No data was found

“นอท” เย้ยรูรั่วกองสลากฯ ผู้ค้าเร่เดือดร้อนโวยกม.ขายหวย 2 มาตรฐาน

กดติดตาม TOP NEWS

"นอท" เย้ยรูรั่วกองสลากฯ ผู้ค้าเร่เดือดร้อนโวยกม.ขายหวย 2 มาตรฐาน

ตามต่อเนื่องกับประเด็นที่สังคมไทยคาใจมานาน กับการเติบโตของธุรกิจขายสลากออนไลน์ชนิดก้าวกระโดด สำหรับ “บริษัทกองสลากพลัส” จนกลายเป็นคู่แข่งโดยตรงของ “สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยไม่มีโควตาใด ๆ ได้รับจากสำนักงานสลากฯ รวมถึงยังอ้างว่ากระทำโดยถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่มีการขายบวกกำไร 23 บาท เนื่องจากเป็นค่าอุดหนุนบริการ ในขณะที่ผู้ค้าสลากรายย่อย ถ้าขายเกินราคา 80 บาท เข้าข่ายผิดกฎหมายทันที

โดยล่าสุด วันนี้(12 ธ.ค.65) “นอท กองสลากพลัส” หรือ พันธ์ธวัช นาควิสุทธิ์ ซีอีโอ กองสลากพลัส ออกมาชี้แจงกรณีที่ สำนักข่าวท็อปนิวส์ ได้มีการเสนอข่าว ปม กองสลากจริง กองสลากพลัส คู่แข่ง คู่ค้า หรือคู่แฝดมหัศจรรย์ กรณีที่กองสลากพลัสมีการเติบโต อย่างรวดเร็ว โดยมีการนำหวยหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลนำมาขายผ่านแพลตฟอร์ม กองสลากพลัส งวดหนึ่งหลายล้านใบ ในราคา ใบละ 103 บาทซึ่งรวมค่าบริการ ขณะที่ในแอปเป๋าตังมีการขายสลากดิจิทัล ใบละ 80 บาท โดยมีค่าบริการ

ทั้งนี้ เกิดความสงสัย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีการจัดสรรสลากกินแบ่งฯ อย่างไร ถึงเกิดความเหลือมล้ำ ซึ่งทำให้มีคนไปซื้อสลากกินแบ่งฯ ผ่านแฟลตฟอร์มต่างๆ โดยเฉพาะกองสลากพลัสที่เป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุด

โดยมองว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เอื้อประโยชน์กับเอกชนหรือไม่ เนื่องจากมีการปล่อยให้มีการรวบรวมสลากฯ กับผู้ซื่อโดยตรงกับกองสลากฯ แล้วนำมาขายต่อให้กับกองสลากพลัส แต่กองสลากพลัส นำมาขายต่อในราคาที่เกิน 80 บาท จนทำให้ กองสลากพลัสมีความเติบโต กลายเป็นคูแฝดยักษ์ใหญ่ เป็นคู่แข่งกับสลากดิจิทัล โดยที่ไม่มีโควตาซื้อตรงกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ต่อมา นอท กองสลากพลัส ได้ออกมาไลฟ์สดชี้แจง ถึงเรื่องนี้ว่า โดยได้อธิบาย ถึงคำว่า กองสลากจริง กับ กองสลากพลัส ว่า ไม่มีกองสลากจริง มีกองสลากเดียวคือ กองสลาก .com และกองสลากพลัส

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ก็คือ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไม่มีคำว่า กองสลากอยู่ในสาระบบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน และ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไม่ใช่ กองสลาก / กองสลาก คือ บริษัทของตน บริษัทเดียว ถ้ากองสลากจริง คือบริษัทของตน

โดยนอท อธิบายว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีหน้าที่ผลิตสลากกินแบ่งรัฐบาล

นอกจากนี้ นอท ยังได้อธิบายถึงแพลตฟอร์หรือรูปแบบสลากออนไลน์ ว่า กองสลาก .com หรือ กองสลากพลัส เป็นแฟลตฟอร์มแรกที่คิดขึ้นมา หรือเป็นคนคิดแฟลตฟอร์มขึ้นมาก่อนที่จะมีสลากดิจิทัล ในแอปเป๋าตัง โดยมีแฟลตฟอร์มอื่นๆ ได้นำแนวทางไปใช้ หรือแม้แต่แฟลตฟอร์มของสลากดิจิทัล

