“ฝีดาษลิง” 2565 เหมือน – แตกต่าง ไข้ทรพิษ เริม สุกใส งูสวัด

"ฝีดาษลิง" ไข้ทรพิษ เริม สุกใส งูสวัด เช็คก่อน เชื้อก่อโรค การติดต่อ ระยะฟักตัว อาการนำ อาการแสดงทางผิวหนัง การรักษา เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

“ฝีดาษลิง” (วานร) โรคฝีดาษวานร เหมือนหรือแตกต่างกับโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความตระหนกตื่นกลัวจนเกินไป TOP News สรุปเปรียบเทียบ ไข้ทรพิษ เริม สุกใส งูสวัด มาให้แล้ว เช็คก่อน เชื้อก่อโรค การติดต่อ ระยะฟักตัว อาการนำ อาการแสดงทางผิวหนัง การรักษา ครบ จบ ที่นี่

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ฝีดาษลิง, ไข้ทรพิษ, เริม, สุกใส, งูสวัด, เชื้อก่อโรค, การติดต่อ, ระยะฟักตัว, อาการนำ, อาการแสดงทางผิวหนัง, การรักษา

 

 

 

 

เชื้อก่อโรค

 

  1. ฝีดาษลิง : Pox virus
  2. ไข้ทรพิษ : Pox virus
  3. เริม : Herpes simplex virus
  4. สุกใส : Varicella zoster virus
  5. งูสวัด : Varicella zoster virus

 

 

การติดต่อ

 

  • ฝีดาษลิง

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และ ละอองฝอย จากทางเดินหายใจ
  2. ติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์
  3. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และ ละอองฝอย จากทางเดินหายใจ
  2. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • เริม

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง การติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  2. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • สุกใส

 

  1. การสัมผัสสารคัดหลั่ง รอยโรค และ ละอองฝอย จากทางเดินหายใจ
  2. ติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์

 

 

  • งูสวัด

 

  1. มักเกิดจากการเป็นโรคสุกใสมาก่อน และมีเชื้อหลบที่ปมประสาท จะแสดงอาการภายหลัง
  2. สารคัดหลั่งของผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้

 

 

ระยะฟักตัว

 

  1. ฝีดาษลิง : 7 – 21 วัน
  2. ไข้ทรพิษ : 7 – 17 วัน
  3. เริม : 3 – 7 วัน
  4. สุกใส : 11 – 20 วัน
  5. งูสวัด : –

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ไข้ทรพิษ, เริม, สุกใส, งูสวัด, เชื้อก่อโรค, การติดต่อ, ระยะฟักตัว, อาการนำ, อาการแสดงทางผิวหนัง, การรักษา

 

 

 

 

 

อาการนำ

 

  • ฝีดาษลิง

 

  1. ไข้
  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  3. ปวดศีรษะ
  4. อ่อนเพลีย
  5. ปวดหลัง
  6. ต่อมน้ำเหลืองโต

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. ไข้สูง
  2. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  3. ปวดศีรษะ
  4. อ่อนเพลีย
  5. ปวดหลัง
  6. เจ็บคอ
  7. คลื่นไส้
  8. อาเจียน
  9. ปวดท้อง

 

 

  • เริม

 

  1. อาการเจ็บ ปวดแสบร้อน คันบนตำแหน่งที่จะเกิดรอยโรค
  2. ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  3. เบื่ออาหาร
  4. อาจพบมีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตในผู้ป่วยบางราย

 

 

  • สุกใส

 

  1. ไข้
  2. ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  3. ปวดกล้ามเนื้อ
  4. อ่อนเพลีย
  5. ปวดศีรษะ

 

 

  • งูสวัด

 

  1. อาการเจ็บ ปวดแสบร้อน คัน บนตำแหน่งที่จะเกิดรอยโรค
  2. อาจมีไข้ต่ำ ๆ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ

 

 

อาการแสดงทางผิวหนัง

 

  • ฝีดาษ ลิง

 

  1. แผลในปาก ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงจะตกสะเก็ด
  2. รอยโรคจะอยู่ในระยะเดียวกัน

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. แผลในปาก และคอหอย ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และกลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงจะตกสะเก็ด
  2. รอยโรคจะอยู่ในระยะเดียวกัน มักทิ้งรอยแผลเป็น

 

 

  • เริม

 

  1. ตุ่มแดง และตุ่มน้ำที่เจ็บบนพื้นแดง อาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง ต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง และแผลหรือแผลถลอกตกสะเก็ด
  2. รอยโรคจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่กระจายตัว

 

 

  • สุกใส

 

  1. แผลในปาก และคอหอย ตามด้วยผื่นแดง ตุ่มแดง ตุ่มน้ำ โดยตุ่มน้ำอาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง และต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง แล้วจึงจะตกสะเก็ด
  2. พบรอยโรคได้หลายระยะในเวลาเดียวกัน มีโอกาสทิ้งรอยแผลเป็นหลังหาย

 

 

  • งูสวัด

 

  1. ตุ่มแดง และตุ่มน้ำที่เจ็บ อาจมีรอยบุ๋มเล็ก ๆ ตรงกลาง ต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง และแผลหรือแผลถลอกตกสะเก็ด
  2. รอยโรคอยู่เป็นกลุ่ม และมีการกระจายตัวตามแนวของเส้นประสาท

 

 

 

 

ฝีดาษลิง, ไข้ทรพิษ, เริม, สุกใส, งูสวัด, เชื้อก่อโรค, การติดต่อ, ระยะฟักตัว, อาการนำ, อาการแสดงทางผิวหนัง, การรักษา

 

 

 

 

การรักษา

 

  • ฝีดาษ ลิง

 

  1. แบบประคับประคอง และรักษาตามอาการ
  2. ยา tecovirimat (อยู่ระหว่างการศึกษา)

 

 

  • ไข้ทรพิษ

 

  1. แบบประคับประคอง และรักษาตามอาการ
  2. ยา tecovirimat (รับรองจาก USFDA)

 

 

  • เริม

 

  1. การรักษาตามอาการ
  2. ร่วมกับ ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, famciclovir และ valacyclovir

 

 

  • สุกใส

 

  1. การรักษาตามอาการ ร่วมกับ
  2. ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, famciclovir และ valacyclovir

 

 

  • งูสวัด

 

  1. การรักษาตามอาการ ร่วมกับ
  2. ยาต้านไวรัส เช่น acyclovir, famciclovir และ valacyclovir

 

ฝีดาษลิงต่างจากโรคติดต่ออื่นอย่างไร

 

 

ข้อมูล : สถาบันโรคผิวหนัง

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น