logo

สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 66 เหลือ 3.2% หวังท่องเที่ยวฟื้นตัว เคลื่อนศก.ประเทศ

สภาพัฒน์หั่นจีดีพีปี 66 เหลือ 3.2% หวังท่องเที่ยวฟื้นตัว เคลื่อนศก.ประเทศ

 

17 ก.พ.66 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. แถลง“รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่4 ของปี 2565 ทั้งปี 2565 และแนวโน้มปี 2566” ระบุว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ขยายตัว 2.6% ปรับตัวดีขึ้นจาก 1.5% ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจปี 65 ขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์เดิมที่คาดว่าอยู่ที่ 3.2% จากผลกระทบการส่งออกที่ชะลอตัวอย่างหนัก โดยไตรมาสสุดท้าย ติดลบลงกว่า 10.5% จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแรงและเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ สอดคล้องกับหลายประเทศอาเซียนที่มีอัตราการส่งออกชะลอตัวลงเช่นกัน ส่วนตัวชี้วัดอื่น ๆ ยังปรับตัวดีและเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2564 รวมถึงการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

ขณะที่เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ขยายตัว 1.4% ชะลอตัวลงจากที่การขยายตัว 4.6% ในไตรมาสที่สามของปี 2565 และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวลดลง 1.5 %

นายดนุชา ระบุว่า เดิมมองเศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอตัวในปีนี้ แต่ปรากฎว่าข้อมูลในไตรมาส 4/65 พบว่าเศรษฐกิจโลกชะลอเร็วกว่าที่คาดไว้ ส่งออกก็หดตัวแรง จึงทำให้ประมาณการของเราคลาดเคลื่อนไปมาก จากผลความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

นายดนุชา ระบุอีกว่า สศช.ได้ปรับคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 3 – 4% หรือค่ากลาง 3.5% เหลือ 2.7 – 3.7% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 3.2% โดยคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 28 ล้านคน จากเดิมคาดว่าอยู่ที่ 23 ล้านคน มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.31 ล้านล้านบาท

ด้านเงินเฟ้อคาดว่าอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2.5-3.5% ส่วนค่าเงินบาทคาดว่าน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.3-33.3 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่การส่งออกคาดว่าจะติดลบ 1.6% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัวได้ 5.5% จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยที่จะเกิดขึ้น

สำหรับแนวโน้มของการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค ของภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.2% การใช้จ่ายรัฐบาลคาดว่าจะติดลบ 1.5% การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัว 2.2% แบ่งเป็นการลงทุนเอกชน 2.1% และการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัว 2.7%

สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญให้เศรษฐกิจเติบโตในปีนี้ มาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ การขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน และการขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความผันผวนของระบบการเงินและบรรยากาศทางการเมืองหลังเลือกตั้ง

 

ส่วนเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ต้องติดตามสถานการณ์ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิคนั้นยังไม่มาก ต้องเร่งมาตรการต่างๆ ต่อเนื่อง รวมทั้งบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวต่อไปได้

 

สำหรับการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ

1. การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งหนี้สินในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

2. การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาด การสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่การผลิตของภาคการเกษตร การปรับโครงสร้างการผลิตและการขยายผลการทำเกษตรยั่งยืนและเกษตรอินทรีย์

3. การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดยการอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก /การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อสูง /การติดตามประเมินสถานการณ์และเงื่อนไขการค้าโลก เป็นต้น

4. การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งการพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่นๆ ให้ผู้ประกอบการสามารถกลับมาประกอบธุรกิจได้ การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน เป็นต้น

5. การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน

6. การขับเคลื่อนการใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐควบคู่ไปกับการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังเพื่อรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนในระยะปานกลางและเพิ่มศักยภาพการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

7. การติดตาม เฝ้าระวัง และประเมินสถานการณ์ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

8. การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ

 

ส่วนความคืบหน้า แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นายดนุชา ระบุว่า ขณะนี้ได้มีการเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในส่วนของตัวชี้วัดที่เป็นแผนการพัฒนา 37 ตัวชี้วัดนั้น มีการบรรลุเป้าหมายช่วงแรกเพิ่มขึ้น 12 เป้าหมาย และในส่วนที่เหลือก็ยังมีการดำเนินการต่อไป ซึ่งเป็นระดับที่อยู่ในช่วงระดับสีส้มสีเหลือง ขณะที่เป้าหมายที่เป็นส่วนสีแดง 5 เป้าหมาย ก็มีการปรับแผนแม่บทและรอการประกาศใช้อยู่ในขณะนี้

ขณะเดียวกัน ในส่วนอัตราการเพิ่มของประชากรหลังจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรเพราะอัตราการตาย มากกว่าอัตราการเกิด และรวมถึงสังคมผู้สูงอายุของไทย นายดนุชา ยอมรับว่าในปีนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ มีอัตราการเกิดที่ต่ำทำให้อนาคตจำนวยประชากรจะลดลง ซึ่งในการเตรียมการ ได้มีการวางแผนการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้การผลิตทักษะแรงงานให้มีความสามารถมากขึ้นรวมถึงการเพิ่มแรงงานต่างชาติเข้ามา

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อุตุฯ เตือนทั่วไทยเตรียมรับมือ ฝนตกหนัก 50 จังหวัด กทม.ฝนกระหน่ำ 60%
กินเนสฯบันทึกแชมป์ใหม่ น้องหมายักษ์เกรตเดนสูงที่สุดในโลก
อินเดียทุบบ้าน 11 หลัง เหตุเจอเนื้อวัวในตู้เย็น
"นายกฯ" แจ้งป่วยโควิด ขอพักรักษาตัว รีบกลับมาทำงานเร็วที่สุด
"พลภูมิ ผู้ช่วยรัฐมนตรี"ร่วมเปิดงาน “Olympic Day - Road to Paris 2024”สร้างความตระหนักรู้การเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 พร้อมชวนคนไทยส่งแรงเชียร์ นักกีฬาไทยคว้าเหรียญทองโอลิมปิก
นาทีระทึกหนีตาย "บั้งไฟ" บึ้มกลางงานประจำปี ร้อยเอ็ด ชาวบ้านยืนดู บาดเจ็บเพียบ
บุกจับ “3 เอเย่นต์” ค้ายาเสพติดข้ามชาติ หนีซุกรีสอร์ทสงขลา ยึดยาไอซ์ของกลางเกือบ 100 ล้านบาท
"ทนายเจมส์" แจ้งข่าว "สไปรท์" แร็พเปอร์ดัง โดนต้นสังกัดเก่าฟ้องเรียก 14 ล้าน งานนี้ พ่อแม่โดนด้วย
ผวจ.ชลบุรี นำคณะตรวจเยี่ยมให้กำลังใจ จนท.และผู้สมัคร สว.ในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด
3 ผู้สมัคร สว. แจ้งความเอาผิดกกต. ลั่นถูกตัดสิทธิ์เลือกตั้งไม่เป็นธรรม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น