No data was found

รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิดมาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ลดหนี้ครัวเรือน ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด

กดติดตาม TOP NEWS

รมว.สุชาติ ร่วมเวทีถามมา – ตอบไปฯ เปิดมาตรการ ลดเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ ลดหนี้ครัวเรือน ดูแลแรงงานรับเศรษฐกิจใหม่หลังโควิด

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ “ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับสวัสดิการ”หนี้ครัวเรือน แรงงาน ภายใต้การประชุมเสวนา “Better Thailand Open Dialogue ถามมา – ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม” โดยมี นางธิวัลรัตน์ อังกินันทน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายสุทธิ สุโกศล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน เข้าร่วมด้วย ณ รอยัล พารากอน ฮอล์ สยามพารากอน ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

นายสุชาติ ได้กล่าวถึงมาตรการช่วยเหลือแรงงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลกระทรวงแรงงาน ได้มีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานทุกคนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งผู้ประกอบการต่อสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้มีมาตรการรักษา เยียวยา ฟื้นฟู และบริหารจัดการแรงงาน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ เพื่อเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย รักษาและกระตุ้นการจ้างงาน ให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานสามารถมีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ และนายจ้างสามารถประกอบธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้ ผ่านโครงการต่าง ๆ ได้แก่ การใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างเยียวยาลูกจ้างที่ไม่ได้รับเงินตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานปล่อยกู้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการและในรัฐวิสาหกิจเพื่อนำไปปล่อยกู้ต่อให้กับแรงงานที่เป็นสมาชิก เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานถูกเลิกจ้าง ลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้าง ปล่อยสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่สถานประกอบการ โครงการ ม33 เรารักกัน โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน เปิดจุดตรวจโควิด – 19 เปิดสายด่วน 1506 กด 6 ประสานจัดหาเตียง Hospitel ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด – 19 ผู้ใช้แรงงาน โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน ลดอัตราเงินสมทบแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 ,39,40 เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบการอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs โครงการ Factory Sandbox บริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในสถานประกอบกิจการ เป็นต้น

นายสุชาติ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานยังมีการบริหารจัดการให้แรงงานนอกระบบได้รับการคุ้มครอง และการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน เพื่อรองรับตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต โดยได้เสนอ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่แรงงานนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ได้รับการคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคม และรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรได้ การปรับปรุงกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เป็นกองทุนแรงงานนอกระบบเพื่อให้แรงงานได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น ในด้านการส่งเสริมการมีงานทำได้เตรียมตำแหน่งงานว่างทั้งในประเทศและต่างประเทศเกือบ 3 แสนอัตรา ผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นไทยมีงานทำ พร้อมพบปะผู้นายจ้างประกอบการเพื่อรักษาตลาดเดิม ขยายตลาดแรงงานใหม่จัดส่งคนไทยไปทำงานไปยังต่างประเทศมากขึ้น อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดีอาระเบีย

 

 

 

ในด้านการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน ได้ยกระดับและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน Up Skill Re – Skill และ New –Skill ฝึกอบรมการประกอบอาชีพผ่านระบบออนไลน์ การจัดหาแรงงานและพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคมตามแนวทางแผนการปฏิรูปประกันสังคม เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จ บำนาญชราภาพ เป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ และนำเงินกรณีชราภาพที่ตนเองสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วนได้ ตลอดจนรองรับสังคมผู้สูงอายุอีกด้วย

“กระทรวงแรงงาน มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในทุกมิติ ด้วยการพัฒนาสมรรถนะแรงงานให้มีทักษะฝีมือที่สูงขึ้น มีงานทำ มีอาชีพ มีรายได้ที่เหมาะสม ได้รับความคุ้มครอง มีหลักประกันทางสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจใหม่และสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและนโยบายเปิดประเทศฟื้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายหลังโควิดคลี่คลาย”นายสุชาติ กล่าวท้ายสุด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตะวันออกกลาง ยังไม่พ้นขีดน่ากังวล
สุดระทึก "สหรัฐฯ" เกิดกราดยิงกลางงานกิจกรรม นร.นับร้อยหนีเอาชีวิตรอด พบบาดเจ็บ 5 ราย
จับตาคดีสำคัญ สัปดาห์หน้านัดชี้ชะตา "สามนิ้ว" หลายคดี "เพนกวิ้น-โตโต้-แอมมี่" ลุ้นคดีอาญา มาตรา 112
อ่วมหนัก "พายุฤดูร้อน" ซัดกระหน่ำอย่างรุนแรง ทำบ้านเรือน ปชช. เสียหายกว่าร้อยหลังคาเรือน
ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคตะวันออก และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ฉะเชิงเทรา จัดแถลงข่าว โครงการ วิ่งในสวนของพ่อ ครั้งที่ 2 RUN IN DAD’s GARDEN” เพื่อหารายได้ร่วมสมทบทุนจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
หนุ่มไม่มีเงินกินข้าว หลังมือถือตกน้ำ สุดปลื้มใจ "กู้ภัย" ทุ่มสุดตัวงมหาจนเจอ
"ทหารเมียนมา" ปะทะ "ทหารกะเหรี่ยง" บริเวณฝั่งตรงข้าม สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 "ชาวเมียวดี" เตรียมอพยพเข้าไทย หากสถานการณ์รุนแรง
“วราวุธ” ยังไม่รับสัญญาณปรับครม.จากนายกฯ ลั่นไม่กลัวพรรครุ่นใหม่ มั่นใจทำงานสู้ได้
"สนามบินสุวรรณภูมิ" ขึ้นอันดับ 58 สนามบินดีที่สุดในโลกปี 2024 ขยับจากเดิม 10 อันดับ
"พิพัฒน์" เดินหน้าแก้ปัญหากองทุนประกันสังคม คุยบล.ญี่ปุ่นหาช่องเพิ่มรายได้ นำใช้เพิ่มประโยชน์แรงงาน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น