พยาน “แพทย์ รพ.ตร.” สุดอัดอั้น ถึงปาดน้ำตา ไม่คิดรักษา “ผู้ป่วย” ต้องขึ้นศาล รับบางอาการ “ทักษิณ” ไม่วิกฤต ควรส่งกลับเรือนจำ

พยาน "แพทย์ รพ.ตร." สุดอัดอั้น ถึงปาดน้ำตา ไม่คิดรักษา "ผู้ป่วย" ต้องขึ้นศาล รับบางอาการ "ทักษิณ" ไม่วิกฤต ควรส่งกลับเรือนจำ

วันที่ 18 ก.ค.68 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งนัดไต่สวนคดีหมายเลขดำที่ บค.1/2568 โดยอัยการสูงสุดและ ป.ป.ช.เป็นโจทย์ ส่วนจำเลยคือนายทักษิณ ชินวัตร นัดนี้เป็นนัดที่ 5 ในการไต่สวนการบังคับโทษนายทักษิณ ชินวัตร

กลุ่มพยานที่เข้าเบิกความวันนี้มี 6 ปาก เป็นกลุ่มผู้อำนวยการโรงพยาบาลตำรวจ และทีมแพทย์ผู้ทำการรักษา นายทักษิณ ชินวัตร นับแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2566 จนได้รับการพักโทษ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ประกอบด้วยปากแรก พล.ต.ท.โสภณรัตน์ สิงหจารุ อดีตนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ, พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ นายแพทย์ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล แพทย์สาขาโรคหัวใจ, นายแพทย์สุรพล เกษประยูร แพทย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, พล.ต.ต.นายแพทย์สามารถ ม่วงศิริ และแพทย์เจ้าของไข้ พ.ต.อ.นายแพทย์ ชนะจง โชคดี แพทย์ที่รับตัวนายทักษิณเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566

ช่วงเช้าศาลไต่สวนพยาน 3 ปาก โดยพยานปากแรก พล.ต.ท.โสภณรัตน์ สิงหจารุ อดีตนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ในช่วงเวลาที่มีการรับตัวนายทักษิณเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เข้าเบิกความต่อศาล ในประเด็นการรับนายทักษิณเป็นคนไข้สู่กระบวนการรักษาเป็นไปตามระเบียบการรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลหรือไม่

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยเฉพาะการให้ไปอยู่ในห้องพักชั้น 14 ซึ่งอ้างอิงว่าเป็นห้องแยกการรักษา ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 แต่พยานปากนี้ไม่ได้มีส่วนร่วมในการรักษา เพียงแต่รับทราบจากการรายงานของแพทย์ที่รับตัว นอกจากนี้ศาลยังได้ย้ำถามว่ามีนักโทษรายอื่นจากเรือนจำได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจชั้น 14 อีกหรือไม่ ซึ่งพยานยังไม่สามารถให้ข้อมูลได้จะส่งให้ภายหลัง และยังไต่สวนในประเด็น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงินที่สืบเนื่องไปถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาทั้งยารักษาโรค ห้องพักผู้ป่วย ที่พบว่าจากใบเสร็จ 27 ใบ มีข้อมูลเกี่ยวกับยารักษาโรคเพียง9 ใบ ที่เหลือเป็นใบเสร็จเกี่ยวกับ ค่ายาและสารอาหารทางเส้นเลือดและค่าห้องพัก

ต่อด้วย พล.ต.ท.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ที่เข้ารับตำแหน่งในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2566 เป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับในช่วงที่นายทักษิณไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งนั้นเป็นนายแพทย์ สบ.8 โดยประเด็นการไต่สวนเดียวกันกับปากแรก ซึ่งพยานปากนี้เบิกความต่อศาลประเด็นห้องพักรักษาของนายทักษิณเป็นห้องพิเศษ ซึ่งเป็นการเบิกความขัดกันกับพยานก่อนหน้านี้ที่ให้ข้อมูลต่อศาล รวมถึงประเด็นการรักษาว่ากรณีนายทักษิณเป็นผู้ป่วยเข้าขั้นวิกฤตส่งตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครแต่เมื่อมาถึงโรงพยาบาลไม่ได้ไปห้องฉุกเฉินหรือห้องไอซียู แต่ส่งตัวไปชั้น 14 เนื่องจากมีการประสานส่งตัวไว้

 

 

รวมถึงการไต่สวนประเด็นอาการป่วยของนายทักษิณ ที่แพทย์จากเรือนจำได้ส่งประวัติมารักษา แต่ในข้อเท็จจริงการรักษาอ้างอิงจากโรคที่ระบุมานั้นไม่มีการผ่าตัดกระดูกคอทับเส้นประสาท หรือโรคที่อ้างอิงตามใบแจ้งจากแพทย์เรือนจำ แม้ว่าแพทย์คนนี้จะทำแผนการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกคอ แต่สุดท้ายไม่ได้มีการผ่าตัด เนื่องจากผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ทั้งนี้มีการผ่าตัดในอาการอื่น โดยเป็นอาการที่เกิดขึ้นนะหว่างที่มารักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ คือ การผ่าตัดนิ้วล็อค และการผ่าตัดเส้นเอ็นไหล่ฉีก ซึ่งข้อมูลการผ่าตัดนิ้วล็อคนั้นแพทย์เบิกความย้อนแย้งกัน ระหว่างแพทย์ที่อ้างอิงอาการจากเรือนจำพิเศษ กับแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ

