ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น

ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น

ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น

 

ข่าวที่น่าสนใจ

9 พ.ค.2568 ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรรม “ผู้ว่าการพบสื่อมวลชน (Meet the Press) ครั้งที่ 1/68” ณ หน้าห้องภัทรรวมใจ อาคาร 2 ชั้น 2 ธนาคารแห้งประเทศไทย สำนักงานใหญ่

ดร. เศรษฐพุฒิ ระบุว่า ถึงผลกระทบเกี่ยวกับมาตรการทางภาษีของสหรัฐว่า ผลกระทบเกี่ยวกับมาตรการภาษีได้สร้างความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจสูงมาก และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ชัดเจน จึงทำให้การคาดการณ์ของธปท. ในเรื่องนี้ มีฉากทัศน์ 2 ด้าน ประกอบด้วย ระยะเวลาของผลกระทบจะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน เพราะขึ้นอยู่กับการเจรจาไทย-สหรัฐ ว่าจะมีผลออกมาอย่างไร แต่เชื่อว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นในระยะยาวกินเวลานาน แต่จะไม่หนักเท่ากับช่วงโควิด-19 และช่วงวิกฤติปี 40

“เชื่อว่า ประเทศไทย จะสามารถผ่านสถานการณ์การตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐไปได้ โดยมองว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่เป็นวิกฤต เมื่อเทียบกับ ช่วงโควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจปี 40“

 

โดยขณะนี้ เริ่มเห็นสัญญาณการชะลอตัวของการลงทุน แต่คาดว่า จุดต่ำสุดของเศรษฐกิจก่อนที่จะฟื้นตัวจะเกิดขึ้นหลังไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และหากไม่มีการปรับตัวเศรษฐกิจที่ฟื้นขึ้นมาก็จะต่ำกว่าระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนผลกระทบจะหนักแค่ไหน ขึ้นอยู่กับผลของการเจรจา

ทั้งนี้ ธปท. มองว่า กลุ่มที่จะได้ผลกระทบหนักที่สุดในครั้งนี้ คือกลุ่มผู้ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารแปรรูป เครื่องจักร / กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และในกลุ่มซัพพลายเชนของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยมองว่า กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ กลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากสินค้าต่างประเทศทะลักเข้ามาในประเทศไทย

ทั้งนี้ ไทย ควรมีความจริงจังที่จะใช้มาตรการทางการค้า เพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าต่างประเทศ ที่ไม่สามารถส่งไปสหรัฐได้ เพราะการทะลักเข้ามาจะกระทบกับธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีความเสี่ยงว่าจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน โดยมาตรการทางการค้าที่ควรใช้ เช่น มาตรการการตอบโต้การทุ่มตลาด และการตรวจสอบมาตรฐานของสินค้าอย่างเข้มงวด

ดร. เศรษฐพุฒิ ระบุว่า สิ่งที่ ธปท. ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา คือ การดำเนินโยบายการเงินที่ กนง. ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 2 ครั้งในปีนี้ เพื่อรองรับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยมองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับปัจจุบันถือเป็นระดับที่เหมาะสม กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้แล้ว แต่ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ประชุมในครั้งก่อนก็พร้อมจะลดดอกเบี้ยเพิ่ม ซึ่งการลดดอกเบี้ยต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง เพราะอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เหลืออยู่มีอยู่อย่างจำกัด

นอกจากนี้ ธปท. ได้ดูแลตลาดการเงิน ไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป โดยได้เข้าไปดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็วเกินไปในช่วงที่ผ่านมา แต่ไม่ได้มีการกำหนดค่าเงินบาทที่เหมาะสมในใจ โดยจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด และเน้นดูแลค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนเร็วเกินไป จนภาคธุรกิจปรับตัวไม่ได้ ยอมรับว่า ช่วงที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 2 ปัจจัย คือ ดอลล่าร์อ่อนค่า และราคาทองคำเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ ธปท. ได้ออกมาตรการเพื่อช่วยดูแลลูกหนี้ โดยการออกมาตรการ “คุณสู้เราช่วย ” ซึ่งเริ่มมีลูกหนี้เข้ามาร่วมโครงการมากขึ้น พร้อมปฏิเสธว่า การที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้าในปัจจุบันไม่ได้เกิดจากเกณฑ์ของแบงค์ชาติในเรื่องการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรม หรือ RL เป็นเพียงข้ออ้างของธนาคารพาณิชย์เท่านั้น และปัจจัยหลักที่จะทำให้ลูกค้าได้รับสินเชื่อหรือไม่ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงทางด้านเครดิตของลูกค้ามากกว่า

