No data was found

“สาวิทย์” ฉะเดือดป้ายสถานีบางซื่อ 33 ล้าน ซัดพิรุธ”ร.ฟ.ท.”ทำไมต้องรีบ

กดติดตาม TOP NEWS

"สาวิทย์" ฉะเดือดป้ายสถานีบางซื่อ 33 ล้าน ซัดพิรุธร.ฟ.ท.ทำไมต้องรีบ

ถือเป็นประเด็นใหญ่ที่หลายฝ่ายติดตาม กับความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้นกับการรถไฟแห่งประเทศไทย หลังจากนายเติมพงษ์ เหมาะสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ ได้ทำหนังสือถึง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2565

แจ้งกรณี UNIQ ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการก่อสร้างโครงการปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และตราสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่าโครงการสูงถึง 33,169,726.39 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เกี่ยวกับการใช้งบประมาณและความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น

 

 

 

 

 

ขณะที่การตรวจค้นเพิ่มเติมของ Top News พบว่า “โครงการจ้างปรับปรุงป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ และ ตราสัญลักษณ์ของการถไฟแห่งประเทศไทย” อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายโครงการพิเศษและการก่อสร้าง การรถไฟฯ และมีการเผยแพร่อยู่ในเว็บไซด์ระบบจัดซื้้อจัดจ้าง ของการรถไฟฯ รหัสโครงการ EGP ๖๕๑๒๐๐๒๖๑๐๓ ลงวันที่ 21 ธ.ค. 2565 เวลา 13.44 น. วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร 34 ล้านบาท

และเมื่อตรวจสอบเพิ่มเติม จากแบบ บก.01 หรือ ตารางแสดงวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและราคากลางในงานก่อสร้าง พบว่ามีการแสดงลักษณะงาน ไว้ดังนี้ “ประเภทงานอาคาร ปรับปรุงป้ายสถานีฯ บริเวณโดมด้านหลังของสถานีกลางบางซื่อ ทั้งในฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก โดยกำหนดป้ายชื่อตัวอักษรภาษาไทย ขนาดสูง 3 เมตร กว้าง 2.6 เมตร หนา 80 เซ็นติเมตร ชื่ออักษรภาษาอังกฤษ ขนาดสูง 2.1 เมตร กว้าง 2.2 เมตร หนา 40 เซ็นติเมตร”

ส่วนรูปแบบของโครงการ ประกอบด้วย 1.งานโครงสร้างวิศวกรรรม 2. งานสถาปัตยกรรม 3. งานออกแบบ 4. งานติดตั้งและรื้อถอนวัสดุปิดแทนกระจกระหว่างใช้งาน โดยมีการคำนวณราคากลาง ณ วันที่ 7 ธ.ค. 2565 เป็นจำนวนเงิน 33,169,726.39 บาท

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้จากประเด็นปัญหา Top News ได้สอบถามความเห็นจาก นายสาวิทย์ แก้วหวาน ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) และ ที่ปรึกษา สมาพันธ์แรงงาน รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ระบุว่า เบื้องต้นจากการพูดคุยกับประธานสหภาพการรถไฟฯ ข้อมูลป้ายสถานีกลางบางซื่อ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง มีจำนวนตัวอักษร ฝั่งละ 35 ตัว รวมเป็น 70 ตัว เฉลี่ยเท่ากับตัวละ 5 แสน รวมตราสัญลักษณ์ ทั้ง ๆ ที่ราคาจริงไม่ควรเกิน 1 แสนบาท

 

แบบคิดแพงสุด ๆ แล้วก็ตาม หรือ คิดยอดรวมไม่ควรเกิน 10 ล้านบาท ดังนั้นกรณีที่เกิดขึ้นทำให้ทางสหภาพฯรถไฟฯ ตัดสินใจทำหนังสือด่วน เรียกร้องให้ผู้ว่าการรถไฟฯ ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด

ขณะเดียวกันเมื่อสอบถามว่าเคยเกิดเหตุการณ์ส่อทุจริตในลักษณะนี้มาก่อนหรือไม่ นายสาวิทย์ ระบุว่า เคยเกิดขึ้นกับการจัดซื้อจัดจ้างประเภทพวกป้ายของการถไฟฯ โดยแอบแฝงกาารทุจริตอยู่ในรูปแบบของการประมูลทั่วไป โดยการบวกตัวเลขผลประโยชน์ เข้าไปรวมอยู่ในสัญญาจ้างดำเนินโครงการก่อสร้างห้องน้ำ ซึ่งตนทำหน้าที่กรรมการสอบสวนแล้ว พบการทำป้ายเล็ก ๆ แสดงที่่ตั้งห้องน้ำมีราคาสูงเกินจริง ถึงป้ายละ 30,000 บาท ต่างจากกับครั้งนี้ที่เป็นสัญญาการจัดทำป้ายสถานีอย่างเดียว และถึงแม้ว่าจะอ้างว่าเป็นป้ายขนาดใหญ่ แต่ในสายตาประชาชนทั่วไป เห็นตรงกันว่ามีราคาแพงเกินกว่าควรจะเป็น

 

 

 

