No data was found

ยาน “สำรวจดวงจันทร์” ฮาร์กุโตะ อาร์-มิชชัน 1 เตรียมออกอวกาศ พ.ย.นี้

SpaceX, สำรวจดวงจันทร์, ยานสำรวจดวงจันทร์, ภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1, รถสำรวจรอชิด 1, จรวดฟัลคอน 9, รถสำรวจขนาดเล็ก, ยานลงจอด, รถสำรวจ

กดติดตาม TOP NEWS

ยาน "สำรวจดวงจันทร์" ฮาร์กุโตะ อาร์-มิชชัน 1 และรถสำรวจ เตรียมส่งออกสู่อวกาศในเดือนพฤศจิกายนนี้

ยาน “สำรวจดวงจันทร์” สัญชาติญี่ปุ่น ฮาร์กุโตะ อาร์-มิชชัน 1 และรถสำรวจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เตรียมส่งออกสู่อวกาศในเดือนพฤศจิกายนนี้ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตความคืบหน้าในวงการดาราศาสตร์ เผย การ “สำรวจดวงจันทร์” ยังเป็นเป้าหมายหลักที่ชาติต่าง ๆ ในเอเชียต้องการส่งยานเดินทางไปสำรวจ โดยในจำนวนนี้มียานลงจอดที่พัฒนาโดยบริษัท ispace ในกรุงโตเกียว พร้อมรถสำรวจขนาดเล็กเป็นของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังเตรียมความพร้อมขึ้นสู่อวกาศในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อสำรวจเพื่อนบ้านที่ใกล้โลกที่สุดแห่งนี้

 

 

 

ยานลงจอดในภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1 (Hakuto-R Mission 1) และรถสำรวจรอชิด 1 (Rashid 1) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศระหว่างวันที่ 9-15 พฤศจิกายน จากศูนย์อวกาศเคนเนดีขององค์การนาซา ในรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ ไปกับจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) ของ SpaceX บริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีอวกาศในสหรัฐฯ

 

 

 

SpaceX, สำรวจดวงจันทร์, ยานสำรวจดวงจันทร์, ภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1, รถสำรวจรอชิด 1, จรวดฟัลคอน 9, รถสำรวจขนาดเล็ก, ยานลงจอด, รถสำรวจ

 

 

 

โดยยานทั้ง 2 ลำจะใช้เส้นทางไปยังดวงจันทร์ที่ใช้พลังงานต่ำ แทนที่จะเป็นเส้นทางมุ่งไปยังดวงจันทร์โดยตรงที่ใช้พลังงานและเชื้อเพลิงมากกว่า ส่งผลให้ยานทั้งสองใช้เวลาเดินทางไปดวงจันทร์นานหลายเดือน (เช่นเดียวกับยานทานูรีของเกาหลีใต้) โดยยานจะลงจอดบนดวงจันทร์ในเดือนมีนาคม ค.ศ.2023 และมีพื้นที่เป้าหมายในการลงจอดที่ ทะเลสาบแห่งหมู่ความฝัน (Lacus Somniorum) ซึ่งเป็นที่ราบหินบะซอลต์แห่งหนึ่งบนดวงจันทร์

 

 

 

รถสำรวจรอชิด 1 พัฒนาโดยศูนย์อวกาศมุฮัมมัด บิน รอชิด (Mohammed Bin Rashid Space Center : MBRSC) ในดูไบ โดยมีมวล 10 กิโลกรัม และขนาดความกว้าง-ความยาว 53 เซนติเมตร ความสูง 70 เซนติเมตร ทำให้รอชิด 1 เป็นรถสำรวจขนาดเล็กที่สุดเท่าที่ส่งไปสำรวจดวงจันทร์

 

 

 

SpaceX, สำรวจดวงจันทร์, ยานสำรวจดวงจันทร์, ภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1, รถสำรวจรอชิด 1, จรวดฟัลคอน 9, รถสำรวจขนาดเล็ก, ยานลงจอด, รถสำรวจ

รถสำรวจคันนี้มีแผงเซลล์สุริยะเป็นแหล่งผลิตพลังงาน ติดตั้งกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง 1 คู่ อุปกรณ์ถ่ายภาพแสดงความร้อน กล้องถ่ายภาพระดับไมโคร และอุปกรณ์ศึกษาเกี่ยวกับสภาพประจุไฟฟ้าตามสภาพแวดล้อมโดยรอบบนพื้นผิวดวงจันทร์ ทาง MBRSC คาดการณ์ว่ารถสำรวจคันนี้จะปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลาราว 29.5 วัน

 

 

 

