No data was found

รู้จัก “Impostor Syndrome” อาการขาดความมั่นใจ ด้อยค่าตัวเอง

Impostor Syndrom, Imposter Syndrome, โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง อาการ, Imposter Syndrome คืออะไร, imposter syndrome วิธีรักษา, วิธีรักษาโรคกลัวตัวเองไม่เก่ง, ความเครียด, จิตใจ, ไม่มั่นใจ, วิตกกังวล, ความผิดหวัง, ล้มเหลว

กดติดตาม TOP NEWS

ทำความรู้จัก "Impostor Syndrome" กับอาการยอดฮิต ขาดความมั่นใจ ด้อยค่าตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่เก่ง จริง ๆ แล้วเราเป็นคนไม่เก่ง หรือคิดไปเองกันแน่?

ทำความรู้จัก “Impostor Syndrome” Imposter Syndrome หรือ โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง อาการ Im postor Syndrome คืออะไร วิธีรักษาโรคกลัวตัวเองไม่เก่ง กับความกดดันไร้สิ้นสุดในปัจจุบัน ขาดความมั่นใจ จนด้อยค่าตัวเอง ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อสังคมปัจจุบันคาดหวังให้ทุกคนเป็นคนเก่ง แน่นอนว่าผู้คนต่างก็พยายามเพื่อให้ได้เขเาศึกษาโรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ดี ซึ่งรวมไปถึงการแข่งขันในหน้าที่การงาน เพื่อให้ได้เงินเดือนที่มากกว่าเดิม

สร้างภาระและความกดดันใหญ่หลวงให้กับจิตใจและร่างกาย และเมื่อสิ่งที่คาดหวังไม่เป็นดังฝัน ต่างก็ผิดหวังและเริ่มฝังใจจนขาดความมั่นใจและคิดว่าตัวเองไม่เก่ง วันนี้ TOP News จะพาทุกคนมาหวนเช็คสภาพจิตใจ ลองทวนดูสิ จริง ๆ แล้วเราเป็นคนไม่เก่ง หรือคิดไปเองกันแน่?

รู้จัก “Impostor Syndrome” (โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง)

  • เป็นภาวะที่บุคคลหนึ่งไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเองและมักตั้งคำถามกับความสำเร็จที่ตัวเองได้รับ
  • จึงตั้งมาตรฐานของตัวเองไว้สูงมากและพยายามทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดความกดดันในการทำงานและการใช้ชีวิต และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

Impostor Syn drome ไม่ได้จัดเป็นโรคและความเจ็บป่วยทางจิตใจ แต่เป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ความเครียด และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตหลายด้าน ทั้ง

  • การทำงาน
  • การทำสิ่งที่ตัวเองรัก
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

 

Impostor Syndrom, Imposter Syndrome, โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง อาการ, Imposter Syndrome คืออะไร, imposter syndrome วิธีรักษา, วิธีรักษาโรคกลัวตัวเองไม่เก่ง, ความเครียด, จิตใจ, ไม่มั่นใจ, วิตกกังวล, ความผิดหวัง, ล้มเหลว

 

Imposter Syn drome เกิดจากอะไร

1. บุคลิกส่วนตัว

  • อาจพบในผู้มีปัญหาในการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy)
  • คนที่ขาดความมั่นคงทางอารมณ์
  • คนที่ขาดความทะเยอะทะยานและไม่สามารถทำตามแบบแผนที่ถูกกำหนดได้
  • หรือบางครั้งอาจพบในคนที่มีนิสัยรักความสมบูรณ์แบบ ซึ่งหากสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่ต้องการจะรู้สึกไม่พอใจและโทษตัวเอง

2. การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก

  • เช่น ความกดดันในการเรียน
  • การถูกเปรียบเทียบกับลูกพี่ลูกน้อง
  • ครอบครัวที่ควบคุมการใช้ชีวิต
  • และครอบครัวที่ปกป้องดูแลลูกมากเกินไป

3. ปัญหาสุขภาพจิต

  • อย่างโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจทำให้สภาพจิตใจของบุคคลนั้นเปลี่ยนแปลงไป เช่น เกิดความสงสัยในตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเองลดลง และกังวลว่าคนอื่นจะมองตัวเองไม่ดี

 

Impostor Syndrom, Imposter Syndrome, โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง อาการ, Imposter Syndrome คืออะไร, imposter syndrome วิธีรักษา, วิธีรักษาโรคกลัวตัวเองไม่เก่ง, ความเครียด, จิตใจ, ไม่มั่นใจ, วิตกกังวล, ความผิดหวัง, ล้มเหลว

ผู้ที่มีอาการเข้าข่าย Impostor Syn drome มักมีความคิดและความเชื่อ ดังนี้

1. คิดว่าตัวเองไม่ควรได้รับความสำเร็จ แม้จะได้รับคำชื่นชมจากคนอื่น ๆ

  • คนกลุ่มนี้มักคิดว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลจากความโชคดี
  • และยกความดีความชอบให้กับคนที่ช่วยเหลือมากกว่าที่จะเห็นคุณค่าในตัวเอง

