logo

ดูชัดๆ ประเทศไทยได้อะไรจากการเป็นเจ้าภาพประชุม APEC

ย้อนอ่านบทความ "ดร.ปิติ" คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬา ชี้ความสำคัญAPEC 2022 เป็นจุดเปลี่ยนเศรษฐกิจโลกและของไทย ปลุกคนไทยร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี

จากกรณีส.ส.พรรคฝ่ายค้าน รวมถึงคนดังบางคนที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของม็อบ 3 นิ้ว ออกมาตั้งคำถามว่าการประชุมเอเปคครั้งนี้ ประเทศไทยได้อะไร อีกทั้งยังไม่รู้เนื้อหาการประชุม ทั้งที่ภาครัฐได้มีการประชาสัมพันธ์รายละเอียดการประชุมและผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันมีบทความที่น่าสนใจจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนบทความสะท้อนความหมายและความสำคัญของ APEC 2022 Thailand ที่คนไทยควรรู้ เพื่อร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี เพราะนี่คือจุดเปลี่ยนของระบบเศรษฐกิจโลกและประเทศไทย! ลงในเว็บไซต์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สาระสำคัญส่วนหนึ่งในบทความของ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ระบุว่า

1.APEC 2022 Thailand คือ ความร่วมมือของ 21 เขตเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ประชากรของทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจรวมกันครอบคลุมประชากรมากกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 38% ของประชากรของทั้งโลก และนี้คือกลุ่มประชากรที่มีความน่าสนใจมากที่สุด เพราะตลอด 3 ทศวรรษที่ผ่านมา กำลังซื้อของประชากรกลุ่มนี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง APEC 2022 Thailand จึงเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีขนาดเศรษฐกิจรวมกันราว 2 ใน 3 ของมูลค่าผลผลิตมวลรวมของทั้งโลก หรือคิดเป็นตัวเงินกว่า 50 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมูลค่าการค้าระหว่าง 21 เขตเศรษฐกิจ ยังเทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของทั้งโลก ตลอดช่วงเวลากว่า 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 1990 ถึง 2020 มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศภายในกลุ่มสมาชิก APEC เพิ่มขึ้นจาก 45.2% เป็น 67.9% นั่นแปลว่า 21 เขตเศรษฐกิจนี้คือผู้ลงทุนรายสำคัญที่ต่างก็ลงทุนภายกลุ่ม APEC ด้วยกันเอง ซึ่งการลงทุนที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนี้ เป็นผลมาจากการที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่าง APEC ที่เน้นสร้างความร่วมมือในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

2.APEC คือการประชุมที่ครอบคลุมเกือบทุกมิติในทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยอาจจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และการดำเนินธุรกิจ 2.การบูรณาการระบบเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ 3.การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยที่ทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ร่วมกัน (Inclusive) 4.การสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ และ 5.การพัฒนาเทคโนโลยี ดิจิตอล และการสร้างนวัตกรรม

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3.การประชุม APEC ส่งผลดีทันทีต่อเศรษฐกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องรอการประชุมสุดยอดผู้นำ เพราะตลอดทั้งปีมีคณะของ 21 เขตเศรษฐกิจ APEC ในทุกระดับ ที่มาประชุมกันรวมแล้วกว่า 14 คลัสเตอร์ ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ จนถึงรัฐมนตรี และผู้นำของประเทศ รวมทั้งกองทัพสื่อ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศ เข้ามาประชุม เข้ามาใช้บริการต่าง ๆ ทั้ง อาหาร โรงแรม การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมของที่ระลึก ขนส่ง ภาคบริการ และภาคการผลิตของไทยก็ได้รับผลประโยชน์ไปแล้ว รวมทั้งยังถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในเวทีโลกได้เป็นอย่างดี เหตุผลส่วนที่สองที่ยิ่งทำให้ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพมีความสำคัญอย่างยิ่งด้วย ก็เนื่องจากตลอด 4 ปีที่ผ่านมา การประชุม APEC มักจะเกิดอุปสรรคขึ้นเสมอๆ เริ่มตั้งแต่ สหรัฐฯประกาศสงครามการค้ากับ 15 ประเทศที่สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าด้วย โดยเฉพาะจีน ทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำ APEC 2018 ที่ประเทศปาปัวนิวกีนีเป็นเจ้าภาพ ไม่สามารถบรรลุผลการประชุมร่วมกันและออกแถลงการณ์ร่วมกันได้ ต่อเนื่องด้วยปี 2019 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองขึ้นในประเทศเจ้าภาพการประชุม นั่นคือ ประเทศชิลี ทำให้ในปี 2019 ไม่มีการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC

