ศบค.จ่อล็อกดาวน์ พื้นที่ระบาด หาก สธ.เสนอ

ผอ.ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 พร้อมล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงแพร่กระจายโควิด-19 หาก ก.สาธารณสุข ร้องขอมา ระบุ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจอย่างที่หลายฝ่ายกังวล

พล.อ.ณัฐพล  นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ผอ.ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่า กำลังรอข้อเสนออย่างเป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข ในการพิจารณาว่าจะล็อคดาวน์ พื้นที่โควิด 19 ระบาด  ซึ่งทาง ศบค.พร้อมที่จะรับพิจารณา เพราะต้องฟังข้อคิดเห็นจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นอันดับแรกและนำมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะนี้ถือว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อยังทรงตัว แต่ก็มีการติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ขอให้ทุกคนเข้าใจในคำว่าล็อคดาวน์ ซึ่งหากเปรียบเทียบความหมายแล้วประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ล็อคดาวน์ล่าสุดช่วงเดือนเมษายน 2563 แต่หลังจากนั้นแล้วประเทศไทยไม่ได้ดำเนินมาตรการล็อคดาวน์ แต่เป็นการปิดพื้นที่ปิดบางกิจการ จำกัดการเคลื่อนย้าย ทั้งนี้หากตัวเลขมีการเพิ่มสูงขึ้นการประชุมรับข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุขก็จะเร็วขึ้น ก่อนวันที่ 12 กรกฎาคม ซึ่งจะครบกำหนดการออกมาตรการล่าสุด แต่หากตัวเลขยังขึ้นลงก็ต้องประเมินให้ครบเวลา 15 วัน เพื่อประเมินครั้งเดียวและให้เกิดความครบถ้วน ยืนยันว่า รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ นั่งรอให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ระหว่างนี้ก็เร่งหามาตรการในการแก้ไขสถานการณ์ เช่นการควบคุมการเคลื่อนย้าย การรักษาพยาบาล การจัดหาเตียงเพิ่มเติม  เป็นต้น

พล.อ.ณัฐพล เปิดเผยอีกว่า หากเกิดการล็อกดาวน์ ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง พื้นที่อื่นๆก็จะต้องมีมาตรการเสริมให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อสอดคล้องกับพื้นที่ที่ล็อคดาวน์ ดังนั้นอาจจะต้องมีการลดหลั่นมาตรการไปตามพื้นที่ อีกทั้งรัฐบาลไม่ได้มีการหลีกเลี่ยงที่จะล็อคดาวน์ประเทศแต่ความหมายและการดำเนินมาตรการต้องชัดเจนนั่นหมายถึงการล็อกดาว์คือห้ามไม่ให้ไปไหน  และมีมาตรการเคอร์ฟิว เข้ามา  พร้อมยอมรับว่า การล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน 2563 ผู้ประกอบการและคนที่มีรายได้ไม่ประจำกระทบและเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นกระทรวงการคลังรายงานว่าต้องใช้งบประมาณในการเยียวยาใช้ไปถึงเดือนละ เกือบ 300,000 ล้านบาท  ซึ่งหากดำเนินการล็อคดาวน์ก็นั่นหมายความว่าต้องใช้งบประมาณจำนวนที่กล่าวมาในการเยียวยาประชาชน ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นทาง ศบค.จึงคำนึงว่าการให้ประชาชนบางส่วนได้ทำมาหากินได้โดยไม่กระทบและเสี่ยงต่อการแพทยระบาดจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ท้ายสุดแล้วจะต้องมีการหารือและวิเคราะห์ปัจจัยในการแก้ไขปัญหาแต่หากกระทรวงสาธารณสุขมองว่าต้นเหตุทั้งหมดเป็นปัจจัยก็ต้องปฏิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอจึงขอรอฟังเหตุผลอย่างเป็นทางการก่อน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แอ๊ด-หงา-ปู" ประกาศจุดยืน ปล่อยเพลงต้านนโยบายกาสิโนเพื่อไทย
"หมอตุลย์" เดินหน้ายื่นปธ.วุฒิฯ ส่งคำร้องศาลรธน.วินิจฉัย "อุ๊งอิ๊ง" พ้นรมว.วัฒนธรรม พร้อมหยุดปฏิบัติหน้าที่
"นิพิฏฐ์" เตือน "แพทองธาร" เสี่ยงมาก เลี่ยงย้ายทำหน้าที่รมว.วัฒนธรรม ชี้คำร้องเรื่องคุณสมบัติ เป็นไปตามรธน.มาตรา 160
"อุตุฯ" เตือน 45 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง กทม.ไม่รอด ร้อยละ 70 ของพื้นที่
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) วนอุทยาน 'ไซห่านป้า' ผืนป่าฝีมือมนุษย์ใหญ่สุดในโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้ต้อนรับ 'นักท่องเที่ยวต่างชาติ'พุ่งสูง คนไทยติดอันดับ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) มวยไทย-ระบำเอ็งกอ ผูกโยงวัฒนธรรมไทย-จีน
ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ตามประเภทกิจการ พื้นที่กำหนด มีผลทันที
"หนุ่มถูกจับเมาขับ" หัวร้อน ทำร้ายตำรวจสิบเวรหน้าห้องขัง เหตุญาติไม่มาประกันตัว พาครอบครัวไหว้ขอขมาก่อนรับเพิ่ม 1 ข้อหา
"แม่ค้าก๋วยจั๊บ" สระบุรี  ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 รับ 6 ล้านบาท ดีใจแจกก๋วยจั๊บให้ชาวบ้านทานฟรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น