“ดาวเทียมเล็ก” THEOS-2 ไทยร่วมพัฒนา เตรียมส่งขึ้นอวกาศปี 66

ดาวเทียมเล็ก

"ดาวเทียมเล็ก" THEOS-2 ถึงประเทศไทยแล้ว สอดรับนโยบายอวกาศของรัฐบาล หลังร่วมพัฒนาโดยทีมวิศวกรไทยกว่า 20 คน เตรียมส่งขึ้นอวกาศต้นปี 2566

“ดาวเทียมเล็ก” ดาวเทียม THEOS-2 ดาวเทียม THEOS-2A  ดาวเทียมไทย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาล แจ้งข่าวที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวไทย เมื่อดาวเทียมเล็ก THEOS-2 ถึงประเทศไทยแล้ว หลังมีทีมวิศวกรไทยกว่า 20 คน ร่วมพัฒนากับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างดาวเทียมจากประเทศอังกฤษ ซึ่งดาวเทียมนี้จะเตรียมส่งขึ้นอวกาศในต้นปี 2566 นั่นเอง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก รัชดา ธนาดิเรก – รองโฆษกรัฐบาล ได้โพสต์ข้อความว่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ GISTDA แจ้งข่าวดี ดาวเทียมเล็ก ‘THEOS-2’ ที่พัฒนาโดยวิศวกรดาวเทียมไทยกว่า 20 คน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างดาวเทียมจากบริษัท Surrey Satellite Technology ประเทศอังกฤษ เป็นเวลากว่า 2 ปี เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว สอดรับนโยบายอวกาศของรัฐบาล

 

 

ดาวเทียม เล็ก ‘THEOS-2’ นี้ เป็นดาวเทียมสำรวจโลกดวงแรกของไทย มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม พร้อมด้วยระบบเซนเซอร์และกล้องถ่ายภาพ ประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพโลก กล้องถ่ายภาพดาวเทียม อุปกรณ์วัดสนามแม่เหล็กโลก อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหว อุปกรณ์วัดความเข้มของแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์จีพีเอส สามารถบันทึกภาพที่มีรายละเอียดประมาณ 1 เมตร ต่อ pixel เมื่อส่งขึ้นสู่อวกาศแล้ว จะโคจรรอบโลกวันละ 13-14 รอบ และผ่านประเทศไทย 3-4 รอบต่อวัน ขณะนี้ ดาวเทียมเล็ก ‘THEOS-2’ อยู่ระหว่างทดสอบระบบดาวเทียม ณ ศูนย์ประกอบและทดสอบดาวเทียม อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จนถึงเดือนธันวาคม 2565 ก่อนส่งขึ้นสู่อวกาศในต้นปี 2566

 

 

ดาวเทียมเล็ก

 

 

 

นอกจากนั้นทางด้านเพจเฟซบุ๊ก GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดาวเทียมตัวนี้ไว้ว่า ดาวเทียม THEOS-2A เป็นดาวเทียมที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม และสามารถบันทึกภาพที่มีรายละเอียดประมาณ 1 เมตร ต่อ pixel โคจรรอบโลกวันละ 13-14 รอบ และผ่านประเทศไทย 3-4 รอบต่อวัน เป็นดาวเทียมสำรวจโลกที่มีมาตรฐานระดับ industrial grade ดวงแรกของไทย วิศวกรดาวเทียมไทยกว่า 20 คน ออกแบบและพัฒนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างดาวเทียมจากบริษัท Surrey Satellite Technology หรือ SSTL ณ สหราชอาณาจักร เป็นเวลากว่า 2 ปี

 

 

ดาวเทียมเล็ก

 

ทีมผู้เชี่ยวชาญจาก SSTL ให้ทีมวิศวกรดาวเทียมไทยพัฒนา payload ที่ 3 เองทั้งหมด ควบคู่กับการพัฒนาดาวเทียม ตั้งแต่การเขียนแบบร่าง ออกแบบ พัฒนา และทดสอบ รวมถึงประกอบเข้ากับตัวดาวเทียม payload ที่ 3 ที่ว่าก็คือ ‘ระบบเซนเซอร์และกล้องถ่ายภาพ’ ประกอบด้วย

  • กล้องถ่ายภาพโลก
  • กล้องถ่ายภาพดาวเทียม
  • อุปกรณ์วัดสนามแม่เหล็กโลก
  • อุปกรณ์วัดการเคลื่อนไหว
  • อุปกรณ์วัดความเข้มของแสงอาทิตย์
  • อุปกรณ์จีพีเอส

 

โดยเน้นการสาธิตระบบการทำงานของอุปกรณ์ที่เป็น commercial off the shelf ที่มีราคาเหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาดาวเทียมในอนาคต ผู้ประกอบการในไทยมีส่วนร่วมที่สำคัญมาก ๆ กับการผลิตชิ้นส่วนสำหรับดาวเทียม THEOS-2A ดวงนี้ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริม เพิ่มศักยภาพ ยกระดับขีดความสามารถเพื่อเข้าสู่ Space Value Chain และแข่งขันได้ในระดับสากล

 

 

ดาวเทียมเล็ก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ให้การรับรอง นายกสมาคมภริยาทหารเรือ ในโอกาสนำคณะสมาคมวิเทศพานิชย์ไทย - จีน เข้าเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล กองทัพเรือ
“รมต.น้ำ” เดือด สัมภเวสีอ้างชื่อตบทรัพย์ “บอสพอล” ทะลึ่งลามปามถึงพ่อ
นายอำเภอบางละมุง นายกเมืองพัทยา บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจความพร้อมการจัดงานประเพณีลอยกระทง 2567
ท่าเรือแหลมฉบัง ใช้เทคโนโลยีโดรนสำรวจร่องน้ำ วิเคราะห์สาเหตุปัญหาการตื้นเขินของท่าเรือ
กองทัพเรือและชาวประมงรวมใจ เตรียมการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายปลากะตักแห้งและอาหารทะเลที่มีสารไอโอดีนโครงการตามพระราชดำริต่อต้านโรคขาดสารไอโอดีน “จากทะเลสู่เด็กดอย” ครั้งที่ 29
"กองปราบ" เค้นสอบ "พี่เมียทนายตั้ม" นาน 9 ชม. ปมเงิน 1 ล้านค่าเขียนแบบโรงแรมเจ๊อ้อย
พิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรทหารใหม่ ภาคสาธารณศึกษา ผลัดที่ 3/67
"กอ.รมน." จัดกิจกรรมนำทัพสื่อมวลชน ลงพื้นที่ชายแดน "ประจำปี 2567"
“เฉลิมชัย” หัวหน้าพรรคปชป. คาดโทษสมาชิกไม่ลงพื้นที่ ชี้ต้องพูดคุยกับประชาชน
"อนุทิน" สั่งเข้มวันลอยกระทง ห้ามจุดพลุ โคมลอย ยิงปืนขึ้นฟ้า ฝ่าฝืนลงโทษตามกฎหมายเด็ดขาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น