ส่วนมาตรการเพื่อรองรับและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น รัฐบาลควรออกเป็นมาตรการที่เฉพาะเจาะจง เฉพาะภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจริงๆ เช่น การจัดสินเชื่อผ่อนปรน หรือ soft loan โดยควรจะเน้นเฉพาะภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้ให้เป็นการทั่วไปเหมือนช่วงโควิด-19

ส่วนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท มองว่า รัฐบาลควรทบทวนการเดินหน้าโครงการในเฟสที่เหลือ เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนและมีความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่องสงครามการค้า และภาษี โดยรัฐบาลควรเน้นการลงทุน และปรับโครงสร้างของประเทศ เช่น ปรับหลักเกณฑ์การทำธุรกิจให้ง่ายต่อการลงทุน เพื่อดึงดูดนักลงทุนไม่ให้มีการย้านฐานการผลิต

“ การกระตุ้นการบริโภค จะต้องพิจารณาว่า จะช่วยเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งความกังวลเรื่องของสินค้าที่จะทะลักเข้าไทย หากมีการกระตุ้นการบริโภค อาจจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศอื่นๆแทน”

ส่วนกรณีการจัดตั้งเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ ผู้ว่าแบงก์ชาติ มองว่า ยังไม่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจนในการจัดตั้งเอ็นเตอร์เทนเม้นท์คอมเพล็กซ์ เนื่องจากขณะนี้โลกมีความไม่แน่นอนสูงซึ่งควรให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจที่ขาวสะอาด มากกว่าที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับธุรกิจสีเทา ควรจะหันไปส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวจากการตั้งศูนย์กลางเพื่อสุขภาพ เช่น Wellness Center ที่ไทยมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมว.เกษตรฯ" แจ้งข่าวดี GACC เชื่อมั่นมาตรฐานไทย แจ้งลดระดับการสุ่มตรวจ สาร BY2 ทุเรียนส่งออกจีน เริ่มมีผล 10 พ.ค.นี้
"สภาวิศวกร" เผยพบผู้ประกอบวิชาชีพ 2-3 ราย ส่อผิดจรรยาบรรณ เหตุ สตง.ถล่ม เร่งรวบรวมข้อมูลใหชัด
จีนเตือนสหรัฐฯแสดงความ 'จริงใจ'ในการคุยดีลการค้า
“ดนุพร” ลั่นไม่เคยพูด “ทักษิณ” ป่วยวิกฤต แจงยิบถามนายกฯแล้ว ภาพใส่เฝือกคอ-คล้องแขน
"ดีเอสไอ" ลงนามด่วนถึง "ผบ.ตร.-ปลัด มท." พร้อมร่วมมือสอบสวนเอาผิดฟอกเงินคดีฮั้วสว.
ผู้ว่าแบงก์ชาติ เตือนศก.ไทย “จ่อปากเหว” เจรจาภาษีสหรัฐยังไม่ชัด แนะรัฐบาลเร่งปรับโครงสร้าง- คุมสินค้าตปท.ทะลัก-ทบทวนมาตรการแจกเงินหมื่น
เปิดเอกสารเต็มหมายเรียก "สว.อลงกต" รับทราบข้อหาคดีฮั้วเลือกสว. เจ้าตัวไม่อยู่ห้อง นิติคอนโดฯ รับเอกสารไว้แทน
ปูตินสวมกอดทหารเกาหลีเหนือในพิธีสวนสนาม
"วิรังรอง" คาใจแพทย์รพ.ราชทัณฑ์ โดนโทษแค่ตักเตือน ทั้ง ๆ เป็นต้นเหตุปัญหาชั้น 14
รัสเซียฉลองวันชัยชนะครบรอบ 80 ปียิ่งใหญ่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น