จากนั้นทั่วทั้งโลกก็เผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ทำให้ในปี 2020 และ 2021 การประชุม APEC ไม่สามารถเกิดขึ้นได้แบบพบหน้าในที่ประชุม ดังนั้นการประชุมที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี 2022 และการประชุมสุดยอดผู้นำที่จะเกิดขึ้นในเดือนนี้ จึงเป็นการประชุมแบบพบปะ ถกแถลง เสวนาแบบเจอตัวเป็นครั้งแรกในรอบหลาย ๆ ปี ท่ามกลางระเบียบโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ทั่วทั้งโลกกำลังต้องการความร่วมมือทางเศรษฐกิจยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เพื่อฟื้นฟูห่วงโซ่มูลค่าระดับนานาชาติหลังการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางปัญหาวิกฤตการณ์อาหาร วิกฤตการณ์พลังงาน สงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี และความพยายามของบางชาติที่ต้องการใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเป็นอาวุธในการกดดันประหัตประหารบางเขตเศรษฐกิจ

 

4.APEC คือการประชุมที่เกิดขึ้น ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพได้เตรียมความพร้อม จัดการวาระการประชุม และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างเพียบพร้อมมาตั้งแต่ 2 ปีก่อนหน้า เพื่อให้การประชุมครั้งสำคัญนี้บรรลุผลดังที่ทุกคนต้องการ นั่นคือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีความรับผิดชอบเพื่อให้เศรษฐกิจของทั้ง 21 เขต และของทั้งโลกพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเตรียมผลักดันเป้าหมายกรุงเทพ หรือ Bangkok’s Goals อันประกอบไปด้วย 4 เป้าหมาย ได้แก่ 1) ร่วมกันสร้างระบบการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน 2)ร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างยั่งยืน 3)ร่วมกันรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นเขตเศรษฐกิจผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และ 4) ร่วมกันบริหารจัดการของเสียและขยะอย่างยั่งยืน

ดังนั้นผู้นำที่ไม่มาเข้าร่วม หรือมาเข้าร่วมแต่กลับมาสร้างความแตกแยก แทนที่จะเดินหน้าสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรเรือนหลายพันล้านคน จึงเป็นผู้นำที่คนทั่วทั้งโลกคงต้องทบทวนพิจารณา

 

ขอบคุณที่มา chula

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กรมโยธาฯ ร่วมพัฒนา “คลองแม่ข่า” จับมือ อจน. เปลี่ยนน้ำเสียเป็นน้ำใส สร้างอุโมงค์บายพาสส่งตรงสู่แม่น้ำปิง
"บิ๊กเต่า" แย้มผลสอบ "เรือนํ้ามันหาย" ตำรวจยืนยันถังเก็บน้ำมัน ในเขตบ้านพักสัตหีบ ไม่เกี่ยวเรือเถื่อน
"เจ้าหญิงเคท" แห่งอังกฤษ ปรากฎพระองค์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ทรงประชวรโรคมะเร็ง
"บก.ลายจุด" จัดหนัก 4 ข้อ วิจารณ์ "หนังอนาคตใหม่" ขาดมิติสารคดี ชัดเลยใครคือตัวแบกของเรื่อง
คนปทุมธานี ยังวางใจ "บิ๊กแจ๊ส" นั่งเก้าอี้นายกฯอบจ. คนต่อไป ขณะที่ "ลุงชาญ"ตามมาแบบหายใจรดต้นคอ
วินาทีระทึก เกิดไฟไหม้ชั้น 2 "อาคารสภากาชาดไทย" กลางดึก เผาอุปกรณ์สำนักงานวอด
"กรมอุตุฯ" เผย 42 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง เตือนทะเลอันดามันระวังคลื่นสูง
"หวย แม่ จำเนียร" 16 6 67 ตีโจทย์เลขรหัสลับ 16 มิถุนายน 2567
"หมอเหรียญฯ" บวชลูกชายแล้วอารมณ์ดี ควักเงินซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล โพสต์เลขเด็ดเผื่อมีโชค
จับแก๊งชายฉกรรจ์ อ้างตัวเป็นตำรวจสอบสวนกลาง รีดไถเงินผู้ประกอบการร้านค้า

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น