นอกจากนี้ นอท ยังได้พูดถึงกรณีที่ผู้ประกาศพูดถึงกรณีที่ ในแอปเป๋าตังเปิดขายสลากฯ ไม่มีกี่วัน ก็ขายหมด โดยใช้เพียงไม่มีกี่วัน โดยนอท บอกว่า สลากดิจิทัล ในแอปเป๋าตัง ขายหมดในวันสุดท้าย ซึ่งขายตีคู่มากับกองสลากพลัส พร้อมยืนยันว่า ตนเองขายได้มาเป็น 10 ล้านใบ ก่อนที่สำนักงานสลากฯ จะเปิดขายสลากดิจิทัล

ส่วนกรณีที่มีการพูดถึง ที่มาของสลากฯ ว่ากองสลากพลัส นำสลากฯ มาจากไหนนั้น นอท บอกว่า นำสลากฯ มาจากสนามบินน้ำ , วังสะพุง , ตลาดคอกวัว

ส่วนกรณีที่ว่า คนจะแห่มาซื้อสลากฯ ในกองสลากพลัสนั้น ก็ต่อเมื่อสลากฯในแอปเป๋าตังขายหมดแล้ว ซึ่งนอท ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง

ส่วนกรณีที่กองสลากพลัส มีการเรียกเก็บค่าบริการใบละ 20 บาท และ VAT นั้น นอท บอกว่า ตนได้อธิบายไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนแล้ว ถึงข้อแตกต่าง ระหว่างคนเดินขายริมทาง กับขายผ่านแฟลตฟอร์ม นอท บอกว่า ประชาชนทุกคนสามารถขายได้ ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าห้ามขาย โดยพ่อค้าแม่ค้าที่ขายริมถนนก็มีสิทธิ์เท่ากับตน เพียงแต่การไปซื้อของตนอาจจะไม่เหมือนกัน หรือดีกว่ากัน ทำให้การส่งสินค้า คือ สลากฯ ถึงมือลูกค้าง่ายขึ้นสะดวกขึ้น ทั้งนี้นอท ได้ยกตัวอย่าง เช่นเดียวกับการสั่งอาหารแกร็ป ซึ่งราคาที่สูงกว่า หน้าร้าน นั่งก็เพราะมีค่าบริการ เช่นเดียวกับการขายลอตเตอรี่ออนไลน์ของตน ก็มีค่าบริการเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องของเทคโนโลยี

ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถามว่า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เอื้อประโยชน์กับเอกชนหรือไม่ ในการปล่อยให้มีการรวบรวมสลากฯ จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ เป็นคู่แข่งกับสลากดิจิทัลโดยที่ไม่มีโควตาซื้อตรงกับสำหนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

นอท บอกว่า คนที่เดินขายริมถนน หรือแม้แต่บูธที่ตั้งขายในปั๊ม เป็นเจ้าของโควตาไม่ ซึ่งทุกคนก็ไปซื้อมาขาย ไม่มีใครเป็นเจ้าของโควตาแล้วจ้างไปนั่งขาย ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากตน เพียงแต่ตนใช้วิธีการที่สะดวกกว่า ทั้งนี้ตนได้เข้าไปอยู่ในระบบที่มีอยู่แล้ว ตนก็เป็นคนหนึ่งที่เข้าไปเอามาขาย ซึ่งตนก็มีแผงลอตเตอรี่เพียงแต่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย เมื่อตนเองนำเทคโนโลยีมาแลก ลูกค้าก็ต้องนำค่าบริการมาแลกเช่นกัน มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ นอท ยังยกตัวอย่างอีกว่า ลูกค้า ซื้อลอตเตอรี่กับตน 15 ใบ ราคา 1500 กว่าบาท ขณะที่ในตลาดทั่วไป ขายในราคากว่า 1 หมื่นบาท ซึ่งแพงกว่าตน 10 เท่า ซึ่งนอท ยืนยันว่าตนขายลอตเตอรี่ถูกที่สุด ถ้าไม่นับเจ้าของผลิตภัณฑ์ หรือซับพายเออร์ อย่างสำนักงานสลากกินแบ่ง

ที่ตนเติบโตได้รวดเร็ว และมีคนสนับสนุน เพราะตนเองขายถูกมานานแล้ว ขายในราคา 80 บาท ก่อนที่สำนักงานสลากกินแบ่งจะเปิดขาย สลากดิจิทัล ในแอปเป๋าตังเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ตนเองยังได้สร้างประโยชน์ให้สาธารณะ ซึ่งปีนี้ ตนเองเสียภาษีไปแล้ว มีการจ้างงาน และปีนี้ตนเองได้เสียภาษีที่ลูกค้าถูกรางวัลไปแล้ว กว่า 40 ล้านบาท

