logo

สธ.ชี้แจงดราม่า การแสดงความยินดีหลังฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส โดยไม่คำนึงถึงผู้เสียชีวิต

สธ.ชี้แจงดราม่า การแสดงความยินดีหลังฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส โดยไม่คำนึงถึงผู้เสียชีวิต

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบ 100 ล้านโดส โดยไม่คำนึงถึงผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด 19 และควรเตรียมรับมือเชื้อโอมิครอน ว่า การฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้ถึงเป้าหมาย 100 ล้านโดส หรือประมาณ 50 ล้านคน เป็นภารกิจที่ต้องดำเนินการแข่งกับเวลา เนื่องจากในสถานการณ์การระบาดต้องพยายามฉีดวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นโดยเร็ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องปกติที่ทำได้ทั่วไป แต่ต้องอาศัยกำลังกาย กำลังใจและความทุ่มเทของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่ต้องทำไปพร้อมกับการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 และโรคอื่น ๆ ด้วย การชื่นชมยินดีที่บุคลากรสาธารณสุขสามารถฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย ถือเป็นสิ่งดี ๆ ที่ผู้บริหารสามารถทำให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้ และเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่ทำงานอย่างทุ่มเทมาต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิค 19 และเริ่มฉีดวัคซีนเข็มแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564

นพ.ธงชัยกล่าวต่อว่า สำหรับการเตรียมรับมือกับสถานการณ์ “โอมิครอน” ขณะนี้ได้มีการชะลอการเข้าประเทศในระบบ Test & Go เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของผู้เดินทางที่อยู่ในระยะฟักตัวของโรค พร้อมกับเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น รวมถึงจัดบริการวัคซีนเชิงรุกให้ประชากรทุกกลุ่มทั้งคนไทยและคนต่างชาติ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายพื้นที่เข้าถึงยาก ทั้งผู้ป่วยติดเตียง ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร แรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดน เป็นต้น ส่วนด้านการรักษาพยาบาล มีการเตรียมความพร้อม โดยทั้งประเทศมีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิคมากกว่า 2 แสนเตียง ปัจจุบันใช้อยู่ประมาณ 3 หมื่นเตียง ยังมีเตียงเพียงพอรองรับหากเกิดการระบาด และมีการหารือกับภาคีเครือข่ายทุกสัปดาห์ให้เตรียมความพร้อมตลอดเวลา รวมถึงจัดระบบการดูแลรักษาที่บ้านและชุมชน เนื่องจากคนไข้ส่วนใหญ่มีอาการไม่มาก สำหรับยารักษา ขณะนี้ยังมียาฟาวิพิราเวียร์คงเหลือมากกว่า 16.2 ล้านเม็ด และสามารถผลิตภายในประเทศได้แล้วโดยองค์การเภสัชกรรม และมียาเรมเดซิเวียร์ 4.5 หมื่นขวด รวมถึงได้สั่งซื้อและจองทั้งยาโมลนูพิราเวียร์ ยาแพกซ์โลวิดแล้ว พร้อมทั้งกำลังปรับปรุงแนวทางรักษาโรคให้เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงยาและอุปกรณ์อื่น มีสำรองไม่น้อยกว่า 3 เดือน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ ยังเป็นมาตรการส่วนบุคคล ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ซึ่งจะช่วยป้องกันโควิด 19 ได้ทุกสายพันธุ์

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อัปเดตอาการ "น้องการ์ตูน" หลังเข้า ไอซียู ด่วน แพทย์เฝ้าดูอาการใกล้ชิด
กทม. ลุยตรวจจตุจักร ร้านสัตว์เลี้ยง หวั่นสวัสดิภาพคน-สัตว์ ย้ำร้านค้าต้องมีใบอนุญาตตามกม.
"สามารถ" ชื่นชม กกต.กล้าชน "พิธา" ซัดเจ็บรู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องจริง
"สมศักดิ์-อธิบดีกรมการแพทย์" สนองพระมหากรุณาธิคุณ ช่วยทารกหลังคลอดเขียว ภาวะหลอดเลือดใหญ่หัวใจสลับขั้ว ล่าสุดปลอดภัย
"หมออ๋อง" ต้องถอนตัว เพจ "ก้าวไกลโกหก" จี้แสดงรับผิดชอบ มือมืดป่วนเว็บรัฐสภา ลบคะแนนโหวตต้านนิรโทษ112
วธ.เปิดชุมชน บ้านท่ามะขาม ยกย่องสุดยอดชุมชนต้นแบบ ปี 66 ปักหมุดแลนด์มาร์ค วัฒนธรรมกะเหรี่ยงแห่งใหม่
"นิพิฏฐ์" เผยอาการป่วยล่าสุด "ชูวิทย์" รักษาแบบประคับประคอง
"ชัชชาติ" นำผู้บริหารกทม.เริ่มทำกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ "ในหลวง" น้อมพระราโชบาย พัฒาคุณภาพชีวิตปชช.
"ทวี" ยัน ก.ยุติธรรมไม่เกี่ยว อสส.ฟ้อง "ทักษิณ" คดี 112 แจงชัดไม่มีเตรียม รพ.ตร.รับตัว
"หมอเหรียญฯ" ปลื้มปริ่ม อุปสมบทลูกชาย พิธีเรียบง่าย ย้ำภาพชีวิตครอบครัว สงบ สมถะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น