No data was found

เปิดข้อมูลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีชมพู สวนปาก “ยุทธพงศ์”

กดติดตาม TOP NEWS

ยังคงเป็นนักการเมืองสายค้านได้ทุกเรื่อง แต่หลายเรื่องนำเสนอโดยขาดข้อมูล ข้อเท็จจริง อย่างสิ้นเชิง สำหรับนายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย (พท.) และรองหัวหน้าพรรคฯ หลังล่าสุดใช้เวทีพรรคเพื่อไทย แถลงประเด็นซักฟอกรัฐบาล และอ้างไปถึงเรื่องการอนุมัติเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีชมพู ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มเจ้าสัว พร้อมระบุด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ต้องโดนอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม เพื่อความถูกต้องของข้อมูล ข้อกล่าวหาของ นายยุทธพงศ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เกี่ยวกับโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพู Top News ขอแจกแจงรายละเอียดสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสีชมพู ดังนี้

เริ่มจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินงานรถไฟฟ้าสายสีชมพูในรูปแบบ PPP Net Cost คือ ภาครัฐจะเป็นผู้ลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน แ ละภาคเอกชนลงทุนค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมทั้งบริหารเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ วงเงินลงทุน 53,490 ล้านบาท แบ่งเป็น รัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 6,847 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธา 21,381 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 25,262 ล้านบาท

จากนั้นก็มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป ตั้งแต่ วันที่ 6 ก.ค.-5 ส.ค. 2559 ปรากฎว่ามีเอกชนสนใจติดต่อขอซื้อเอกสาร ข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี จำนวนทั้งสิ้น 16 ราย

จากนั้นในวันที่ 7 พ.ย. 2559 รฟม. ได้กำหนดเปิดรับซองข้อเสนอ โดยมีเอกชนยื่นซองข้อเสนอการร่วมลงทุนฯ สายสีชมพูฯและสายสีเหลืองฯ จำนวน 2 ราย คือ 1.กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTS Group), บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ 2. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) BEM ซึ่งมีบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทแม่

โดยปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอทั้ง 2 กลุ่ม ผ่านการพิจารณาด้านคุณสมบัติและเทคนิค จากนั้นได้เปิดข้อเสนอซองที่ 2 ด้านการลงทุนและผลตอบแทน เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2559 ก่อนสรุปให้กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกด้วยคะแนนสูงสุด

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นระบบขนส่งมวลชนสายรองประเภทรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแบบคร่อมราง (Straddle Monorail) สายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างเป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นโครงการที่ถนนรัตนาธิเบศร์บริเวณด้านหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ไปสิ้นสุดที่ทางแยกร่มเกล้าบริเวณซอยรามคำแหง 192 รวมระยะทางประมาณ 34.5 กิโลเมตร มีสถานีรับส่งผู้โดยสาร 30 สถานี ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟฟ้าจะผ่านที่พักอาศัย สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และศูนย์การค้าหลายแห่ง

และ กลุ่มบีเอสอาร์ ได้ขอรับเงินสนับสนุนโครงการจากภาครัฐฯ 22,500 ล้านบาท และกลุ่มบีเอสอาร์ลงทุนเอง 30,990 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ระยะยาวจาก ธนาคารกรุงเทพ , ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์ 31,680 ล้านบาท และเป็นหุ้นกู้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) 6,500 ล้านบาท

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมา รฟม. ได้ศึกษารายละเอียดความเหมาะสม โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี โดยพบว่า ถ้ามีการขยายเกิดขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ สายหลัก ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรได้อีกทางหนึ่ง จึงได้เสนอโครงการฯ ตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จ

ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี และที่ประชุมครม. ได้มีมติเห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 สำหรับแผนการสร้างส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี วงเงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านบาท โดยผู้รับสัมปทาน หรือ บริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ซึ่งอยู่ในกลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ เป็นผู้รับสัมปทานโครงการ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ทั้งนี้ส่วนต่อขยาย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีการออกแบบให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูสายหลักฯ โดยเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Straddle Monorail) ที่มีสมรรถนะสูงรูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของประเทศไทย ที่จะมาเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการย่านแคราย-มีนบุรี ใช้รถ Bombardier INNOVIA Monorail 300

จัดว่าเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรลไร้คนขับสายแรกของประเทศไทย ใช้ความเร็วสูงสุด 80 กม./ชม. รูปแบบขบวนรถไฟ 4 ตู้ต่อขบวน ความจุผู้โดยสาร 17,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง พร้อมจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสที่วงเวียนหลักสี่ สายสีแดงที่วิภาวดีรังสิต และรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี

ลักษณะโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับตลอดแนวเส้นทาง มีจุดเริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณสถานีศรีรัชของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูสายหลักฯ ไปทางทิศตะวันตก และเลี้ยวขวาเข้าสู่พื้นที่เมืองทองธานีไปตามซอยแจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 39 แนวทางเดียวกันกับทางพิเศษอุดรรัถยา ผ่านสถานี MT-01 บริเวณวงเวียนหน้าอาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์ก่อนต่อเนื่องไปยังจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณทะเลสาบเมืองทองธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานี MT-02 รวมระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร

ประเด็นสำคัญภายใต้การพิจารณาขณะนั้น มีหลักการว่าภาครัฐจะได้รับสิทธิและผลตอบแทนที่ดีกว่าเงื่อนไขเดิม และเมื่อโครงการฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2567 จะเสริมศักยภาพการจราจรได้เป็นอย่างดี โดยประมาณการว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารตามคาดการณ์ 1 3,785 คน/เที่ยว/วัน ประเมิน ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ หรือ EIRR ร้อยละ 12.9 ผลตอบแทนด้านการเงิน หรือ FIRR ร้อยละ 7.1

และ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ฉบับแก้ไข กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (NBM) ซึ่งมี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

 

 

 

จากข้อมูลทั้งหมด Top News อยากให้ร่วมกันพิจารณาถึงข้อมูลของ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ออกวิพากษ์วิจารณ์ โครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า สายสีชมพู เป็นการ บิดเบือนกล่าวหา ภาคเอกชน เพื่อเป็นการโจมตีรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือไม่ อย่างไร เพราะถ้าใครไปศูนย์ประชุมต่าง ๆ ภายในเมืองทองธานี หรือ ผู้มีบ้านพักอาศัย ภายในเมืองทองธานี คงจะเข้าใจดีถึงปัญหาการจราจรที่เกิดขึ้น และถ้าโครงการรถไฟฟ้าเกิดขึ้น จะช่วยอำนวยความสะดวกได้แค่ไหน

อีกประเด็นสำคัญคือ โครงการนี้มีการอนุมัติดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 2564 แต่ปรากฎว่าแกนนำพรรคเพื่อไทย เพิ่งกลับมาใช้เคลื่อนไหวทางการเมือง จึงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า สุดท้ายกรณีนี้ใครจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์กันแน่ !!

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

องค์บุญแห่งล้านนา ครูบาธรรมชัย เจ้าอาวาสวัดศรีพันต้น ทอดผ้าป่า ยกช่อฟ้า ทำพิธีไม้ค้ำจุน ศิลปิน ดารา นักร้องศิษยานุศิษย์พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศเข้าร่วมพิธี เป็นจำนวนมาก
“ภูมิธรรม” ยันเพื่อไทยไม่คิดเปลี่ยนประธานสภาฯ ที่ผ่านมา “วันนอร์” ทำหน้าที่ได้ดี สมเกียรติ
รวบ ป้ามหาภัย ตะเวน กรีดกระเป๋า นทท.ตามแหล่งท่องเที่ยว
ปรับครม.เศรษฐา 2 เขย่าบัลลังก์ "วันนอร์" ระส่ำ! "พิชิต-ชูศักดิ์" แย่งเข้าวิน "มือกฎหมายรัฐบาล"
สาวร้อยเอ็ด คิดสั้นผูกคอหวังปลิดชีพตัวเองคาห้องพัก
วันไหลทับไทร สนั่นเมือง รถแห่รถเครื่องเสียงกว่า100 คัน สร้างความบันเทิงชุ่มฉ่ำ
ลุ้น ราคาน้ำมันดีเซล วันพรุ่งนี้ ทะลุ 31 บาทต่อลิตร หรือไม่ หลังครม.ไม่ต่ออายุลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน
CNN ยัน "อิสราเอล"โจมตีทางอากาศ"อิหร่าน"ยันไม่กระทบโรงงานนิวเคลียร์
“นายกฯ” ย้ำไม่มีปัญหาพรรคร่วมฯ ยึดผลงานเกณฑ์ปรับครม.
หวั่นสงครามอิสราเอล-อิหร่าน "ราคาทองคำ" วันนี้พุ่งพรวด 550 บาท น้ำมันโลกปรับเพิ่มทันทีกว่า 3 %

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น