โดยในช่วงท้าย นอทยังกล่าวทิ้งท้ายไว้อีกว่า หากทางสำนักข่าวท็อปนิวส์ ต้องการรู้เรื่องอะไร ตนยืนที่จะชี้แจง โดยสามารถติดต่อมาได้ที่ทาง สำนักงาน กองสลากพลัส ตนยินดีที่จะชี้แจงทุกเรื่อง ทุกแง่ ทุกมุม

อย่างไรก็ตาม กับประเด็นช่องโหว่การขายสลากกินแบ่งฯออนไลน์ TOP NEWS ตรวจสอบพบจุดเชื่่อมโยงไปถึงยุคหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 11/2558 เรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อให้การแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

เริ่มจากการมีคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 1/2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2558 แต่งตั้ง พล.ต. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 1 หรือบิ๊กแดง ในขณะนั้น เป็นประธานกรรมการ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อดำเนินการรื้อโควต้าการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาลเดิม ซึ่งถูกผูกขาดโดยบุคคลกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า 5 เสือกองสลากฯ

จากนั้น เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2558 พล.ต.อภิรัชต์ ( ยศ ตำแหน่ง ในขณะนั้น ) ได้ประกาศนโยบายชัดเจนจะไม่ต่ออายุการสัมปทานโควต้าหวยให้กับผู้ค้ารายใหญ่ พร้อมระบุในการแถลงข่าวว่า “ สำนักงานสลากฯ ยืนยันว่าจะไม่พิมพ์สลากเพิ่ม เกินกว่าความสามารถในการพิมพ์แต่ละงวดอยู่ที่ 100 ล้านฉบับหรือคิดเป็น 50 ล้านคู่ เนื่องจากการไม่ต่ออายุสัญญาดังกล่าวจะทำให้ประชาชน เข้ามาจองสลากฯ ล่วงหน้าจากเดิมที่จองได้งวดละ 26 ล้านฉบับ หรือคิดเป็น 13 ล้านคู่ เพิ่มขึ้นเป็น 41.8 ล้านฉบับ หรือคิดเป็น 20.9 ล้านคู่”

ถัดมา ในวันที่ 8 พ.ย. 2559 พล.ท.อภิรัชต์ ในฐานะ แม่ทัพภาคที่ 1 แถลงข่าวอีกครั้ง เกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาขายสลากเกินราคา ว่า มีผู้ที่ได้รับการจัดสรรสลากฯ บางส่วน ไม่ใช่คนขายสลากจริง หลังจากได้รับการจัดสรรสลาก ทั้งจากระบบโควตาเดิม และซื้อ-จองผ่านธนาคารกรุงไทย ผู้ค้าสลากกลุ่มนี้นำสลากไปขายต่อให้กับยี่ปั๊ว เพื่อนำไปรวมเป็นชุดขายในราคาแพง

ดังนั้นทางสำนักงานสลากฯ จะได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เดินหน้าปราบปรามและจับกุมผู้ค้าสลากขายเกินราคา 80 บาทต่อฉบับคู่ให้เข้มงวดมากขึ้น นอกเหนือจากการปราบปรามเจ้ามือหวยเถื่อน หรือ หวยใต้ดิน รวมถึงยังเตรียมปรับรูปแบบสลากกินแบ่งรัฐบาลใหม่ จากเดิม 1 ใบ(ฉบับคู่) มีสลากอยู่ 2 ฉบับ ฉบับละ 40 บาท ขายรวมกันคือ 80 บาท โดยจะปรับเปลี่ยนเหลือแค่ 1 ฉบับ(ใบ) ขาย 80 บาท โดยกำหนดปริมาณการพิมพ์ไว้เท่าเดิม 60 ล้านใบ หรือเท่ากับ 60 ล้านฉบับคู่ในขณะนี้ คาดว่าจะเริ่มในช่วงต้นปี 2560

ส่วนการจัดสรรสลากฯรูปแบบใหม่ จำนวน 60 ล้านใบ แบ่งเป็น

1. จัดสรรให้กับสมาคม มูลนิธิ องค์กรการกุศลประมาณ 15.6% ของจำนวนสลากทั้งหมด
2. จัดสรรให้ตัวแทนจำหน่ายสลากส่วนกลาง (ผู้ค้ารายย่อย) 7.9%
3. จัดสรรให้ตัวแทนจำหน่ายสลากส่วนภูมิภาค 20.5%
4. ส่วนที่เหลือ 56% จัดสรรให้กับรายย่อยผ่านระบบซื้อ-จองของธนาคารกรุงไทย