ทั้งนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มียานโคจรรอบดาวอังคารที่กำลังปฏิบัติภารกิจสำรวจอยู่แล้ว แต่ไม่มีศักยภาพที่จะสร้างยานพร้อมระบบลงจอดบนดวงจันทร์ได้ จึงร่วมมือกับ ispace บริษัทเอกชนในญี่ปุ่นเพื่อเติมเต็มจุดอ่อนประเด็นนี้

 

 

 

SpaceX, สำรวจดวงจันทร์, ยานสำรวจดวงจันทร์, ภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1, รถสำรวจรอชิด 1, จรวดฟัลคอน 9, รถสำรวจขนาดเล็ก, ยานลงจอด, รถสำรวจ

 

 

ยานลงจอดในภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1 เป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกของบริษัท ispace เพื่อใช้ทดสอบเทคโนโลยีอวกาศ อย่างการบรรทุกสัมภาระไปยังดวงจันทร์ (รถสำรวจรอชิด 1 และรถสำรวจ 2 ล้อขนาดจิ๋วจำนวน 2 ตัวขององค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA)) และการบริการรับส่งข้อมูลด้วยยานบนดวงจันทร์สำหรับบริษัทเอกชนในแคนาดา 3 แห่ง

 

 

ขณะนี้ ยานลงจอดในภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 1 พร้อมรถสำรวจรอชิด 1 กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบขั้นสุดท้ายที่ประเทศเยอรมนี ก่อนจะขนส่งไปที่สหรัฐฯ เพื่อติดตั้งบนจรวดก่อนส่งขึ้นสู่อวกาศ นอกจากภารกิจอวกาศครั้งแรกแล้ว ทางบริษัท ispace กำลังดำเนินงานในภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 2 และมิชชัน 3 ซึ่งมีกำหนดส่งยานในปี ค.ศ.2024 และ 2025 ตามลำดับ โดยภารกิจฮากุโตะ-อาร์ มิชชัน 3 จะใช้ยานลงจอดรุ่นถัดไป

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ยานในโครงการฮากุโตะ-อาร์ ไม่ได้เป็นยานลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรกของญี่ปุ่น โดยยานลงจอดบนดวงจันทร์ลำแรกของญี่ปุ่นจะเป็นฝูงยานลงจอดขนาดเล็กของ JAXA จำนวน 10 ลำ แต่ละลำหนัก 14 กิโลกรัม ที่มีเป้าหมายภารกิจเพื่อพยายามควบคุมการลงจอดบนดวงจันทร์ ยานของญี่ปุ่นเหล่านี้จะส่งไปกับภารกิจอาร์ทีมิส 1 (Artemis 1) ของสหรัฐฯ ส่วนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้น ได้ประกาศความร่วมมือทางอวกาศกับจีน ที่จะส่งยานรอชิด 2 ไปลงจอดบนดวงจันทร์ โดยไปกับภารกิจฉางเอ๋อ 7 (Chang’e 7) ของจีนที่มีเป้าหมายส่งยานไปลงจอดที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ และมีกำหนดส่งยานในปี ค.ศ.2026
 

 

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สาวโปรตุเกส บันทึกคลิปเศษดาวหางได้แบบคูลสุดๆ (คลิป)
สพฐ. เลื่อนเข้าตรวจสอบ "ถังแก๊สโซลีน" ถูกไฟไหม้มาบตาพุด หลังพบสภาพเสียหายหนัก
ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ได้สิทธิ์อุทธรณ์ ยับยั้งถูกส่งตัวไปสหรัฐ
"ผู้ปกครอง" ขานรับนโยบาย “ยกเว้น-ผ่อนผัน” ใส่เครื่องแบบชุดนร. ขอบคุณศธ.ช่วยแบ่งเบาภาระ
"ธันวา" สวนหน้าหงาย "ธนาธร" หลัง "สกุลธร" น้องชาย ถูกพิพากษาจำคุก คดีติดสินบนเช่าที่ดินสนง.ทรัพย์สินฯ
"กระทรวงดีอี" เร่งระงับเว็บไซต์ "ลอตเตอรี่ พลัส" ล่าสุดผู้ให้บริการโทรมือถือ-อินเตอร์เน็ต เริ่มทยอยปิดกั้นแล้ว
อิหร่านไว้ทุกข์ 5 วัน ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ปูติน-สีจิ้นผิง อาลัย เสียเพื่อนที่ดี
ชาวเลยแห่ขอเอกสารใบสมัคร สว.นับพันคน แต่มาสมัครวันแรกยังบางตา
คนไทยไม่ทิ้งกัน คุณตาวัย 67 ปี ไม่มีเงินสักบาท ปั่น จยย. จากอุตรดิตถ์ กลับชัยภูมิ พบผู้ใจบุญช่วย
"โฆษกรัฐบาล" แจ้งไทม์ไลน์ขายข้าว 10 ปี หลังผลตรวจของ "กรมวิทย์ฯ" พิสูจน์ตามมาตรฐานครบถ้วน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น