จากนั้นพยานเบิกความปากที่ 3 พ.ต.อ.นายแพทย์ชนะ จงโชคดี ซึ่งเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลตำรวจที่รับตัวนายทักษิณเข้ารักษาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 พยานปากนี้ศาลใช้เวลาไต่สวนนาน 1:30 ชม. ศาลได้ซักรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์รับตัวนายทักษิณเข้ารับการรักษา รวมไปถึงกระบวนการรักษา โดยถามรายละเอียดเกี่ยวกับบันทึกการรักษาตั้งแต่รับตัวนายทักษิณไปจนถึงวันที่นายทักษิณออกจากโรงพยาบาล ที่ให้นายแพทย์ชนะ ไล่อ่านบันทึกการรักษา ที่พบว่าบางอาการไม่ได้มีบันทึกไว้ ถือว่า ยังเข้าขั้นป่วยวิกฤตและสามารถกลับได้หรือไม่ ซึ่งนายแพทย์ชนะ ได้ให้ความเห็นว่าบางอาการถือว่าไม่วิกฤตและสามารถกลับได้ นอกจากนี้ยังสอบถามถึงการใช้ยา รักษาอาการป่วย ที่ไม่ระบุอยู่ในใบเสร็จค่ารักษา

ศาลยังได้ถามถึงการเขียนใบให้ความเห็นแพทย์ เรื่องการขยายเวลารักษาตัว 120 วันรวมถึงสอบถามใน ประเด็นที่ว่ามีเจ้าหน้าที่จากราชทัณฑ์ได้ประสาน สอบถามอาการ ของผู้ป่วยหรือไม่ซึ่งนายแพทย์ชนะบอกว่า ไม่เคยมีใครสอบถามมา

นอกจากนี้ศาลยังสอบถามถึงผู้คุม ว่าได้ปฏิบัติการอยู่ตลอดหรือไม่นายแพทย์ชนะ ระบุว่า พบผู้คุมทั้งในห้องและหน้าห้องโดยก่อนเข้าตรวจจะต้อง ถูกเก็บโทรศัพท์ไว้ ขณะที่ เวลาเข้าตรวจนายทักษิณบางครั้งจะนอนอยู่บนเตียงคนไข้และบางครั้งจะนั่งอยู่บริเวณโซฟา

ศาลถามถึงการคำนึงข้อกฎหมาย และความรับผิดชอบรับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ ซึ่ง พ.ต.อ.นายแพทย์ ชนะจง ตอบใจความว่า “ คิดแค่ว่าเป็นหมอ จะแค่รักษาผู้ป่วย ไม่คิดว่าจะต้องมาขึ้นศาล” ก่อนจะใช้มือปาดน้ำตา

 

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดการเบิกความของพยานปากนี้มีท่าทีกังวลอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่เข้าไปในห้องพิจารณาคดีบริเวณคอก มีการขอกระดาษปากกาเพื่อจดคำถาม บางช่วงบางตอนระหว่างที่ศาลกำลังซักพยานปากนี้ยังยกมือพนมไหว้ขอโทษศาลตลอดเวลาที่ตอบคำถาม

ทั้งนี้ศาลได้ขอให้พยานส่งหลักฐานเอกสารเพิ่มเติม 2 เรื่อง 1. ข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษที่เข้ารักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ และ.2. เอกสารออร์เดอร์ดอกเตอร์ชีท หรือบันทึกการรักษาของแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กระทรวงแรงงาน" เตรียมแจ้งความเอาผิด "แฮกเกอร์" หลังพบแฮกเว็บไซต์กระทรวง แม้ไม่ได้ทำข้อมูลรั่ว เผยตอนนี้ ใช้การได้ปกติแล้ว
MEA เชิญชวนชมไฟประดับ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568
กระทรวงทรัพยากรฯ - เครือซีพี เชิญชวนส่งภาพถ่ายประกวดในโครงการ “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” ชิงถ้วยพระราชทาน และรางวัลรวมกว่า 7 แสนบาท
AXONS คว้ารางวัล "AIBP Enterprise Innovation Awards" ประจำปี 2025
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบตามแผนฉุกเฉินท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประจำปีงบประมาณ 2568 (SEMEX - 25)
“บิ๊กโจ๊ก” ร่วมกรรมการสมาคมชาวปักษ์ใต้ฯ พลิกโฉมสมาคมฯ รองรับชาวไทยทั้งประเทศ

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น​