เปิดภาพวงแหวน “ดาวเนปจูน” ชัดที่สุดในรอบ 30 ปี

ดาวเนปจูน, วงแหวนดาวเนปจูน, ระบบสุริยะ, ดาวบริวาร, ดวงจันทร์, ดาวเคราะห์แก๊ส, วงแหวน, ภาพถ่ายดาวเนปจูน, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, NASA, วงแหวน

เซอร์ไพรส์ต่อเนื่อง กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ เผยภาพถ่ายวงแหวน "ดาวเนปจูน" ชัดที่สุดในรอบ 30 ปี

สายดูดาว คลั่งไคล้ดาราศาสตร์ งานนี้ห้ามพลาด! หลัง NASA เผยภาพวงแหวน “ดาวเนปจูน” ที่ชัดที่สุดในรอบ 30 ปี จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยข่าวดี! เอาใจสายคอดาราศาสตร์โดยเฉพาะ หลัง NASA เผยภาพวงแหวน “ดาวเนปจูน” ชัดที่สุดในรอบ 30 ปี จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ โดยระบุว่า

 

 

นี่คือ ภาพถ่ายดาว เนปจูนจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ แสดงให้เห็นวงแหวนล้อมรอบดาวอย่างชัดเจน พร้อมกับดวงจันทร์บริวารอีก 7 ดวง นับว่าเป็นภาพถ่ายวงแหวนของดาว เนปจูนที่ชัดที่สุดในรอบ 30 ปีเลยทีเดียว

 

 

 

ดาวเนปจูน, วงแหวนดาวเนปจูน, ระบบสุริยะ, ดาวบริวาร, ดวงจันทร์, ดาวเคราะห์แก๊ส, วงแหวน, ภาพถ่ายดาวเนปจูน, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, NASA, วงแหวน

 

 

เรารู้ว่าดาวเคราะห์แก๊สในระบบสุริยะของเรามีวงแหวนล้อมรอบ แต่นอกจากดาวเสาร์แล้วก็อาจไม่ค่อยได้เห็นวงแหวนของดาวดวงใดเป็นที่ประจักษ์มากนัก รวมถึงดาว เนปจูนที่เป็นดาวเคราะห์ลำดับสุดท้ายในระบบสุริยะด้วย

 

 

 

ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 30 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์  ไกลขนาดที่ว่าที่ระยะห่างนี้ดวงอาทิตย์จะเห็นเป็นเพียงจุดสว่างเท่านั้น

 

 

 

ดาวเนปจูน, วงแหวนดาวเนปจูน, ระบบสุริยะ, ดาวบริวาร, ดวงจันทร์, ดาวเคราะห์แก๊ส, วงแหวน, ภาพถ่ายดาวเนปจูน, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, NASA, วงแหวน

อย่างไรก็ตาม เราเคยเห็นวงแหวนของดาว เนปจูนครั้งหนึ่งเมื่อครั้งที่ยานวอยเอจเจอร์ 2 บินเฉียดและถ่ายภาพดาว เนปจูนในระยะใกล้กลับมาให้เราชมกันเมื่อปี ค.ศ. 1989 ซึ่งก็เมื่อ 30 ปีผ่านมาแล้ว

 

 

บรรยากาศของดาว เนปจูน มีแก๊สมีเทนเป็นองค์ประกอบเจือปน ซึ่งจะดูดกลืนแสงสีแดงและแสงอินฟราเรดได้ดี ทำให้ดาวมีลักษณะปรากฏเป็นสีฟ้า-สีน้ำเงิน

 

 

 

สำหรับภาพประวัติศาสตร์ล่าสุดนี้บันทึกด้วยกล้อง NIRCam ของเจมส์ เวบบ์ เก็บข้อมูลในช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ 0.6 – 5 ไมครอน ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่ตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ ภาพที่ได้จึงไม่ได้ปรากฏเป็นสีฟ้าหรือสีนำ้เงินเหมือนที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์แห่งอื่น

 

 

 

ดาวเนปจูน, วงแหวนดาวเนปจูน, ระบบสุริยะ, ดาวบริวาร, ดวงจันทร์, ดาวเคราะห์แก๊ส, วงแหวน, ภาพถ่ายดาวเนปจูน, กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์, NASA, วงแหวน

 

 

จากภาพแสดงให้เห็นแนวเส้นสว่างบน “ดาวเนปจูน” เป็นแถบเมฆที่บรรยากาศชั้นสูงของดาว และเป็นครั้งแรกที่ค้นพบว่าบริเวณขั้วใต้ของดาวมีแถบเมฆต่อเนื่องปกคลุมเป็นแนวยาว ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า บริเวณใกล้ ๆ กับขั้วเหนือของดาวมีความสว่างมากกว่าบริเวณอื่น ทั้งนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากกระบวนการใด

 

 

นอกจากนี้ ในภาพนี้ยังมีดวงจันทร์บริวารของดาว เนปจูนอยู่อีก 7 ดวงด้วย (จากทั้งหมด 14 ดวง) โดยมีดวงจันทร์ไทรทันอยู่บริเวณมุมซ้ายบนของภาพ นี่คือ ดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาว เนปจูน พื้นผิวสะท้อนแสงและรังสีอินฟราเรดที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ได้ดีมาก จึงปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจนในภาพนี้ ขณะที่ดวงจันทร์ขนาดเล็กอีก 6 ดวงจะเป็นจุดสว่างเล็ก ๆ ที่อยู่ใกล้กับวงแหวนดาว เนปจูน
 

 

 

ข้อมูล : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

รูปภาพ : NASA

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น