logo

ฟันธงผลดีรวมธุรกิจใช้ชื่อ “บมจ.ทรูฯ” ยึดกสทช.คงแบรนด์ DTAC

ฟันธงผลดีรวมธุรกิจใช้ชื่อ "บมจ.ทรูฯ" ยึดกสทช.คงแบรนด์ DTAC

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 ม.ค.66 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน ) หรือ DTAC ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) รายงานความคืบหน้าที่สำคัญของการรวมธุรกิจระหว่าง 2 บริษัท โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย

1.มติกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นร่วมระหว่างผู้ถือหุ้นของ TRUE และ ผู้ถือหุ้นของ DTAC ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 แบบออนไลน์ เพื่อพิจารณาเรื่อง ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจ รวมถึงเตรียมเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วม พิจารณาและอนุมัติชื่อของบริษัทใหม่ คือ “บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อหลักทรัพย์ “TRUE” ทุนจดทะเบียน 1.38 แสนล้านบาท (พาร์ 4 บาท)

2.กําหนดวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 22 ก.พ. 66 เพื่อรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ (จะมีจัดสรรหุ้นในบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ TRUE และ DTAC ในอัตรา 1 หุ้นเดิมใน TRUE : 0.60018 หุ้นในบริษัทใหม่ และ 1 หุ้นเดิมใน DTAC : 6.13444 หุ้นในบริษัทใหม่) โดยผู้ที่มีสิทธิจะได้รับการจัดสรรหุ้นในบริษัทใหม่ต้องเป็นผู้มีรายชื่อในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของ TRUE และ/หรือ DTAC ณ วันที่ 22 ก.พ. 66 เท่านั้น

3. ขอหยุดพักการซื้อขายหุ้นเป็นเวลา 9 วันทําการ (20 ก.พ. 2566 ถึง 2 มี.ค. 2566) เพื่อเตรียมการเกี่ยวกับการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ ตลอดจนดําเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการนําบริษัทใหม่เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

ขณะที่ทาง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน ) หรือ DTAC ออกเอกสารเผยแพร่ เกี่ยวกับการควบรวมธุรกิจ หลังจากมีความพยายามสื่อสารข้อมูลคลาดเคลื่อน ให้เกิดความเข้าใจผิดทั้งในส่วนของพนักงานและลูกค้า โดยระบุว่า “แบรนด์ดีแทคพร้อมเดินหน้าควบรวม ชูบ้านหลังใหม่คงแบรนด์เดิมแต่ให้มากกว่าเดิม ลูกค้าจะได้รับความสุขจากการใช้งานเพิ่มขึ้น ทั้ง 5G สัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผลิตภัณฑ์และบริการหลากหลายมากกว่าเดิม เพิ่มช่องทางการใช้บริการ และสิทธิประโยชน์มากมาย ดีแทคลุยเดินหน้าเพื่อลูกค้าหลังบอร์ดทั้งสองบริษัทประกาศความพร้อมดำเนินการควบรวมให้แล้วเสร็จในไตรมาสแรกของปีนี้

