แคนาดา-เยอรมนี จับมือลงนามข้อตกลงพลังงานไฮโดรเจน

แคนาดาและเยอรมนี ลงนามข้อตกลงพลังงานไฮโดรเจน สร้างสัมพันธ์ห่วงโซ่อุปทานข้ามแอตแลนติก แต่ในเรื่อง LNG ที่เยอรมนีต้องการ แคนาดายังไม่ตอบสนองชัดเจน

นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แห่งแคนาดา ออกแถลงร่วมกับนายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ แห่งเยอรมนี ภายหลังที่มีการลงนามร่วมเกี่ยวกับข้อตกลงพลังงานไฮโดรเจน ด้วยเป้าหมายที่ต้องการเริ่มต้นภาคเศรษฐกิจไฮโดรเจน และสร้างห่วงโซ่อุปทานไฮโดรเจนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเยอรมนี ในการกระชับความสัมพันธ์ด้านพลังงานแหล่งใหม่

ทั้งนี้ ทรูโดได้กล่าวว่า การเป็นพันธมิตรด้านไฮโดรเจนระหว่างแคนาดาและเยอรมนีเป็นก้าวสำคัญ ข้อตกลงที่บรรลุในวันนี้ทำให้เกิดความร่วมมือในหลายด้าน ตั้งแต่การดึงดูดการลงทุนในโครงการไฮโดรเจน ไปจนถึงการพัฒนาระเบียงการค้าของเรา การโจมตียูเครนนั้น นับเป็นการเร่งเส้นทางไปสู่อนาคตที่เรารู้ว่ากำลังจะมา อนาคตที่เราไม่เพียงหยุดการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซของรัสเซียเท่านั้น แต่เราจะลดการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซแบบสิ้นเชิงด้วย และเปลี่ยนไปสู่แหล่งพลังงานที่สะอาดกว่า ตามความต้องการของโลกที่เป็นศูนย์สุทธิ

ด้านชอลซ์ก็กล่าวว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการตอนนี้ ไม่เพียงแต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ และการจัดหาพลังงานให้อยู่ในระดับปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงในแง่ของการแข่งขันระดับนานาชาติด้วย บริษัทในแคนาดาและเยอรมนี ต่างมีตำแหน่งอยู่ในตลาดเทคโนโลยีไฮโดรเจนที่ดี แต่ผู้ผลิตจากบริษัทอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและสหรัฐ กลับมีกำลังที่จะเพิ่มการผลิต จนได้รับส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ เราเชื่อว่าแอตแลนติกและแคนาดาเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ที่จะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงพลังงานสีเขียว แคนาดานับเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด และมีความคิดเหมือนกันในการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ในระยะยาว ศักยภาพที่แท้จริงจะอยู่ในไฮโดรเจนสีเขียวจากประเทศในมหาสมุทรแอตแลนติก ที่อุดมไปด้วยลมและจำนวนประชากรที่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ช่วงก่อนการแถลงข่าวร่วมกัน ผู้นำทั้งสองได้พูดคุยกันถึงเรื่องแนวคิดในการขนส่งก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของแคนาดาบางส่วน ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังปลายทางที่เยอรมนี ซึ่งทรูโดก็ได้บอกว่า ยังไม่มีแผนทางธุรกิจที่ชัดเจน สำหรับการสร้างสถานีส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในแคนาดา

ทรูโดอธิบายเพิ่มเติมว่า ก๊าซธรรมชาติจะต้องถูกส่งผ่านท่อจากทุ่งของแคนาดาตะวันตก ไปยังสถานีผลิตของเหลวที่ยังไม่ได้สร้างบนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก นั่นจะเป็นการดำเนินการที่มีราคาแพงและอาจไม่ใช่การลงทุนที่เป็นไปอย่างรอบคอบ เนื่องจากความมุ่งมั่นของยุโรปคือการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดอย่างรวดเร็ว ในตอนนี้ วิธีที่ดีที่สุดคือ การให้การสนับสนุนตลาดโลก เพื่อแทนที่ก๊าซและพลังงานที่เยอรมนีและยุโรปกำลังต้องการ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

2 แรงงานพม่า สุดซึ้ง กู้ภัยเก็บสร้อยทอง จากซาก "ตึกสตง." ส่งคืน
"ศุภชัย" หนุนมหาวิทยาลัยเป็น "พลังเปลี่ยนพื้นที่" ผลิต "คน" ที่พร้อมทั้งทักษะอนาคต-ความรู้ที่ใช้ได้จริง รับโลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
"รมว.เกษตรฯ" แจ้งข่าวดี GACC เชื่อมั่นมาตรฐานไทย แจ้งลดระดับการสุ่มตรวจ สาร BY2 ทุเรียนส่งออกจีน เริ่มมีผล 10 พ.ค.นี้
"สภาวิศวกร" เผยพบผู้ประกอบวิชาชีพ 2-3 ราย ส่อผิดจรรยาบรรณ เหตุ สตง.ถล่ม เร่งรวบรวมข้อมูลใหชัด
จีนเตือนสหรัฐฯแสดงความ 'จริงใจ'ในการคุยดีลการค้า
“ดนุพร” ลั่นไม่เคยพูด “ทักษิณ” ป่วยวิกฤต แจงยิบถามนายกฯแล้ว ภาพใส่เฝือกคอ-คล้องแขน
"ดีเอสไอ" ลงนามด่วนถึง "ผบ.ตร.-ปลัด มท." พร้อมร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วสว.
ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น
เปิดเอกสารเต็มหมายเรียก "สว.อลงกต" รับทราบข้อหาคดีฮั้วเลือกสว. เจ้าตัวไม่อยู่ห้อง นิติคอนโดฯ รับเอกสารไว้แทน
ปูตินสวมกอดทหารเกาหลีเหนือในพิธีสวนสนาม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น