สรุปชัด ๆ สาระสำคัญ “กฎหมายลูกเลือกตั้ง 2 ฉบับ” หลังมีผลบังคับใช้

เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ขณะที่สาระสำคัญของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีทั้งการกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน รวมถึงการออกเสียงลงคะแนนให้ใช้บัตรเลือกตั้งส.ส.แบบละ 1 ใบ ซึ่งต้องมีลักษณะแตกต่างที่สามารถจำแนกออกจากกันได้อย่างชัดเจน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 โดยกำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเช่นกัน

ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยพรรคการเมืองนั้นก่อนหน้านี้ สภาได้ส่งมาถึงรัฐบาล โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม นำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับขึ้นทูลเกล้าฯแล้ว ตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค.2565 หลังจากนี้จะอยู่ในพระราชอำนาจ 90 วัน ตั้งแต่วันที่ทูลเกล้าฯไป

จากกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566

สำหรับสาระสำคัญของ ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ กำหนดให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดการแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 เขต เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยมีส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยมีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ

ส่วน วิธีการคำนวณส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จะนำเอาคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั้งหมดมาหารด้วยจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน เพื่อหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคตามสัดส่วนคะแนน

ส่วน ร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ) มีสาระสำคัญ คือ ค่าบำรุงพรรคการเมืองประเภทรายปีจากหนึ่งร้อยบาทเป็นยี่สิบบาทและประเภทตลอดชีวิตจากสองพันบาทเป็นสองร้อยบาท แก้ไขคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อการผ่อนคลายให้สิทธิเสรีภาพมากยิ่งขึ้น

พรรคการเมืองซึ่งประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งในจังหวัดใด ต้องมีสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดในจังหวัดนั้น
กรณีที่พรรคการเมืองใดมีสาขาพรรคการเมืองมากกว่าหนึ่งสาขาหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจาจังหวัดมากกว่าหนึ่งตัวแทนในจังหวัดใด ให้พรรคการเมืองนั้นกำหนดว่าจะให้สาขาพรรคการเมืองสาขาใดหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดใดในจังหวัดนั้น เป็นสาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด

การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้พรรคการเมืองจัดทำบัญชีรายชื่อเพื่อส่งให้สาขาพรรคการเมืองหรือตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด โดยต้องคำนึงถึงผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ และความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง และแก้ไขเรื่องการทำระบบไพรมารีโหวตในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภ.เมืองพัทยานำร่องภาค 2 อัพสกิลพัฒนาระบบวิเคราะห์อาชญากรรมแบบเรียลไทม์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
สธ.แจงสถานการณ์ "โควิด" ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก แนะกลุ่มเสี่ยงดูแลสุขภาพ ไม่ประมาท หลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
"พิชิต" ขยี้ซ้ำ 5 คนนี้ว่าอย่างไร "แพทยสภา" ชี้ "ทักษิณ" ไม่ป่วยวิกฤต ซัดนี่คือขบวนการโกหก
"อนุทิน" สั่งผู้ว่าฯ ชายแดนใต้ใช้ 4 แนวทางป้องกันเหตุไม่สงบ
ศาลอาญา ยกคำร้อง "ทักษิณ" ขอบินไปกาตาร์ ชี้เป็นหมายนัดส่วนตัว
"หมอตุลย์" เชื่อศาลฎีกาฯนำมติแพทยสภา "ทักษิณ"ป่วยไม่วิกฤต ประกอบไต่สวน รอดู "สมศักดิ์" วีโต้หรือไม่
"ภูมิธรรม" เชื่อ "ทักษิณ" ไปศาลฎีกาฯ ไต่สวนพ้นคุกก่อนคำพิพากษา มั่นใจผลตัดสินไม่กระทบเสถียรภาพรัฐบาล
"สรวงศ์" ย้ำมติแพทยสภา ปม "ชั้น 14" ไม่กระทบนายกฯ ขออย่าโยงเป็นเรื่องการเมือง
"ฉก.ลาดหญ้า กกล.สุรสีห์" ตรึงกำลังเข้มตลอดแนวชายแดน “บ้านพุน้ำร้อน”
"ผบช.ภ.9" เผยเหตุป่วนใต้เกิดขึ้นถี่ยิบ เค้นสอบ "17 ผู้ต้องสงสัย" ลอบก่อเหตุโหมไฟใต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น