No data was found

“Favipiravir” ไทยไม่ควรใช้ยารักษาผู้ป่วย โควิด-19 อีกต่อไป

กดติดตาม TOP NEWS

"Favipiravir" ผลวิจัยล่าสุด ไม่ควรนำยามาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ต่อไปนี้ ไทยควรเลิกผลิต นำเข้า ไม่ส่งฟาวิพิราเวียร์ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

“Favipiravir” TOP News เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ล่าสุด ผลวิจัย ยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่แตกต่างจากยาหลอก ไม่ช่วยลดความรุนแรง หรือทำให้อาการของโรคดีขึ้น หมอมนูญ นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ระบุ ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ เลิกผลิต นำเข้า และไม่ควรส่งให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หมอมนูญ เผย เราทราบจากสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ผลการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบ ยาฟาวิพิราเวียร์ กับ ยาหลอก ที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และ บราซิล สร้างความผิดหวังให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยาตัวนี้ (ดูรูป) และในที่สุดผลงานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 (ดูรูป)

 

 

 

 

Favipiravir, โควิด-19, COVID-19, ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟาวิพิราเวียร์, หมอมนูญ, ยาโมลนูพิราเวียร์, แพ็กซ์โลวิด, โมลนูพิราเวียร์

 

 

 

 

Favipiravir, โควิด-19, COVID-19, ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟาวิพิราเวียร์, หมอมนูญ, ยาโมลนูพิราเวียร์, แพ็กซ์โลวิด, โมลนูพิราเวียร์

 

 

 

 

การศึกษาทำในช่วงพฤศจิกายน 2563 – ตุลาคม 2564 เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในคนติดเชื้อไวรัสโควิด 1,187 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ชาวอเมริกัน 963 คน เม็กซิกัน 163 คน บราซิล 65 คน) โดยให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ ให้ยาทั้งหมด 10 วัน 599 คน รับ ยาฟาวิพิราเวียร์ 588 คน รับ ยาหลอก

 

ผลการศึกษา พบว่า ยาฟาวิพืราเวียร์ ไม่แตกต่างจาก ยาหลอก ไม่ช่วยทำให้อาการของโรคโควิดดีขึ้น ไม่ลดความรุนแรงของโรค ไม่ลดการป่วยหนักเข้านอนในโรงพยาบาล ไม่ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย แต่คนที่กิน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีกรดยูริกสูงขึ้นถึง 19.9% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก 2.8%

 

ในการศึกษานี้พูดถึงประเทศที่ยังใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประเทศรัสเซีย อินโดนีเซีย ดูไบ และ ประเทศไทย รวมอยู่ด้วย

 

 

 

 

 

Favipiravir, โควิด-19, COVID-19, ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟาวิพิราเวียร์, หมอมนูญ, ยาโมลนูพิราเวียร์, แพ็กซ์โลวิด, โมลนูพิราเวียร์

 

 

 

บทสรุปของการศึกษานี้ ไม่ควรนำ ยาฟาวิพิราเวียร์ มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ในการรักษาโรคโควิด-19

 

“ยาโมลนูพิราเวียร์ ปัจจุบันราคาไม่แพงกว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราเลิกใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ นานแล้ว และเข้าถึง ยาโมลนูพิราเวียร์ และ แพ็กซ์โลวิด ซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์ลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้านอนในโรงพยาบาล”

 

องค์การเภสัชกรรมควรเลิกผลิต นำเข้า “Favipiravir” และไม่ควรส่ง ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ซัดกันวุ่น "แม่เด็กกับพี่เลี้ยง" ปมเด็ก3ขวบกระเพาะแตก แพทย์เผยรอผลตรวจที่แน่ชัด
หนุ่มหลอนยา ไล่ฆ่าแม่ 2 วัยรุ่นเข้าช่วยแต่ถูกไล่ฟันเลยใช้มีดฟันสวน ดับคาที่
แก๊งคอลเซนเตอร์อ้างเป็นตำรวจ ลวงผู้เสียหายเสียเงินนับแสน สอบสวนกลางรวบบัญชีม้า
คึกคัก ชาวเบตง แห่ประมูลทรัพย์หลุดจำนำ เน้นทองรูปพรรณ ราคาถูกกว่าร้านทอง
"นายกฯ" ยินดีผลตรวจม.เกษตรฯ ข้าวค้างโกดัง 10 ปี ไม่พบสารพิษปนเปื้อนก่อมะเร็ง เกิดอันตรายผู้บริโภค
บางแสน ดังกระหึ่ม AIMS ยกย่อง เป็นเมืองมาราธอนยอดเยี่ยมระดับโลก ชูบางแสน10 เป็นสนามระดับเวิลด์คลาสที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักวิ่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงประกอบพิธีเจิมเรือหลวงช้าง
"รมว.อุดมศึกษาฯ" เปิดโครงการ "สร้างโอกาสการเรียนรู้สู่ความสำเร็จ" นำบุคคลต้นแบบ ร่วมปลุกแรงบันดาลใจคนรุ่นใหม่ทั่วปท.
หนุ่ม 45 ท้องเสียเข้าห้องน้ำวัด แต่พลาดท่าลื้นล้มหัวฟาดพื้นดับ
"เอกภพ" นำทีมสายไหมต้องรอด เข้าเจรจาสาวจิตป่วน คุกคามชาวบ้าน ส่งตัวบำบัดรักษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น