ประเด็นสำคัญคือป้ายสถานีรถไฟกลางบางซื่อ ไม่ควรนำประเด็นชื่อพระราชทาน มาเป็นเรื่องที่ต้องเร่งรีบดำเนินการการจัดจ้างทำป้ายสถานี เพื่้อเปิดใช้สถานีให้ทันตามกำหนด แล้วทำให้เกิดครหาเรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะทุกวันนี้ก็มีการเดินรถไฟจากหัวลำโพงมาสถานีบางซื่อเป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เหตุที่ควรนำมาอ้างว่า ต้องเร่งรัดให้ทุกอย่างเสร็จภายในวันที่ 19 ม.ค. 2566

หลังจากก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ กระทรวงคมนาคม มีกำหนดเปิดให้บริการขบวนรถไฟทางไกล ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2566 เป็นต้นไป โดยการเดินขบวนรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์ ในเวลา 13.19 น. เป็นขบวนรถดีเซลรางปรับอากาศ KIHA เพื่อการท่องเที่ยว เริ่มต้นทางสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ปลายทางสถานีอยุธยา

ส่วนขบวนรถโดยสารเที่ยวแรก ที่จะออกจาก สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ คือ ขบวนรถเร็วที่ 171 กรุงเทพ – สุไหงโกลก

นอกจากนี้ นายสาวิทย์ ย้ำด้วยว่า การจัดซื้อจัดจ้างในลักษณะพิเศษ หรือ เฉพาะเจาะจงที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องไม่สมควร ไม่สมเหตุสมผล ต่างกับวิธีปฏิบัติอื่น ๆ เช่น ภารกิจนั้นมีความจำเป็นเร่งด่วน หรีอ การประมูลในบางประเภท เมื่อขายซองประกวดราคาไปแล้ว ไม่มีบริษัทเอกชนรายหนึ่งรายใดสนใจ จึงมึความจำเป็นต้องดำเนินการด้วยวิธีพิเศษ เจาะจงจัดซื้อจัดจ้างบริษัทเอกชนที่เคยทำงานร่วมกับการรถไฟฯมาก่อน เพื่อทำให้งานนั้นเดินหน้าต่อไปได้โดยไม่มีปัญหา หรือ กรณีเกิดความเร่งด่วนต้องรีบจัดการ แก้ไข เฉพาะหน้า เช่น ระบบรางรถไฟมีปัญหา ต้องเร่งจัดการขนย้ายผู้โดยสารโดยด่วน แต่สำหรับเรื่องป้ายสถานีรถไฟกลางบางซื่อ ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วน แล้วต้องใช้วิธีการจัดซื้อจัดจ้างแบบนี้

 

 

 

 

“ที่สำคัญจากการพูดคุยกับพรรคพวกที่ทำป้ายประชาสัมพันธ์ในลักษณะดังกล่าว ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากเป็นบริษัทที่การรถไฟฯเลือกเฉพาะเจาะจง ให้มารับงานในลักษณะนี้บ้าง เพราะถ้าได้รับงานคงสามารถทำกำไรตั้งตัวได้เลย และนี่้ก็คงสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกชองประชาชนทั่้วไป ที่เห็นว่าราคาจัดจ้างทำป้ายสถานีแพงเกินไป รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้มีการแสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า ทำไมต้อง 33 ล้านบาท แถมเป็นการว่าจ้างที่ใช้เวลาเร่งรัด เร่งรีบมากในช่วงเวลาไม่กี่วัน”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อนุทิน" ย้ำชัดๆจุดยืนกัญชา "ภท."ยึดทุกคำนโยบายรัฐแถลงสภาฯ ลั่นถ้าถอยเป็นยาเสพติด กระทบแน่เม็ดลงทุนหมื่นล้าน
“สมศักดิ์” เคาะแล้ว ครอบครองยาบ้า 1 เม็ด ถือเป็นผู้เสพ ผิดกฎหมาย
“พิพัฒน์” มอบโอวาทแรงงานไทย ก่อนทำงานไต้หวัน เน้นย้ำรับผิดชอบงาน ห่างไกลการพนัน-ยาเสพติด สร้างเชื่อมั่นนายจ้าง
"เสมา 1" ห่วงภาระผู้ปกครอง สั่งด่วนผ่อนผันแต่งชุดนักเรียน ช่วงเปิดเทอม
"อัษฏางค์" โต้ชุดใหญ่ "พิธา" จ้อสื่อเยอรมนี ด้อยค่าปท.ชูวีรกรรมเด็ก 3 นิ้ว
ถึงศาลรธน.แล้ว "40 สว." ยื่นสอบคุณสมบัติ "พิชิต" พ่วงวินิจฉัยความสิ้นสุดลงตำแหน่งนายกฯ
สืบนครบาล รวบ "แก้ว สวนหลวง" อดีตนางพยาบาล หลอกเหยื่อลงทุนซื้อ "โควต้าลอตเตอรี่" เสียหายกว่า 3 ล้านบาท
"หมอเหรียญฯ" ไม่หวั่นถูกโจ๋ 14 ฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท ปมเรียก "กุ๊ย" ขอต่อสู้ตามกระบวนการกม.
"พิชิต"นำผอ.สำนักพุทธฯ แถลงยันเชื่อมจิต ไม่มีจริงในพระไตรปิฏก ไร้อำนาจหยุดยั้งทีม "น้องไนซ์"
พล.ต.ท.ธนายุตม์ ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม อ.ก.ตร.กฎหมายครั้งที่ 5/2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น