No data was found

“ฝีดาษลิง” 2565 จะพบระบาดในไทยไหม พาหะ สัตว์ 3 ชนิดต้องระวัง

วัณโรค, วัคซีน, หมอยง, ฝีดาษลิง, ฝีดาษลิง 2565, ฝีดาษวานร 2022, ฝีดาษวานร, ไข้ทรพิษ, หนู, กระต่าย, กระรอก, โรคประจำถิ่น, แอฟริกา, เพศสัมพันธ์

กดติดตาม TOP NEWS

"ฝีดาษลิง" ประเทศไทยเริ่มปลูกฝีน้อยลงตั้งแต่ปี 2517 จนเลิกเด็ดขาดปี 2523 เช็คดูแผลเป็นที่หัวไหล่บอกอะไร จะพบระบาดในไทยไหม พาหะ สัตว์ 3 ชนิดต้องระวัง

“ฝีดาษลิง” 2565 ฝีดาษวานร 2022 จะพบในประเทศไทยไหม หมอยง ระบุ สิ่งสำคัญที่ต้องระวัง เผย ความยุ่งยากในการควบคุมโรค พร้อมเปิด ประสิทธิภาพ วัคซีน 3rd generation ฉีดใต้ผิวหนัง สร้างภูมิ ไม่เกิดตุ่มหนอง เมื่อปี 2523 ไทยเลิกปลูกฝีเด็ดขาด ลองเช็คดูแผลเป็นที่หัวไหล่ บอกอะไร รายละเอียด ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ Yong Poovorawan ระบุ ฝีดาษวานร 2022 ความยุ่งยากในการควบคุมโรคฝีดาษวานร “ฝีดาษลิง” ที่ระบาดในปีนี้ คือ

 

  1. อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบ ไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย
  2. ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก 30% เกิดในที่ลับ บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์
  3. โรคนี้ติดต่อ เกี่ยวข้องกับ เพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
  4. ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน
  5. ถ้าเชื้อฝีดาษวานร ที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก นำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น

 

“ขณะนี้ โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยง ที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป”

 

 

 

 

วัณโรค, วัคซีน, หมอยง, ฝีดาษลิง, ฝีดาษลิง 2565, ฝีดาษวานร 2022, ฝีดาษวานร, ไข้ทรพิษ, หนู, กระต่าย, กระรอก, โรคประจำถิ่น, แอฟริกา, เพศสัมพันธ์

 

ลักษณะของผื่น ตุ่มน้ำใส และตุ่มหนอง และที่แบนราบ รวมทั้งที่อยู่ใต้เล็บ ที่พบในคนติดเชื้อเจ็ดรายในประเทศอังกฤษในปี 2018 และ 2019 โดยเดินทางจากประเทศไนจีเรียสี่รายและมีการแพร่ไปยังคนในประเทศอังกฤษต่ออีกสามราย
และน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มเห็นการแพร่จากคนสู่คนได้ชัดเจน ทั้งนี้ รายงานผู้ป่วยเจ็ดราย และรูปภาพทั้งหมดปรากฏในวารสาร Lancet Infectious Disease (24/5/2022) บทความนี้เข้าอ่านแบบ open access

 

 

 

 

วัณโรค, วัคซีน, หมอยง, ฝีดาษลิง, ฝีดาษลิง 2565, ฝีดาษวานร 2022, ฝีดาษวานร, ไข้ทรพิษ, หนู, กระต่าย, กระรอก, โรคประจำถิ่น, แอฟริกา, เพศสัมพันธ์

 

ข้อมูลในประเทศอังกฤษ ฝีดาษลิง ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 26 พฤษภาคม พบ 101 ราย รวมกับสกอตแลนด์เวลและไอร์แลนด์เหนือจะเป็น 106 ราย ข้อมูล และ รูป จาก UK health security agency

 

 

 

 

 

ฝีดาษวานร วัคซีน 3rd generation

 

หมอยง ระบุ วัคซีนดังกล่าว ใช้สายพันธุ์ Vaccinia มาดัดแปลงพันธุกรรม (Modified Vaccinia Ankara) ผลิตโดย Bavarian Nordic ใช้ชื่อ MVA-BN เป็นไวรัสมีชีวิต ทำให้อ่อนฤทธิ์ ไม่สามารถแบ่งตัวได้

