ยูเอ็นจัดไทยอยู่ในกลุ่มพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระดับสูงมาก

กรุงเทพฯ 4 ก.ค.- โฆษกรัฐบาลเผย นายกรัฐมนตรีเดินหน้าแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติเพื่อก้าวเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างสมบูรณ์ องค์การสหประชาชาติจัดไทยอยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระดับสูงมาก

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้วางแนวนโยบายและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อการก้าวเป็นรัฐบาลดิจิทัล ยกระดับความโปร่งใส ตรวจสอบได้หรือการเป็นรัฐบาลเปิด (Open Government) อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนและ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงเพิ่มการได้รับความเชื่อใจจากประชาชน (Public Trust)

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประจำปี 2020 หรือ UN E-Government Survey 2020 อันประกอบไปด้วยการประเมินระดับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศต่างๆ ใน 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Development Index: EGDI) ดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Participation Index: EPI) และดัชนีการให้บริการภาครัฐออนไลน์ในระดับท้องถิ่น (Local Online Service Index: LOSI) โดยผลการจัดอันดับดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี พ.ศ.2563 ไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 57 จาก 193 ประเทศ ซึ่งไทยได้รับตำแหน่งที่ดีขึ้นอย่างมาก จากอันดับที่ 73 ในปี 2561 และอันดับที่ 77 ในปี 2559 มีการพัฒนาในด้านการเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์การสหประชาชาติจัดไทยให้อยู่ในกลุ่มที่มีการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลในระดับสูงมากโดยหากพิจารณาในรายละเอียดแต่ละด้าน ไทยได้รับคะแนนด้านการให้บริการออนไลน์ (Online Service Index: OSI) และโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม (Telecommunication Infrastructure Index: TII) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในระดับอาเซียน ไทยอยู่ในอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ (อันดับที่ 11 ของโลก) และมาเลเซีย (อันดับที่ 47 ของโลก) ตามลำดับ

นายอนุชา กล่าวว่า ในรายงานฯ ได้เปิดเผยถึง ดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Participation Index: EPI) ซึ่งประเมินการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดทิศทางการทำงานของภาครัฐ ได้แก่ การเปิดช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น ในการกำหนดนโยบาย ร่างกฎหมาย การใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจน การร้องเรียนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ไทยได้รับการจัดให้อยู่อันดับที่ 51 ปรับตัวขึ้นมาจากอันดับที่ 82 ในปี 2561 ซึ่งคงเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ (อันดับที่ 6 ของโลก) และมาเลเซีย (อันดับที่ 29 ของโลก) ตามลำดับ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างเข้มข้น โดยได้กำหนดเป็นแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 จึงส่งผลให้ประเทศได้รับการยอมรับและการจัดอันดับที่ดีในเวทีโลก และพร้อมวางแนวทางสู่อนาคตอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'ทรายบำบัด' ในซินเจียง ดึงดูดคนรักสุขภาพ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเปลี่ยนสนามบินร้างเป็นสนามบินโดรนในเหอเฝย
สภา กทม. มีมติเลือก “เนติภูมิ รุ่งรุจิราลัย” ส.ก.เขตบึงกุ่ม เป็น รองประธานสภา กทม.คนที่ 1 เจ้าตัวขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ไว้วางใจ
วธ.ชื่นชม “เยาวชนคนดี” 6 นักเรียนฮีโร่ ช่วยหลวงตานั่งวีลแชร์ตกน้ำ เตรียมมอบเกียรติเชิดชู 6 เยาวชนคนดีต้นแบบสังคม-สะท้อนจิตสำนึกดีงามเยาวชนไทย
"สุดาวรรณ" อำลาตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ก่อนรับตำแหน่ง รมว.อว. ด้าน ปลัดวธ. นำ ขรก. ขอบคุณนำทัพขับเคลื่อน Soft Power - เศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม
"หมอพรทิพย์" จี้แทงใจดำ การเมืองไทยยึดผลประโยชน์ เหตุไร้ผู้นำที่ดีบริหารปท. สวนปาก #ingshin จะตำหนิใคร มองตัวเองก่อน
"วัดดังเพชรบูรณ์" จ้างแบคโฮรื้อ "โรงเจ" ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าขวาง เศษกระเบื้องหล่นใส่บาดเจ็บ ปมพิพาทยึดครองพื้นที่วัดนาน 10 ปี
"นกเพนกวิน 3 ตัว" มอบทุนการศึกษาผ่าน "มูลนิธิยังมีเรา-ท็อปนิวส์"
"กองทัพภาคที่ 2" แจงปมคลิปทหารเขมรโวยทหารไทย เป็นคลิปเก่า เหตุเรื่องเวลาเปิด-ปิด "ปราสาทตาเมือนธม" แต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน
ต่างชาติจับตาไทยจะมีรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น