หรือเท่ากับปริมาณสลากที่พิมพ์ออกขายทั้งหมดราว 85% จะคงอยู่ในมือของผู้ค้ารายย่อย

ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2562 หรือ ในยุคที่มี นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เป็นประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ตรวจพบว่ามีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องยอดการพิมพ์สลากฯอีกครั้ง โดย ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย กรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล และโฆษกคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในขณะนั้น ระบุ คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล มีมติให้เพิ่มเพดานการจำหน่ายสลากฯ จากเดิม 90 ล้านใบ เป็น 100 ล้านใบ ตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2562 เพื่อให้ผู้ค้าจริงได้สลากเพียงพอต่อความต้องการซึ่งจะทำให้ผู้ค้าที่มีโควตาและนำไปขายต่อ ทำได้ยากขึ้น

จากข้อมูลบางส่วนนี้ มีประเด็นน่าสนใจว่า จำนวนการพิมพ์สลากฯที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปี 2562 ในสัดส่วน 100 ล้านฉบับต่องวด เป็นเหตุทำให้ธุรกิจหวยออนไลน์เกิดการขยายตัวทางธุรกิจ โดยไร้รูปแบบการควบคุมอย่างชัดเจนหรือไม่ เป็นกรณีที่สำนักงานสลากฯต้องตอบคำถามต่อสังคม ว่าจะจัดการอย่างไร เพราะ “นอท กองสลากพลัส” ยืนยันเองว่า สามารถหาซื้อนำมารวมจัดชุดขายได้จากตลาดทั่้วไป เพราะปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้สร้างผลกระทบในหลายมิติ โดยเฉพาะกับวิถีชีวิตคนขายสลากฯรายย่อยทั่วไป

 

 

จากการปัญหาการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล เกินราคา ซึ่งผ่านการแก้ปัญหามาหลายรูปแบบเป็นเวลาหลายปี แต่ล่าสุด เกิดปัญหาใหม่ คือ แพลทฟอร์มออนไลน์ ที่มีการจำหน่ายเกินราคา 80 บาท แต่กลับไม่ผิดกฎหมาย เพราะอ้างว่าส่วนที่เกิน 80 บาทนั้น เป็นค่าบริการที่เกิดขึ้นในการประกอบการ แต่ในทางตรงข้าม กลับส่งผลกระทบกับผู้ค้าสลากรายย่อยที่หาเช้ากินค่ำโดยตรง ซึ่งต้องเร่ขายตลอดทั้งวัน รวมถึงจำเป็นต้องฝ่าฝืนกฎหมาย ขายสลากฯ เกินราคา 80 บาท จากต้นทุนที่แพงขึ้นเพราะแพลทฟอร์มออนไลน์ไล่กว้านซื้อจากรายย่อย

ทีมข่าว TOPNEWS ลงพื้นที่ ซอยรางน้ำ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และย่านรามคำแหง เพื่อสอบถามผู้ค้าสลากรายย่อย และผู้ค้าสลากขายเร่ ถึงผลกระทบในการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในแต่ละงวด หลังมีผู้ประกอบการหลายรายได้เปิดเเพลทฟอร์ม ขายสลากออนไลน์ขึ้นจำนวนมาก

โดยผู้ค้าสลากขายเร่ ยอมรับว่า หลังจากที่มีการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล บนเเพลทฟอร์มออนไลน์ อาทิ กองสลากพลัส มังกรฟ้า หงส์ทอง ฯลฯ เกิดขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อการขายสลากของตนเองเป็นอย่างมาก เพราะลูกค้าบางส่วนได้หันไปซื้อสลากบนเเพลทฟอร์มออนไลน์มากขึ้น แม้ราคาจำหน่าย บวกค่าบริการจะสูงกว่าการขายสลากใบก็ตาม

อีกทั้ง มองว่า การทำการประชาสัมพันธ์ของเเพลทฟอร์มออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้ซื้อสลากเข้าไปซื้อบนออนไลน์ เพราะคาดหวังอยากถูกรางวัลที่ 1 เหมือนเช่นที่มีการนำเสนอข่าว ทำให้ความน่าสนใจในในการซื้อสลากฯ จากรายย่อยลดลง

 

 

