No data was found

แก้กติกาเลือกตั้ง ต้องเถียงกันอีกยาว

กดติดตาม TOP NEWS

โดยเฉพาะการคิดคำนวณคะแนนส.ส.บัญชีรายชื่อจะเอาแบบไหน พรรคใหญ่ให้คิดแบบเลือกตั้งปี 40 พรรคเล็กอยากได้จัดสรรปันส่วนผสม เรื่องการทำไพรมารี่โหวตจะเอาอย่างไรให้ถูกใจทุกพรรค เปิดไทม์ไลน์ทำกติกาวางกฎหมายลูกกว่าจะแล้วเสร็จเดือนส.ค. บวกขั้นตอนโปรดเกล้าฯ ก็ยาวเกือบปลายปี 65 บวกลบคูณหารยังไงเลือกตั้งเร็วสุดก็น่าจะต้นปี 66

โปรดเกล้าลงมาแล้วสำหรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564 หลักใหญ่ใจความของการแก้ไขกฎหมายสูงสุดของประเทศในคราวนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลือกตั้งให้กลับไปเป็นแบบเก่าเหมือนการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยมีการแก้ไขมาตราที่สำคัญๆ 3 มาตรา สาระสำคัญประกอบด้วย

มาตรา 83 สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิก ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน การเลือกตั้งส.ส.ให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยให้ใช้บัตรเลือกตั้งส.ส.แบบละ 1 ใบ

มาตรา 86 การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีและการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้าย ก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำนวนส.ส. 400 คน จำนวนที่ได้รับให้ถือว่า เป็นจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
(2) จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนตาม (1) ให้มี ส.ส.ในจังหวัดนั้นได้หนึ่งคน โดยให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
(3) จังหวัดใดมีราษฎรเกินจำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน ให้มีส.ส.ในจังหวัดนั้นเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน
(4) เมื่อได้จำนวนส.ส.ของแต่ละจังหวัดตาม (2) และ
(3) แล้ว ถ้าจำนวนส.ส.ยังไม่ครบ 400 คน จังหวัดใดมีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม (3) มากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีส.ส.เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน และให้เพิ่มส.ส. ตามวิธีการดังกล่าวแก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณนั้นในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำ นวน 400 คน
(5) จังหวัดใดมีการเลือกตั้งส.ส.ได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัด ออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนส.ส.ที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้ง แต่ละเขตให้ติดต่อกันและต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน

มาตรา 91 การคำนวณสัดส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง ที่จะได้รับเลือกตั้งให้นำคะแนนที่แต่ละพรรคการเมืองได้รับการเลือกตั้งมารวมกันทั้งประเทศ แล้วคำนวณเพื่อแบ่งจำนวนผู้ที่จะได้รับเลือกของแต่ละพรรคการเมือง เป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กันโดยตรง กับจำนวนคะแนนรวมข้างต้น …. การนับคะแนน ให้เป็นไปตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.

เพราะฉะนั้นถ้ายึดตามรัฐธรรมนูญที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในตอนนี้ ธงของการเลือกตั้งในครั้งหน้าที่มีอยู่แล้วคือ ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ส.ส.ระบบเขต 400 คน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ในส่วนระบบเขตที่ต้องไปลุ้นกันต่อคือจะใช้สัดส่วนประชากรกี่คนในการคำนวณส.ส. 1 คน ตรงนี้มาตรา 86 เขียนไว้แล้วว่าให้ใช้จำนวนประชากรปีสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งหารด้วย 400 ผลออกมาเท่าไหร่ก็จะเป็นจำนวนคนต่อส.ส.หนึ่งคน แล้วก็นำจำนวนดังกล่าวไปแบ่งส.ส.เขตแต่ละจังหวัดว่ามีมีกี่เขต เรื่องเลือกตั้งระบบเขตคงไม่ยุ่งยากเท่าไหร่ แต่ที่ต้องเถียงกันนานหน่อยคือเรื่องการคิดคำนวณคะแนนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คนนี้แหละ