เมื่อควบรวมสู่บริษัทใหม่เสร็จแล้ว แบรนด์ดีแทคยังคงให้บริการต่อไป ลูกค้าใช้งานได้ปกติเหมือนเดิมและได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นมากมาย โดยบ้านหลังใหม่จะให้บริการหลากหลาย ทั้ง บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่น่าสนใจมากกว่าเดิม พร้อมทั้งเน้นการตอบโจทย์การให้บริการที่ตรงกับความต้องการลูกค้าในราคาที่เข้าถึงได้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุด รศ.ดร.สุชาติ ไตรภพสกุล อาจารย์ประจำคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้ความเห็นถึงประเด็นการควบรวมธุรกิจของ 2 ค่ายยักษ์โทรศัพท์มือถือ แต่เลือกใช้ชื่อ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า สามารถนำชื่อเดิมของบริษัทใดบริษัทหนึ่งมาเป็นชื่อใหม่ได้ เพราะไม่กระทบทั้งหลักการตลาดและหลักการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อีกทั้งบริการยังคงใช้แบรนด์ ทรู และ ดีแทค ต่อไป ดังนั้นผู้บริโภคก็จะไม่สับสน ในขณะที่การเลือกใช้ชื่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน ยังถือว่า ประหยัดงบประมาณในการสื่อสาร เพราะชื่อบริษัททรูนั้น ครอบคลุมของเขตที่กว้างกว่า โดยสรุปภายหลังการควบรวม ใช้ชื่อทรู ก็ถือว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร โดยต้องทำความเข้าใจในแต่ละประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1 เรื่อง หลักการของ Amalgamation หรือ การควบรวมธุรกิจตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า Amalgamation เป็นการรวมบริษัทเดิมตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป เข้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนขึ้นใหม่ โดยจะมีบริษัทใหม่เกิดขึ้น ส่วนบริษัทเดิมทั้งคู่ก็จะเลิกกิจการไป โดยบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ อันเกิดจากการควบรวม จะใช้ชื่อบริษัทเดิมที่ควบเข้ากัน หรือจะตั้งชื่อใหม่ก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อใช้ชื่อบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อันเป็นชื่อเดิมของบริษัทหนึ่งในสองบริษัทที่ควบรวมกัน ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติและเป็นไปตามบทบัญญัติตามกฎหมายที่ให้สิทธิดำเนินการได้

ประเด็นที่ 2 คือ ถือหุ้นเท่ากัน แต่บริษัทใหม่ (New Co) ยังคงใช้ชื่อ ทรู สำหรับเรื่องนี้ต้องดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น จะเห็นได้ว่า เป็น Equal Partnership ในหลักการตลาด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างชื่อ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น ทรู คอร์ปอเรชั่น มีธุรกิจและการให้บริการเป็นที่รู้จักหลากหลายมากกว่า ทั้งธุรกิจโมบายล์ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และบริการดิจิทัล ขณะที่เมื่อเทียบกับ โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น ซึ่งประกอบธุรกิจด้านโมบายล์ในแบรนด์ดีแทคเท่านั้น จึงไม่แปลกที่ฝ่ายบริหารทั้งสองจะเลือกใช้ชื่อ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” เป็นชื่อบริษัทที่จะจดทะเบียนขึ้นมาใหม่หลังการควบรวมสำเร็จ

นอกจากนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทที่เป็นเจ้าของแบรนด์ ดีแทค มีการเปลี่ยนชื่อ เพราะก่อนหน้าจะเป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) แบรนด์ดีแทคอยู่ภายใต้บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือคนทั่วไปเรียกชื่อย่อว่า ยูคอม โดยผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นของตระกูลเบญจรงคกุล ต่อมาเมื่อกลุ่มเทเลนอร์ เข้ามา มีการเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นก็มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทจดทะเบียนเป็นบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ขณะที่แบรนด์ดีแทคยังคงใช้อยู่มาถึงปัจจจุบัน

ประเด็นที่ 3 : การเปลี่ยนชื่อบริษัทจดทะเบียนใหม่ แต่ 2 แบรนด์ ยังคงอยู่ ไม่มีแบรนด์ไหนหายไป ในทางการตลาดถือว่าไม่มีผลกระทบ ตรงกันข้ามยังจะเสริมความแข็งแกร่งให้ทั้งสองแบรนด์ อันเกิดจากการนำจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์มารวมกัน ซึ่ง แบรนด์ทรู และ ดีแทค ยังคงแยกกันไปอีกระยะหนึ่ง หรือประมาณ 3 ปี ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบใดๆกับลูกค้าทั้งทรู และดีแทค ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรืองของการสื่อสารที่จำเป็นต้องอธิบายให้สังคมได้รับรู้และเข้าใจในข้อเท็จจริงรวมถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มเป็นสองเท่า

 