นอกจากนี้ การนำสลากไปขายบนเเพลทฟอร์มออนไลน์นั้น ทำให้จำนวนสลากใบที่หมุนเวียนกับผู้ค้าสลากรายย่อย หรือ ผู้ค้าสลากขายเร่ มีน้อยลง จากการที่ผู้ประกอบการบนเเพลทฟอร์มออนไลน์ ได้มีการส่งคนไปกว้านซื้อสลากในตลาดขายส่งจากผู้ประกอบการรายใหญ่ แข่งกับผู้ค้าขายเร่ ทำให้ราคาสลากใบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ ประมาณ 95 บาทต่อใบ ขณะที่สลากรวมชุดจะอยู่ที่ประมาณ 98 บาทต่อใบ ทำให้ผู้ค้าสลากรายย่อย หรือ ผู้ค้าสลากขายเร่ จะต้องนำสลากมาจำหน่ายในราคาใบละ 100 บาท โดยจะได้ส่วนต่างราคาเพียงแค่ 5 บาทต่อใบเท่านั้น

 

ผู้ค้าสลากขายเร่ ยังกล่าวอีกว่า เข้าใจว่า การจำหน่ายสลากใบละ 100 บาท ผิดกฎหมาย เนื่องจากสำนักงานสลากได้กำหนดราคาและให้ขายสลากในราคา 80 บาทต่อใบ หากขายเกินราคาถือว่าผิดกฎหมายและจะถูกจับกุมดำเนินคดี แต่เมื่อตนรับสลากมาในราคาที่สูงกว่า 80 บาท ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะขายสลากในราคาต่ำกว่าทุน อีกทั้งไม่เข้าใจว่า เพราะเหตุใด การขายสลากบนเเพลทฟอร์มออนไลน์ ในราคาใบละ 100-103 บาท จึงไม่ผิดกฎหมาย และไม่ถูกจับดำเนินคดี เพราะหากอ้างถึงเรื่องการเก็บค่าบริการในการดำเนินการ ทำให้ต้องขายสลากในราคามากกว่า 80 บาท ผู้ค้าสลากขายเร่ ก็มีค่าบริการดำเนินการ ค่ารถ ค่าน้ำมัน ในการเดินทางไปขายให้ลูกค้า ก็สามารถถือเป็นค่าบริการได้เช่นเดียวกันหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าสลากขายได้ตั้งข้อสังเกต ว่า การที่ผู้ประกอบการสลากบนเเพลทฟอร์มออนไลน์ สามารถขายสลากได้ถึงใบละ 100 บาท โดยไม่ถูกดำเนินการอะไรนั้น อาจเป็นผู้ประกอบการเหล่านั้น อาจะมีการจ่ายเงินให้กองสลากหรือไม่อย่างไร แตกต่างจากรายย่อย ที่เมื่อทำผิดจะถูกจับดำเนินคดี ยึดโควตาคืน ซึ่งถือว่า ไม่ยุติธรรม และมีความสองมาตรฐานเกิดขึ้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นาทีพายุกำลังแรงเทียบเฮอร์ริเคนถล่มเท็กซัส ตาย4 (คลิป)
ชายแอลจีเรียหายตัวไป ที่แท้โดนเพื่อนบ้านขัง 26 ปี
สอบสวนกลาง ทลายเพจปล่อยเงินกู้ ดอกเบี้ยโหด “FVG money" จับ 3 ผตห. เงินหมุนเวียนกว่า 50 ล้าน
"หนุ่มโอลี่แฟน" ทำคอนเทนต์ค้าประเวณีเด็ก 17 ปี ขายในกลุ่มลับ
ทลายกลุ่มลับ จับ MC หนุ่มหล่อ หลอกเด็ก 13 ปี ถ่ายคลิปขายในกลุ่มไลน์
"อธิบดีกรมราชทัณฑ์" ไล่เรียงไทม์ไลน์ชัดๆ "บุ้ง ทะลุวัง" มีอาการวูบก่อนเสียชีวิต
อดีตแอดมิน แฉลากไส้ "ลัทธิเชื่อมจิต" เคยทักเป็นลูก ปั้นมาจากขี้เลื่อย เพื่อให้มาช่วยงาน "ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง" เผยแม่เคยเป็นร่างทรง
"อคส." แจงดูแลกองข้าวค้างโกดังตามขั้นตอนปกติ ไร้สับเปลี่ยนข้าวสารจัดฉากกิน พร้อมฟ้องผิดไม่หยุดบิดเบือน
"ทนายอนันต์ชัย" ร้อง พม. เอาผิดพ่อ-แม่ "น้องไนซ์ เชื่อมจิต" พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก
"รมว.ดีอี" แจ้งศาลอาญามีคำสั่งปิดแพลตฟอร์ม "ลอตเตอรี่ พลัส" แล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น