เดิมการเลือกตั้งรอบที่แล้วใช้วิธีการคิดคะแนนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแบบจัดสรรปันส่วนผสม (MMP) ที่มาจากบัตรเลือกตั้งใบเดียว มีการกำหนดฐานเพดานกับ พรรคใหญ่ไม่ให้ได้คะแนนเกินจริง เลือกตั้งรอบที่แล้วเราจึงเห็นว่า แม้พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนส.ส.เขตจาก 350 เขต 77 ทั่วประเทศถึง 8,452,634 แต่ทอนมาเป็นส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแค่ 19 คน ส่วนพรรคเพื่อไทยของทักษิณได้คะแนนดิบ 7,933,171 คะแนน แต่กลับไม่ได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแม้แต่คนเดียว ต่างจากพรรคอนาคตใหม่ฝ่ายล้มเจ้าที่ได้คะแนนดิบ 6,284,282 คะแนน ส่งผลให้กวาดส.ส.บัญชีรายชื่อมาได้ถึง 50 คน เช่นเดียวกับพรรคเสรีรวมไทยของพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ เตมียเวส ไม่ได้ส.ส.เขตเลย แต่ได้คะแนนรวมทั่งประเทศจากพวกสอบตกมา 828,186 คะแนน ที่สุดจึงได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อมา 10 คน

ด้วยเหตุที่การคิดคำนวณส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อแบบจัดสรรปันส่วนผสมสุดพิสดาร นี้เองส่งผลให้พรรคใหญ่ได้คะแนนไม่สะท้อนข้อเท็จจริง ที่สุดเลยกลายเป็นตัวบังคับให้พรรคพลังประชารัฐต้องจับมือกับพรรคเพื่อไทยอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปลดล็อคเรื่องนี้ โดยการเลือกตั้งเที่ยวหน้าการคิดคะแนนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะคิดจากระบบเลือกตั้งแบบผสม (MMM) ที่ใช้บัตร 2 ใบ คะแนนของส.ส.ระบบเขตจะแยกออกจากคะแนนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเลย ส่วนวิธีการคิดคำนวณจะใช้แบบไหนก็ไปเถียงกันในตอนทำกฎหมายลูก ที่มีแววออกมาแล้วว่าจะเห็นต่างกันหนักเห็นแย้งกันมาก โดยเฉพาะระหว่างพรรคใหญ่กับพรรคเล็กที่ไม่มีทางยอมกันแน่นอน

ล่าสุดขนาดฝ่ายล้มเจ้าไม่เอาประยุทธ์ด้วยกันอย่าง “เพื่อไทย -ก้าวไกล” ก็แตกคอกันแล้วในเรื่องนี้ โดยสุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้าน ออกมายืนกรานไม่ได้เห็นตรงกันกับก้าวไกลทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องวิธีการคำนวณคะแนนส.ส.ที่เห็นต่างกัน ตรงนี้ต่างคนต่างเสนอของตัวเอง ขณะที่นิกร จำนง วิปรัฐบาลจากชาติพัฒนา ก็ระบุว่าข้อเรียกร้องของก้าวไกลที่ให้ใช้ระบบการคำนวณคะแนนส.ส.บัญชีรายชื่อ แบบ จัดสรรปันส่วนผสมซึ่งเป็นการคิดคะแนนโดยอ้อมน่าจะเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ” ความเป็นไปได้ในการคิดคะแนนระบบัญชีรายชื่อน่าจะยึดตามร่างของกกต. 37 มาตรา ที่ยึดของปี 2554 แต่ได้ปรับส่วนที่เป็นปัญหา คือ การกำหนดเกณฑ์คะแนนขั้นต่ำ 5% ที่ปิดกั้นพรรคเล็ก และใช้วิธีคำนวณที่นำคะแนนทุกพรรครวมกันเพื่อหาค่าเฉลี่ยคะแนนต่อส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน เบื้องต้น ส.ส. 1 คน ต้องได้คะแนน 3.8 แสนคะแนน ส่วนกรณีที่ยังได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ครบ 100 คน ให้นำเศษคะแนนของพรรคที่คำนวณได้ มาจัดสรร” นิกรระบุ

แค่เริ่มต้นก็เห็นต่างแล้ว จากนี้เชื่อว่าเรื่องกติกาต้องเถียงกันอีกยาว รวมถึงประเด็นเรื่องการทำไพมารี่โหวต (Primary Vote) ที่ต้องไปแก้ในพ.ร.ป.พรรคการเมือง ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันต้องการให้สาขาพรรคกับตัวแทนจังหวัดมีส่วนร่วมในการคัดตัวผู้สมัครส.ส.มากขึ้น แต่มันกลับกลายเป็นการไปลดทอนอำนาจกรรมการบริหารพรรค (กก.บห.) ในการคัดเลือกตัวผู้สมัครตรงนี้หลายพรรคจึงอยากแก้ให้มันสะดวกขึ้น จากนี้ก็ต้องติดตามดูว่าการแก้ไขกฎหมายลูกจะไปทางไหนจะเอายังไงต่อ ล่าสุด พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการกกต. ส่งหนังสือถึงผอ.กต.จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมแนบสำเนาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. เพื่อให้กกต.ประจำจังหวัด เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 77 โดยใช้เวลา 15 วัน มีสาระสำคัญ 37 มาตรา อาทิ บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน การคำนวณส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ เวลาลงคะแนนเลือกตั้ง 08.00-16.00 น. การเพิ่มกรรมการประจำหน่วยเป็น 9 คน การกำหนดจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งต่อหน่วย 800 คน เป็นต้น

