงไฟฟ้าสูงเกินไป

“สภาอุตฯ เห็นว่า ภาคนโยบายโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ยังมีเวลาทบทวนสมมติฐานในการจัดทำค่าไฟฟ้าให้ลดลงได้ โดยมองว่า มีการใช้สมมติฐานที่ Conservative สูงเกินไป” พร้อมมีข้อเสนอกลับไปถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

– การนำราคาต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ หรือราคา LNG มาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า ตอนนี้ ใช้ราคาเฉลี่ยของเดือนม.ค.66 ซึ่งอยู่ที่ 20 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู แต่ราคาปัจจุบัน ลดลงมาอยู่ที่ 13 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เมื่อมองไปข้างหน้าแล้ว สถานการณ์ทุกอย่างไม่มีเหตุผลที่ราคาพลังงานจะสูงขึ้นอีก เพราะฉะนั้น การใช้สมมติฐานแบบ Conservative Assumtion ทำให้ราคาที่ออกมาเป็นราคาที่แพงเกินไป

– การจ่ายคืนหนี้ (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้าง) ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จากเดิมตามงวดแรก (ม.ค.-เม.ย.66) ที่มีแผนคืนหนี้ให้ในระยะเวลา 3 ปี ปีละ 3 งวด รวม 9 งวด แต่ในงวดที่ 2 (พ.ค.-ส.ค.66) นั้น เปลี่ยนมาเหลือ 2 ปี คือ 6 งวด ซึ่งส่วนนี้มองว่าการคืนหนี้เป็นสิ่งสำคัญ แต่จากราคาพลังงานที่ต่ำลง ส่งผลให้หนี้ของ EGAT ลดลงตามราคาพลังงาน เพราะการนำเงินไปซื้อพลังงานมาผลิตไฟฟ้าในราคาที่ต่ำลงได้ จึงไม่จำเป็นต้องเร่งคืนภายใน 2 ปี จึงขอให้พิจารณาทบทวนระยะเวลาการคืนหนี้ให้ กฟผ.เป็นระยะ 3 ปี ตามงวดแรก

“เราทำตัวเลขคร่าวๆ 4.40 บาทต่อหน่วย จะเป็นราคาที่เป็นไปได้ แค่ภาครัฐทบทวนสมมติฐาน ซึ่งอยู่ในวิสัยที่ทำได้ เพื่อประชาชนไม่ต้องจ่ายแพงขึ้น และไม่ทำให้วินัยการคลังของ EGAT เสียไป เพราะงวดที่แล้วก็ใช้ตัวเลข 3 ปีเป็นฐานการคำนวณ”

 

ทั้งนี้ นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในฐานะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุด้วยว่า กพช. ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ควรมีการกำหนดนโยบายเพื่อให้ กกพ.ดำเนินการทบทวนราคาค่าไฟฟ้างวด 2 (พ.ค.-ส.ค.66) ที่จะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2566 โดยมีเวลาในการดำเนินการทบทวนอีกประมาณ 1 เดือน ซึ่งไม่ถือเป็นการหาเสียง หรือ แทรกแซงเชิงนโยบาย ที่รัฐบาลรักษาการจะทำไม่ได้ เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั้งประเทศ

รวมทั้งภาคธุรกิจของไทยต้องแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำกว่าไทย ดังนั้นการทำให้ต้นทุนลดลงในส่วนของค่าไฟฟ้า ยังจะช่วยปัจปัจจัยช่วยลดผลกระทบเงินเฟ้อ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันต่างๆ ให้ดีขึ้น ในแง่ของภาคเอกชนจึงเสนอต่อภาครัฐ ควรสั่งให้เรกกูเลเตอร์ทบทวน เพราะเมื่อปลายปี 65 กกพ. ได้ประกาศลดค่าไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม ก่อนเริ่มงวดเดือนม.ค.-เม.ย.66 เพียงไม่กี่วัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หลุดทุกข้อหา "อธิบดีอัยการ ภาค 6 " สั่งไม่ฟ้อง "ดร.พอล" ยื่นศาลขอปล่อยตัว ส่งถามผบช.ภ.6 เห็นแย้งหรือไม่
อบจ.ฉะเชิงเทรา เปิดโครงการฝึกสอนกีฬาให้กับนักเรียนและเยาวชน รุ่นที่ 3 ฟุตซอล เทควันโด กรีฑา
“ศุภมาส” นำอว. ร่วมสตม. คุมเข้มมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาต่างชาติ เตรียมมาตรการสแกนหลักสูตร Non-Degree สุ่มตรวจไม่ปล่อยเกิดปัญหา
หนุ่มตกงานขับรถพุ่งชนนักเรียนประถมที่ญี่ปุ่น
ไรอันแอร์จะซื้อเครื่องบินจีนถ้าภาษีทรัมป์ดันโบอิ้งแพงขึ้น
"ดร.หนุ่ม" วัย 38 ปี ร้องถูกแก๊งคอลฯ บังคับคุยโทรศัพท์ 7 วัน 7 คืน สูญเงิน 8.5 ล้าน
"รัฐบาล" ย้ำอย่าตื่นตระหนก 2 พ.ค 68 ทดสอบส่งข้อความแจ้งเตือนภัย 5 พื้นที่
“ทนายทักษิณ” มั่นใจชี้แจงได้ หลังศาลตั้งองค์ไต่สวนปมชั้น 14 ยํ้ายึดหลักข้อเท็จจริง
“ภูมิธรรม” เผยผลหารือ GBC ไทย-กัมพูชา เลี่ยงปะทะปมปราสาทตาเมือนธม ให้กำลัง 2 ฝ่ายถอยกลับจุดเดิม หาข้อตกลงร่วมกัน
ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น