เกษตรกร ยันใช้ “ปลานักล่า” กำจัด “ปลาหมอคางดำ” ได้ผลดี

เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อดิน ที่ จ.เพชรบุรี ยืนยันว่าการใช้ปลานักล่า มากำจัด ปลาหมอคางดำ ในบ่อเลี้ยงนั้นได้ผลดี แต่ก็อยากรู้ว่าควรใช้ ปลานักล่า จำนวนเท่าไหร่จึงจะพอดีกับแต่ละพื้นที่

ทีมข่าว Top News ลงพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อคุยกับเกษตรกร ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อกึ่งธรรมชาติ และได้รับผลกระทบจากการระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งทางประมงจังหวัด ได้เลือกให้เป็นหนึ่งใน 24 รายเกษตรตัวอย่าง ที่ได้รับพันธุ์ปลานักล่า คือ ปลากะพงขาว ไปคนละ 230 ตัว

 

 

ด้านนางสาว กาญจนา โชติช่วง เกษตรกร ที่เลี้ยงปูดำในบ่อกว่า 50 ไร่ ในหมู่บ้านหนองบัว ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี ยืนยันว่า หลังการปล่อยปลากะพงขาว สามารถช่วยกำจัดปลาหมอคางดำได้ จึงได้ซื้อมาเพิ่มอีก 500 ตัว รวมเป็น 730 ตัว ทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ นายวิเชียร เพ็งวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านหนองบัว ซึ่งเป็นผู้จัดตั้งกองทุนปลากะพง และจัดสรรให้กับเกษตรกร สะท้อนว่าแต่สิ่งที่เกษตรกรต้องการรู้คือ ควรจะใช้จำนวนปลากระพงขาวกี่ตัว ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ถึงจะกำจัดปลาหมอคางดำได้อย่างสมดุล เพราะหากปล่อยปลากะพงขาวลงไปในบ่อเลี้ยงน้อยเกินไป อาจไม่คุ้มกับค่าเช่าบ่อรายปี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดเพชรบุรี ให้คำตอบว่า ปลากะพง 1 ตัว สามารถกินปลาหมอคางดำได้ 12 ตัว และจะกินทุก 1 ชั่วโมงตามค่าเฉลี่ยวิชาการ เมื่อคำนวณอัตราส่วนบ่อเลี้ยงธรรมชาติ 1 ไร่ จะต้องใช้ปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว จำนวน 30 ตัว ถึงจะช่วยให้เกิดความสมดุลในการกำจัด นอกจากนี้ยังได้ทดลองปล่อยลงในคลองธรรมชาติ พบว่าปลากะพงขาวเติบโตได้อย่างรวดเร็ว จาก 4 นิ้วเพิ่มเป็น 8 นิ้ว ในระยะเวลาไม่กี่เดือน โดยปลาจะหากินเป็นอาณาเขต ประมาณ 100 เมตร และจะขยายพื้นที่มากขึ้นตามขนาดตัว ที่ผ่านมาได้ปล่อยไปแล้ว 19 คลอง และกำลังติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

หลังจากนี้ ประมงจังหวัดมีแผนจะแจกพันธุ์ปลานักล่าให้เกษตรกรเพิ่มเป็น 69 ราย เนื่องจากมีเสียงตอบรับที่ดี พร้อมกันนี้ยังดำเนินกิจกรรมการ “ลงแขกลงคลอง” อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจะเร่งรับซื้อในกิโลกรัมละ 20 บาท แบ่งออกเป็นเกษตรกรได้ 15 บาท อีก 5 บาทให้กับผู้รวบรวม ตามมาตรการ 7 ข้อ นอกจากนี้ยังรณรงค์ไปยังชาวบ้านเพชรบุรี ว่าหากเจอปลาหมอคางดำให้ “จับก่อนแจ้ง เพื่อที่จะได้จบเร็ว” ส่วนการจับที่ได้ผลดีที่สุด จะต้องทำในตอนกลางคืน เพราะปลาจะลอยคอ เนื่องจากออกซิเจนน้อยว่าตอนกลางวัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

MEA ร่วมลงนาม MOU กับ Bhutan Power Corporation Limited (BPC) หน่วยงานการไฟฟ้าของประเทศภูฏาน ผนึกความมั่นคงระบบจำหน่ายไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ติดตามแผนอนุรักษ์ “โลมาอิรวดี’’ เครือซีพี-มูลนิธิซีพี ร่วมฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 5 แสนตัว พร้อมร่วมสร้างเครือข่ายชาวประมง-เยาวชน รักษ์ทรัพยากรทางทะเล
"คลีนเล้าด้วยใจ ปันไข่ให้น้อง" มูลนิธิซีพี จับมือ ซีพีเอฟ เดินหน้ายกระดับสุขอนามัยโรงเรียน ต่อยอด "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน"
ตร.บุกรวบ 4 นอมินีทุนจีน ลอบเปิดกิจการโรงเลื่อยไม้ก่อมลพิษกระทบชุมชน ยึดเลื่อยโซ่ยนต์เถื่อน 5 เครื่อง
"ผอ.เขตป้อมปราบฯ" เผยเตรียมส่งชุดปฏิบัติการโรยตัวกู้ร่างผู้สูญหาย เหตุคนงานพลัดตกหลุมเจาะเสาเข็ม
"พาณิชย์" ประกาศรางวัล Agri Plus Award 2025 มุ่งต่อยอดเกษตรนวัตกรรมไทย ดัน SMEs สู่ตลาดโลก
เกษตรกร ชวนชาวบ้านเร่งจับ "ปลาหมอคางดำ" แนะรัฐฯ รับซื้อต่อเนื่อง
"นอภ." บุกตรวจวัดดัง หลังโซเชียลแฉหลักฐานลอบซุก "กัญชา" ล็อตใหญ่
เกษตรกร ยันใช้ "ปลานักล่า" กำจัด "ปลาหมอคางดำ" ได้ผลดี
เจอแล้วร่างผู้สูญหาย เหตุคนงานตกหลุมเจาะเสาเข็ม กู้ภัยเร่งวางแผนลำเลียงขึ้นมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น