 

  • ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง สร้างภูมิต้านทาน ไม่เกิดตุ่มหนอง
  • ประสิทธิภาพ เท่าเทียมกับวัคซีนในอดีต
  • ให้ได้ในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
  • ไม่เป็นข้อห้ามเด็ดขาดในสตรีตั้งครรภ์ (ไวรัสไม่สามารถแบ่งตัวได้) ให้ได้ในแม่ที่กำลังให้นมบุตร
  • ต่างกับวัคซีนใน Generation ที่ 1 และ 2 ที่ใช้ปลูก วัคซีนนี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนัง 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์
  • ผู้ที่ปลูกฝีมาแล้ว ให้ครั้งเดียว
  • ผู้สัมผัสโรค ให้ภายใน 4 วัน ป้องกันการติดเชื้อได้ หรือลดอาการโรคลง
  • ในยุโรป (Imvanex) ในอเมริกา (Jynneos) ยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียน มาใช้ในประเทศไทย

 

 

 

 

วัคซีนป้องกันฝีดาษ ประเทศไทยเลิกปลูกฝีเมื่อใด

 

หมอยง ระบุ ผมเองจบแพทย์ในปี พ.ศ. 2517 และได้เรียนทางเด็กต่อ ในปี พ.ศ. 2518 ก็ไม่ได้มีการปลูกฝีในโรงพยาบาลจุฬาฯ แล้ว หลานผมเกิดในปี 2518 , 2520 และลูกเกิด มกราคม 2523 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคอย่างเดียว ไม่ได้ปลูกฝีแล้ว ดังแสดงในรูป

 

 

 

 

วัณโรค, วัคซีน, หมอยง, ฝีดาษลิง, ฝีดาษลิง 2565, ฝีดาษวานร 2022, ฝีดาษวานร, ไข้ทรพิษ, หนู, กระต่าย, กระรอก, โรคประจำถิ่น, แอฟริกา, เพศสัมพันธ์

 

 

 

 

“ผมอยู่ในเหตุการณ์ตลอด และยังได้เคยปลูกฝีให้กับเด็กด้วยในช่วงจบใหม่ ๆ ยังจำได้ มาทำคลินิกแถวตรอกจันทร์ ในปี 2521 คนจีนมักจะถามว่า ทำไมเดี๋ยวนี้ไม่ปลูกฝีแล้วหรือ” หมอยง เผยและบอกต่อว่า การปลูกฝีเป็นที่ยอมรับของคนจีนเป็นอย่างมาก อเมริกาและยุโรป เลิกปลูกฝีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ต้น หรือประมาณ 2513 ถึง 2514 ประเทศไทยเลิกปลูกฝีในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ ประมาณปี 2517 ถึง 2518 แต่ขณะนั้นยังเลิกไม่ได้เด็ดขาด แต่การปลูกลดน้อยลงมาก เพราะไม่มีโรคฝีดาษในประเทศไทยมานานมาก ให้ดูแผลเป็นที่หัวไหล่ ถ้ามีการปลูกฝีและป้องกันวัณโรค จะมี 2 แผลเป็น

 

 

 

 

วัณโรค, วัคซีน, หมอยง, ฝีดาษลิง, ฝีดาษลิง 2565, ฝีดาษวานร 2022, ฝีดาษวานร, ไข้ทรพิษ, หนู, กระต่าย, กระรอก, โรคประจำถิ่น, แอฟริกา, เพศสัมพันธ์

 

 

 

 

ประเทศสุดท้ายที่มีโรคฝีดาษ คือ ประเทศโซมาเลีย ในปี พ.ศ. 2520 และองค์การอนามัยโลกประกาศยกเลิกการปลูกฝี และถือว่าได้กวาดล้างโรคฝีดาษให้หมดไปแล้วในปี 2523 ทั่วโลกจึงได้มีการยกเลิกการปลูกฝีอย่างเป็นทางการ ประชากรในยุโรปและอเมริกาที่อายุเกินกว่า 50 ปี จึงไม่ได้รับการปลูกฝี ส่วนสำหรับประเทศกำลังพัฒนาเลิกปลูกฝี มาประมาณ 40 ปี ประเทศไทยเลิกก่อน โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และไปเลิกเด็ดขาดตามองค์การอนามัยโลก ในปี 2523