ไทม์ไลน์หลังจากนี้เมื่อรับฟังความเห็นชาวบ้านแล้ว กกต.จะเสนอร่างกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับมาให้ครม. พิจารณา ก่อนส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาในฐานะฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลตรวจสอบความถูกต้องหากไม่ติดขัดอะไรก็เสนอต่อให้สภาพิจารณาได้เลย เบื้องต้นชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุหากครม.ส่งมาธ.ค.สามารถบรรจุวาระเพื่อพิจารณาได้ทันที ถ้ามาถึงธ.ค. ก็มีเวลาทำกติกาเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน หรือ ( 6 เดือน) ผ่านทั้งสภาล่างและสภาสูง เสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ก็ราวกลางปีหน้า มิ.ย. พ.ศ. 2565 หลังเสร็จสิ้นการพิจารณาขั้นตอนของสภาแล้ว ภายใน 15 วันต้องเสนอเรื่องให้องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องตรวจสอบดูเนื้อหาว่าขัดกฎหมายตัวไหน ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ องค์กรที่ว่าก็ประกอบด้วย ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ กกต. ฯลฯ หากองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องไม่ท้วงติงภายใน 10 วันก็สามารถนำขึ้นทูลเกล้าได้เลย แต่ตรงนี้ต้องดูว่ามีใครร้องศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย ถ้ามีคนร้องศาลกระบวนการก็จะช้าไปอีก 1 เดือน บวกลบคูณหารเบ็ดเสร็จจัดทำกติกาก็ราวก.ค.หรือส.ค. จากนั้นก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งมีระยะเวลาในการใช้พระบรมราชวินิฉัยอีก 90 วัน หรือ 3 เดือน ครบกำหนดก็ราวพ.ย.ปีหน้าหรืออาจจะเร็วกว่านั้น โปรดเกล้าฯกฎหมายลูกลงมาตอนไหน พล.อ.ประยุทธ์ก็สามารถจัดการเลือกตั้งคืนอำนาจให้ประชาชนได้ทุกเวลา ดูตามนี้ไม่แคล้วต้นปี 2566 ประยุทธ์ยาวไป ๆ
////////////////////

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชลบุรี ตำรวจ บก.ปทส. พร้อมเจ้าหน้าที่กรมอุตสาหกรรม นำหมายค้นเข้าตรวจสอบบริษัทรีไซเคิล ในพื้นที่ตำบลคลองกิ่ว หลังชาวบ้านร้องกลัวว่าจะเป็นที่กักเก็บกากแคดเมียม
ตำรวจรวบตัว "3 ชาวจีน" ถูกทิ้งอยู่ข้างทาง หลังหนีการสู้รบจาก "เมืองเมียวดี" ลักลอบเข้าไทย
เด็ก "เจ๊แดง" ผงาด "จักรพล" ขึ้นแท่น "โฆษกรัฐบาล" ลุยทำงานเต็มสูบหลังโผครม.เศรษฐา 2 คลอด
ตำรวจสอบสวนกลาง รวบ "แม่เล้า" ริมฝั่งโขง ค้ากามเด็กสาวไทย-ลาว เตือนผู้ปกครองควรใส่ใจดูแลบุตรหลาน
“แม่น้องไนซ์” รอพบสำนักพุทธฯ เคลียร์ปมเชื่อมจิต ลั่นเตรียมฟ้องสื่อ 5 ช่อง เผยแพร่ข้อมูลเท็จ
3 จีนเทา หนีสู้รบ จากเมียวดีฯ ลอบเข้าไทยจะไปปอยเปตถูกนำมาปล่อยทิ้งข้างถนน
เมืองพัทยา คึกคัก กองเรือพิฆาตเทียบฝั่ง ทหารอเมริกันยกพลขึ้นบกท่องเที่ยว
ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพคุณยายวัย 89 ปี อยู่คนเดียว สุดรันทดในบ้านไม้ผุพังไม่มีหลังคาบังแดดบังฝนวอนหน่วยงานเร่งช่วยเหลือ
"หมอธีระวัฒน์" แจ้งข่าวลาออก หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ หลังวิจารณ์ปมวัคซีนโควิด หวั่นกระทบภาพลักษณ์องค์กร
"รทสช." ยังไม่นิ่ง! สะพัด "เสี่ยเฮ้ง" รีเทิร์นคั่วเก้าอี้ "รมช."

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น