No data was found

“นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ” อธิบายชัด ทำไมราคาหมูถึงแพง?

กดติดตาม TOP NEWS

"นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ" อธิบายชัด ทำไมราคาหมูถึงแพง?

ปัญหาราคาหมูแพงตั้งแต่ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ลากยาวมาจนถึงขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อประชาชนทุกย่อมหญ้า ทั้งภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ เพราะจากเดิมราคาหมูหน้าเขียงไม่เกิน 120 บาทต่อกิโลกรัม ก็ปรับสูงขึ้นมากว่า 220-250 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ คาดการณ์ว่า ราคาหมูมีโอกาสที่จะทะลุ 300 บาทต่อกิโลกรัม ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ราคาหมูแพงในช่วงนี้ นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้ชี้ชัดๆว่า สาเหตุมาจาก
1.ปริมาณผลผลิตหมูในตลาดปรับลดลง 50% จากปริมาณการบริโภคเฉลี่ยวันละ 40,000 ตัว ส่วนสาเหตุหลักที่ทำให้ปริมาณหมูลดลง มาจากโรคระบาดในหมูหลายโรค ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตหมูมา 2 ปีแล้ว

2.ต้นทุนการเลี้ยงจากราคาอาหารสัตว์ปรับสูงขึ้นกว่า 30% ทั้งวัตถุดิบข้าวโพด-กากถั่วเหลือง-มันสำปะหลังปรับสูงขึ้นหมด ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงเฉพาะค่าอาหารเฉลี่ย 8,000 บาทต่อกิโลกรัม

3.ต้นทุนแฝงจากการป้องกันโรคระบาดหมูเพิ่มขึ้นมาอีกเฉลี่ย 500 บาทต่อตัว ส่งผลให้ผู้เลี้ยงหมูต้องหยุดการเลี้ยงไปกว่า 80-90% คิดเป็นสัดส่วนการเลี้ยงของรายย่อย 20% ของทั้งประเทศ ขณะที่รายใหญ่เลี้ยงอยู่ประมาณ 80%

ล่าสุดรัฐบาลได้คลอดมาตรการออกมาแก้ปัญหาราคาหมูแพงแล้ว โดยมีทั้งมาตรการระยะเร่งด่วน มาตรการระยะสั้น และมาตรการการแก้ไขปัญหาระยะยาว

สำหรับมาตรการเร่งด่วน ได้แก่

1.ห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2565 ถึง วันที่ 5 เมษายน 2565 เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหมูภายในประเทศ และจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ โดยตัวเลขเบื้องต้นในปี 2564 มีการเลี้ยงหมูป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว

2.ช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี ,การจัดสินเชื่อพิเศษของ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้กลับมาเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ความเสี่ยงต่อโรคระบาดต่ำ การตรึงราคาจำหน่ายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนที่เกิดขึ้น

3.เร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตสุกร เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและมาตรการที่เหมาะสม พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตแม่สุกรทดแทน โดยให้เกษตรกรใช้สุกรขุนตัวเมียมาใช้ทำพันธุ์ชั่วคราว เร่งเจรจาฟาร์มรายใหญ่ในการกระจายพันธุ์และลูกสุกรขุนให้กับรายย่อยและเล็กที่ต้องการกลับเข้ามาสู่ระบบใหม่ กำหนดโซนเลี้ยงและออกมาตรการบังคับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมโรค และเร่งรัดการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค

มาตรการระยะสั้น ได้แก่ ส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ การขยายกำลังผลิตแม่สุกร สนับสนุนศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ ในสังกัดกรมปศุสัตว์และเครือข่ายคู่ขนานกับฟาร์มเกษตรกรและภาคเอกชน เร่งศึกษาวิจัยยาและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาด

มาตรการระยะยาว กระทรวงเกษตรฯจะผลักดันการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาด ส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม หรือ GFM มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงสุกรใหม่ เพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค สนับสนุนการเลี้ยงโดยจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. ในโครงการสานฝันสร้างอาชีพ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเพื่อช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว

มาตรการทั้งสามระยะ รัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะทำให้ราคาเนื้อหมูกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ดี สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ได้เสนออีกแนวทางคือ ให้มีการตั้ง “กองทุนฟื้นฟู” ขึ้นในอุตสาหกรรมนี้ โดยใช้โมเดลเรียกเก็บ “ค่าธรรมเนียมพิเศษ” หรือ Surcharge จากผู้ผลิตอาหารสัตว์ หรือผู้นำเข้าชิ้นส่วนต่าง ๆ ของหมู และนำเงิน Surcharge มาใช้ฟื้นฟูเกษตรกรรายย่อย แต่ขณะนี้ยังไม่ตกผลึกว่าจะเก็บเท่าไร เงินตั้งต้นกองทุนต้องเป็นเท่าไหร่

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ศุภชัย-ณัฏฐ์ชนน" ยันจุดยืนภูมิใจไทย เดินหน้าหนุนกม.กัญชาเพื่อการแพทย์ ต่อยอดเศรษฐกิจ มั่นใจผ่านสภาฯ
“อนุทิน” มอบ “ศุภชัย” เข้าพบ จุฬาราชมนตรี หารือ อำนวยความสะดวก ชาวไทยมุสลิม 8 พันคน เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์
ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ "พระธรรมวชิรมุนี-พระธรรมวัชรบัณฑิต" ขึ้นเป็นรองสมเด็จฯ
สาธุ "สามเณร 8 ขวบ" สอบผ่าน "ปาติโมกข์" ท่องจบภายใน 55 นาที
สามีทะเลาะภรรยา แม่ยายฉุนขาด คว้ามีดแทงลูกเขยดับสลด เจ้าตัวเล่าหมดเปลือกถึงเหตุลงมือ
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นำ 4 ประกอบการรับกำจัดของเสียรายใหญ่ สำรวจกากสารเคมีในโกดังที่ถูกไฟไหม้ของโรงงานวินโพรเสส จ.ระยอง
ตม.ชลบุรี ปิดล้อมตรวจค้นแหล่งที่พักต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง หนีภัยสงคราม
"รองปลัดคมนาคม" นำตรวจทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ เชื่อมรถไฟฟ้าชมพู-ม่วง เสร็จพร้อมใช้แล้ว
เดือดร้อน ! ผู้รับเหมาทิ้งงานก่อสร้างถนน ทำชาวบ้านเดินทางลำบากหวั่นเกิดอุบัติเหตุ
“รทสช.” ขออย่าโยงปม “บุ้ง” เสียชีวิต เหมารวมต้องนิรโทษฯคดี 112 ซัดหาคนบงการ ยุยงคนทำผิดกม.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น