 

 

 

 

 

“ฝีดาษลิง” จะพบในประเทศไทยไหม

 

หมอยง โพสต์ ระบุ ฝีดาษวานรที่กำลังระบาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน มีผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วร่วม 600 คน ในประเทศต่างๆเกือบ 30 ประเทศแล้ว การแพร่กระจายครั้งนี้เป็นการแพร่กระจายนอกทวีปแอฟริกาที่มากที่สุด ผู้ป่วยเกือบทั้งหมด เป็น

 

  • เพศชาย (98%)
  • เพศหญิง (แท้) น้อยมาก

 

ต่างจากการระบาดในแอฟริกาจะเป็น เพศชาย ประมาณ 2 ใน 3 เป็น เพศหญิง ประมาณ 1 ใน 3 อายุที่ระบาดในครั้งนี้จะอยู่ระหว่าง 20 ถึง 50 ปี ซึ่งต่างจากในแอฟริกา พบทั้งเด็กและผู้ใหญ่

 

หมอยง ระบุและบอกอีกว่า การระบาดในครั้งนี้มีการแพร่กระจายมาก จาก การเฉลิมฉลอง ที่มีการจัดขึ้นที่ สเปน และ เบลเยียม และสถานซาวน่า ใน สเปน และ โปรตุเกส ประเทศที่พบโรคนี้มากที่สุดคือประเทศสเปน รองลงมาคือ อังกฤษ และ โปรตุเกส

 

“รอยโรคที่พบ จะพบอยู่ในร่มผ้า หรือบริเวณที่ลับ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยในแอฟริกา” หมอยง บอกต่อว่า การเฉลิมฉลองเทศกาลมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด จึงเป็นปัจจัยหนึ่งในการสัมผัสและติดต่อโรค

 

จากข้อมูลทั้งหมด ประเทศไทยจึงเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคนี้ ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่อำนาจการกระจายของโรคยังต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับโควิด โอกาสที่จะระบาดใหญ่แบบโควิดจึงไม่มี จะระบาดอยู่จำเพาะกลุ่ม

 

สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือ คนกับสัตว์เลี้ยง ถ้าคนนำเชื้อฝีดาษวานรไปให้สัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงจะเป็นพาหะและนำไปสู่สัตว์ประจำถิ่นโดยเฉพาะ หนู กระต่าย กระรอก แล้วเมื่อนั้นจะเป็นโรคประจำถิ่น

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"บุ้ง" อดอาหาร 91 วันแล้ว ล่าสุดแน่นหน้าอก ชามือเท้า ปวดขามาก
คดีสะเทือนขวัญ ตร.เร่งล่าตัว 2 หนุ่มญี่ปุ่น ฆ่าหั่นศพเพื่อนร่วมชาติ หนีซุกประเทศเพื่อนบ้าน
มีหนาว! สะเทือน "คณะก้าวหน้า" ทำ "ธนาธร" สะดุ้งโหยง "กกต."จ่อฟันเคมเปญชี้ชวนหาแนวร่วมสมัคร ส.ว. จี้ยุติการกระทำทันที
"วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการทุกแพลตฟอร์ม 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนง. 100 กว่าชีวิต
"พิพัฒน์" ห่วงร้อนจัดทำร้ายแรงงาน ฝาก 6 ข้อเตือนระวังคุณภาพชีวิต
กกต.เตือนกลุ่มบุุคคล-องค์กร จูงใจเชิญชวนให้คนลงสมัครสว. เสี่ยงทำผิดกฎหมาย
เปิดคลิปวินาที สุดกร่าง "ผู้บริหารหญิง" บ.ระดับโลก เมาแล้วขับ ด่าตร.ชั้นต่ำ แถมถีบหน้า
"พิพัฒน์" รุกพัฒนาแรงงานโลจิสติกส์ รับธุรกิจขนส่ง-การค้าระหว่างปท.ขยายตัว
เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา รัฐควรบังคับเอกชนใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับทุกรายเท่าเทียม
"สหพัฒน์" จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติจ่ายปันผลหุ้นละ 2.00 บาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น