รัฐออกมาตรการ พักทรัพย์ พักหนึ้ เร่งช่วยเกษตรกร-ปชช.

มาตรการรัฐ “พักทรัพย์ พักหนี้” ธ.ก.ส. ร่วมด้วยช่วยเกษตรกร สรรพากรยกเว้นภาษีลูกหนี้/สถาบันการเงิน ขณะสินเชื่อฟื้นฟูคาดต.ค.นี้ ธนาคารปล่อยถึงแสนล้าน

วันที่ 24 ก.ค. -นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ “มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้” ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาดของ COVID-19 ให้มีภาระหนี้ลดลงและสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้งเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ผ่านกลไกการรับโอนสินทรัพย์หลักประกันเพื่อชำระหนี้ของสถาบันการเงิน พร้อมให้สิทธิซื้อทรัพย์คืน และต่อมา ครม. ยังได้เห็นชอบมาตรการภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้อีกด้วย

 

สอดรับมติครม.ดังกล่าว กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเรื่อง ‘กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้’ และได้มีผลบังคับใช้เมื่อ 14 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการยกเว้นภาษีแก่สถาบันการเงินและลูกหนี้ธุรกิจที่ร่วมโครงการ “พักทรัพย์ พักหนี้” คาดว่าจะมีผลให้ผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะไม่ต้องกังวลกับภาระภาษี เป็นการลดต้นทุนให้กับลูกหนี้และสถาบันการเงิน อีกทั้งสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่ประชาชนและธุรกิจต่างๆได้เพิ่มขึ้น และสำหรับภาคการเกษตร ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้มีมาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” เช่นกัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการ(บุคคล/นิติบุคคล) สหกรณ์ภาคการเกษตรที่ประกอบธุรกิจพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม บริการ และธุรกิจเกษตร ที่มีหนี้เงินกู้หรือมีทรัพย์สินเป็นหลักประกันเงิน ก่อน 1 มี.ค. 2564 ผู้สนใจสามารถติดต่อ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ

 

ในส่วนของมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู นางสาวรัชดา กล่าวว่า จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอดการปล่อยสินเชื่อทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ณ วันที่ 19 ก.ค. มียอดรวมทั้งสิ้น 7.8 หมื่นล้านบาท  ครอบคลุมลูกหนี้ 2.5 หมื่นราย คิดเป็นวงเงินเฉลี่ย 3 ล้านบาทต่อราย ซึ่งทาง ธปท.วิเคราะห์ว่า การปล่อยสินเชื่อมีแนวโน้มเป็นตามเป้าหมายร่วมของธปท.และสมาคมธนาคารไทยที่ 1 แสนล้านบาท ภายในเดือนต.ค.นี้  อีกทั้งสินเชื่อมีการกระจายตัวได้ดีทั้งในแง่ของขนาด ประเภทธุรกิจและภูมิภาค จำนวน 46% กระจายไปยัง SMEs ขนาดเล็ก ขณะที่ 68% อยู่ในภาคพาณิชย์และบริการ และ 68% เป็นธุรกิจในต่างจังหวัด

 

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยด้วยว่า นายกรัฐมนตรีได้ติดตามความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือต่างๆที่ได้ออกมาโดยตลอด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอยประเมินผลการดำเนินงาน และรับฟังเสียงสะท้อนจากภาคเอกชนผ่านการหารือในหลายวาระด้วยกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด19 ต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สวธ. จัดประกวด Cosplay World Thailand 2025 หนุนคนรุ่นใหม่ แสดงพลัง Soft Power ผ่านศิลปะไทยประยุกต์ ต่อยอดสู่อาชีพในอนาคต
หลายหน่วยงาน เข้าช่วยเหลือ เด็กออทิสติก หลังแม่ผูกคอหนีปัญหาหนี้สิน ก่อนฟื้นคืนชีพต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ด่านผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เงียบเหงา คนกัมพูชาทำงานในไทยรอดูสถานการณ์หลังไทยผ่อนปรน
"กรมบังคับคดี" ร่วมงานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ MONEY EXPO 2025 เดินหน้าจัดงานไกล่เกลี่ยหนี้ ช่วยประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเป็นธรรม
"นิพนธ์" สวนเดือดผู้บริหารปชป. ลั่นเลือดแท้รับได้มติพรรค แต่รับไม่ได้พวกใช้อำนาจสั่ง ขู่ไล่คน เพื่อบังคับยัดเยียด ยอมรับมติโจร
RBSO ร่วมกับ สวธ. จัดการแสดงคอนเสิร์ต Royal Concert “A Celebration of Thai Masters” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
"วิโรจน์" หยันสุด "พิชัย" บินเจรจาภาษีการค้าสหรัฐไร้ข้อสรุป หยันเหมือนมวยโดนจระเข้ฟาดหาง จะฟื้นตัวทันเดดไลน์หรือไม่
ปิดประตูตีมาร! หยุดอนุญาตธุรกิจรักษ์โลกจอมปลอม ปูพรม ฟาดรีไซเคิล EEC เถื่อน
ลือ ! เปิดชายแดนหาดเล็ก 7 หรือ 10 กรกฎาคมนี้
"เอกนัฏ" เอาจริง จัดการบริษัทลักลอบนำกากอุตสาหกรรมม ไปฝั่งใต้ดินในพื้นที่โซน EEC

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น