“ศาลรธน.” ลงมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องอดีตผู้สมัคร ร้องเอาผิด กกต.” จัดเลือกสว.ผิดกม. “กก.บห.-พรรคภูมิใจไทย” ฮั้วสรรหามิชอบ

"ศาลรธน." ลงมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องอดีตผู้สมัคร ร้องเอาผิด กกต." จัดเลือกสว.ผิดกม. "กก.บห.-พรรคภูมิใจไทย" ฮั้วสรรหามิชอบ

วันที่ 17 ก.ค. ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดี มีคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ นางภัทรสุภางค์ เฉลิมนนท์ (ผู้ร้อง) อดีตผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม 2 กฎหมาย จ.นราธิวาส ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ถูกร้องที่ 1) จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย เนื่องจากพรรคภูมิใจไทย (ผู้ถูกร้องที่ 4) กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย(ผู้ถูกร้องที่ 5) สมาชิกสังกัดพรรคภูมิใจไทย (ผู้ถูกร้องที่ 6 ถึงผู้ถูกร้องที่ 16) ร่วมกันวางแผนครอบงำกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภาโดยมิชอบไว้ตั้งแต่แรก เมื่อพบเห็นการกระทำที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการเลือกสมาชิกวุฒิสภามิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ถูกร้องที่ 2) มิได้สั่งการให้ดำเนินการใด ๆ ส่งผลให้สมาชิกวุฒิสภา 138 คน (ผู้ถูกร้องที่ 3) ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 113 และมาตรา 224

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เนื่องจากละเลยต่อหน้าที่โดยปล่อยให้ผู้ถูกร้องที่ 4 ถึงผู้ถูกร้องที่ 16 ร่วมกันกระทำการครอบงำกระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภาส่งผลให้ผู้ถูกร้องที่ 3 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 113 และมาตรา 224 ซึ่งการยื่นคำร้องตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา 213 ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 และมาตรา 47 แม้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบ หากผู้ร้องเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ผู้ร้องอาจใช้สิทธิทางศาลอื่นได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 25 วรรรคสาม

ส่วนกรณีขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้การเลือกสมาชิกวุฒิสภาเป็นโมฆะนั้น เห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 กำหนดกระบวนการยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลฎีกาหรือคณะกรรมการการเลือกตั้งไว้แล้วตามมาตรา 44 และมาตรา 64 เป็นกรณีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้กำหนดกระบวนการร้องหรือผู้มีสิทธิขอให้ศาลพิจารณาวินิจฉัยไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดใจ "3 ทหารกล้า" เล่านาทีเหยียบกับระเบิด ชายแดนช่องบก เผยภูมิใจที่ได้รับใช้ชาติ
"ทักษิณ" โชว์อีกเวทีทอล์ค ซัด "ผู้นำเขมร" ไร้จริยธรรม งงคนไทยไม่รักกัน ดันเข้าข้างกัมพูชา ไม่วายแขวะอดีตพรรคร่วมฯ กล่าวหาขายชาติ
ฝนถล่มปากีสถานทำผู้เสียชีวิตกว่า 60 คนใน 24 ชั่วโมง
"รมช.กลาโหม" ลงพื้นที่ช่องสะงำ ขอให้กำลังพลทุกนาย อดทนอีกนิด เผยเตรียมผ่อนปรนรถขนส่งสินค้าข้ามแดน
“วิสุทธิ์” ยันปัดตีตกกม.นิรโทษคดี 112 เชื่อมีทางอื่นช่วยเด็กติดคุกได้ ย้ำสิ่งสำคัญต้องสร้างสามัคคีให้บ้านเมือง
ไฟไหม้ห้างเปิดใหม่ที่อิรักดับกว่า 60 คน
เกาหลีใต้เผชิญฝนตกหนักที่สุดในรอบกว่า 120 ปี
“คำนูณ” ชวนจับตา คำตัดสินศาลรธน. คดี "พิเชษฐ์" โยกงบฯ ปี 69 ขัดรธน. มาตรา 144
ศาลรธน. สั่ง “วุฒิสภา-ภูมิธรรม-ทวี” ยื่นพยานใน 15 วัน ปมถูกร้องแทรกแซงสอบฮั้ว สว.
"กองทัพภาคที่ 2" ชี้แจงเหตุการณ์ทหารเหยียบกับระเบิด ขณะลาดตระเวนพื้นที่ช่องบก จ.อุบลฯ เผยรอผลผู้เชี่ยวชาญพิสูจน์ "วัตถุระเบิด" ของเก่าหรือใหม่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น