2. คิดว่าความสำเร็จไม่ใช่เรื่องสำคัญที่น่ายินดี

  • เพราะ เป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้

3. รู้สึกไม่มั่นใจในความสามารถของตัวเองบ่อยครั้ง

  • โดยเฉพาะเมื่อเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ

4. กลัวคนอื่นจะรู้ว่าตัวเองไม่เก่งจริง

  • พยายามปิดบังความรู้สึกและชดเชยด้วยการทำงานหนักขึ้น

5. หากเกิดความผิดพลาดเล็กน้อย

  • ก็จะคิดว่าตัวเองขาดความรู้ความสามารถทันที

ผู้ที่มีภาวะ Imposter Syn drome มักมีความมั่นใจในตัวเองและการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง และนำไปสู่อาการเจ็บป่วยทางกายและทางจิตใจจากความเครียดและความวิตกกังวลในอนาคตได้

 

Impostor Syndrom, Imposter Syndrome, โรคคิดว่าตัวเองไม่เก่ง อาการ, Imposter Syndrome คืออะไร, imposter syndrome วิธีรักษา, วิธีรักษาโรคกลัวตัวเองไม่เก่ง, ความเครียด, จิตใจ, ไม่มั่นใจ, วิตกกังวล, ความผิดหวัง, ล้มเหลว

 

วิธีรักษาภาวะ “Impostor Syndrome” อาจเริ่มจากการปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดด้วยวิธีดังนี้

  • เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะ ไม่มีใครที่จะประสบความสำเร็จในทุกเรื่อง ข้อผิดพลาดและความล้มเหลวเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  • ประเมินตัวเองข้อดีข้อด้อยของตัวเอง เพื่อปรับปรุงและพัฒนาความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น
  • ชื่นชมความสำเร็จของตัวเองบ่อย ๆ เช่น นึกถึงผลงานที่ตัวเองทำได้ดี และคำชมเชยที่ได้รับจากหัวหน้างาน
  • พ่อแม่ควรชื่นชมของลูกโดยให้ความสำคัญกับความพยายามมากกว่าการชมว่าเก่งเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองทำมีคุณค่า และสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับความผิดหวังได้ด้วยตัวเอง
  • ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ๆ เพราะ ทุกคนมีความสามารถและความถนัดที่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบจะยิ่งทำให้ความมั่นใจในตัวเองลดลง
  • ปรึกษาคนใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัว เพื่อนสนิท และเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะช่วยให้รู้สึกสบายใจขึ้น และอาจได้คำแนะนำในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้

การยอมรับความล้มเหลวในชีวิตไม่ใช่เรื่องผิด ไม่ใช่การยอมแพ้ ไม่ใช่เราไม่เก่ง เพราะ ทุกคนผิดพลาดกันได้ ให้คิดว่าเป็นอีก 1 บทเรียนผลักดันให้เราสู้ต่อไป ทั้งนี้หากรับมือกับภาวะที่เกิดขึ้นไม่ได้ด้วยตัวเอง การปรึกษาแพทย์อาจเป็นวิธีที่ช่วยปรับความคิดและทัศนคติต่อตัวเองให้ดีขึ้น

 

ข้อมูล : Pobpad

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปูตินสั่งกองทัพ ฝึกซ้อมอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี
ชาวบ้านย่านอ่อนนุชผวา เสาสะพานชำรุดแตกหัก วอนหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขด่วน
"สพท." แตะมือ "สสส." ร่วมหนุนเสริมโครงการ Gig Worker กระทรวงแรงงาน หวังบรรเทาปัญหาปากท้อง "แรงงานอิสระ" สู้วิกฤตเศรษฐกิจเปราะบาง
สุดตื่นตา โขลงช้างป่าละอู กว่า 30 ตัว เล่นน้ำคลายร้อน นทท.แห่ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
วิกฤตภัยแล้งน้ำแห้งคลองชาวสวนทุเรียนขาดน้ำ ผลผลิตร่วงเสียหายต้นทุเรียนตาย ต้องซื้อน้ำรดพอประทังผลผลิตที่เหลือ วอนภาครัฐเข้าช่วยเหลือและเยียวยา
รวบแล้ว ไอซ์ ห้วยยายพรม ก่อเหตุยิงปืนขึ้นฟ้า ลักรถชาวบ้าน ขณะนั่งไลฟ์สดเย้ยตำรวจ
กลุ่มติดอาวุธ จับทหารเมียนมาหลายร้อยนาย หลังโจมตี-ยึดพื้นที่ตะวันตกของรัฐยะไข่ได้สำเร็จ
สะเทือนใจเด็กชายวัย 12 ปี ถูกแม่เมาสุราใช้มีดขว้างใส่ถูกคมมีดบาดขาเป็นแผลได้รับบาดเจ็บ เพื่อนบ้านเกรงเด็กได้รับอันตรายจึงขอความช่วยเหลือมูลนิธิเป็นหนึ่ง
เมียนมา กลุ่มติดอาวุธจับทหารเมียนมาหลายร้อยนายที่รัฐยะไข่
"ภูมิธรรม" ลั่น "ชลน่าน" ยังอยู่ในใจเสมอ ย้ำ 3 รัฐมนตรีหลุดครม. ไม่ได้ลาออกจากเพื่อไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น