ขณะเดียวกัน รศ.ดร.สุชาติ ยังแสดงความเห็นว่า ภายหลังการควบรวมคนไทยจะยังเห็นแบรนด์ ทรู และ ดีแทค เหมือนเดิม ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการของ กสทช.ที่เข้มข้นต่อการกำกับดูแลการควบรวมกิจการในครั้งนี้ ภายใต้วัตถุประสงค์สำคัญคือคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภค เพื่อทำให้มีเวลาในการเรียนรู้แบรนด์และบริการใหม่ๆ โดยไม่กระทบบริการเดิมที่ได้รับอยู่ และ มีเวลาในการทำการตลาดแบบเป็นธรรมชาติ เพราะฐานลูกค้า ทรู และ ดีแทค มีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน และ สินค้าบริษัทก็มีไม่เท่ากัน หากมีการรวมแบรนด์ทันที จะทำให้ลูกค้าสับสน ดังนั้น ถึงแม้ว่า บริษัทใหม่ (NEW CO) จะใช้ชื่อเดียว แต่แบรนด์สินค้ายังแยกกัน

ประเด็นสำคัญ รศ.ดร.สุชาติ ยังเชื่อมั่นว่า บริษัทใหม่จากการควบรวมกิจการจะได้ประโยชน์จาก การบริหารต้นทุน การนำเสนอบริการใหม่ๆ เพราะการแยกแบรนด์ด้วยการเจาะกลุ่มลูกค้าคนละกลุ่ม จะเป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้ไม่สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และ ยังสามารถเดินหน้าแผนการตลาดให้เกิดความต่อเนื่องได้อีกด้วย ฉะนั้นการใช้ชื่อบริษัทเดิมมาตั้งชื่อเป็นบริษัทใหม่ ไม่ได้ผิดหลักการของการควบรวมกิจการ ทั้งในหลักกฎหมายและหลักการตลาด รวมถึง ไม่ได้กระทบต่อผู้บริโภคที่ใช้สินค้าทั้งสองแบรนด์อยู่ แต่ถ้ามองโดยละเอียดแล้ว การควบรวมกิจการที่ยังคงสองแบรนด์ไว้ กลับเป็นประโยชน์เพิ่มมากขึ้นต่อลูกค้าทั้งสองฝั่ง ทั้งการได้รับบริการที่หลากหลายจากการรวมกัน และสัญญาณมือถือที่ดีขึ้นและครอบคลุมพื้นที่การให้บริการมากขึ้นจากการรวมเครือข่ายของทั้งสองเข้าด้วยกัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตาข่ายบังวิวภูเขาไฟฟูจิ โดนเจาะเป็นรู
รมว.ยธ. ประชุมติดตามเร่งรัดงานยาเสพติด เร่งด่วนระยะ 3 เดือน กำหนด 25 จังหวัดนำร่อง เน้นย้ำความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญ
เที่ยวบินอินดิโก โดนขู่ระเบิด อพยพวุ่น (คลิป)
"พชร นริพทะพันธ์" ให้กำลังใจ "หนุ่ม กรรชัย" โดนระงับออนแอร์ "โหนกระแส" 1 วัน ชี้รายการเป็นประโยชน์ ติงมติกสทช.ตกยุค
”ภูมิธรรม“ เปิด THAIFEX-ANUGA ASIA 2024 งานสินค้าอาหาร-เครื่องดื่มระดับโลก หนุนไทยเป็นศูนย์กลาง สร้างโอกาส SME คาดเงินสะพัดกว่าแสนล้าน
"ทักษิณ" แจ้งติดโควิด ขอเลื่อนเข้าพบอัยการ ฟังสั่งคดีอาญา ม.112 พรุ่งนี้
"รองผู้ว่าฯนครปฐม" สั่งเร่งแก้น้ำเสียคลองพระยากง หลังชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจากสภาพน้ำสีแดง
คืบหน้า กรณีเพื่อนรักจ้วงแทงดับหลังยืมเงิน 20 บาทไม่ได้
ประธานอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน อำเภอบ้านค่าย (ทสม.) พร้อมด้วย ชาวบ้าน ยื่นหนังสือการขนย้าย ซากปรักหักพัง และ สารเคมีที่ตกค้าง ของ โรงงานนิรันดร์ กลับศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดระยอง
"รมว.ดีอี" ลุยสางปัญหาบัญชีม้า-ซิมมือถือ ลดอาชญากรรม ปชช.โดนหลอกสูญเสียทรัพย์สิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น