“กองทัพบก” เฝ้าระวัง “โรคแอนแทรกซ์” ออกมาตรการป้องกันในหน่วยทหาร ปลอดภัยจากโรคระบาด

“กองทัพบก” เผย มาตรการป้องกันและควบคุม โรคแอนแทรกซ์ ในหน่วยฝึกทหารใหม่ ยกระดับการฝึกมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยจากโรคระบาด

“กองทัพบก” เฝ้าระวัง “โรคแอนแทรกซ์” ออกมาตรการป้องกันในหน่วยทหาร ปลอดภัยจากโรคระบาด – Top News รายงาน

กองทัพบก

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น. ทีมโฆษกกองทัพบก โพสต์ข้อความว่า “#โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) และมาตรการป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในหน่วยทหาร”  ทีมโฆษก ทบ. มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคแอนแทรกซ์ ที่มีการระบาดในช่วงนี้มาฝาก

โรคแอนแทรกซ์เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis ซึ่งพบได้ทั่วไปในดิน โดยเฉพาะในบริเวณที่มีซากสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้ สัตว์พาหะส่วนใหญ่เป็นประเภทสัตว์เท้ากีบและเคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ และแกะ ผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์มักมีประวัติสัมผัสสัตว์ป่วยหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ติดเชื้อ แต่โรคนี้ไม่มีการติดต่อจากคนสู่คนหรือเกิดขึ้นได้ยากมาก

 

ข่าวที่น่าสนใจ

การติดเชื้อและอาการแสดง
1.การติดเชื้อที่ผิวหนัง (พบมากที่สุด 95-99% ของผู้ป่วย)ติดเชื้อจากสปอร์ของเชื้อเข้าทางบาดแผล มักพบที่มือ แขน หรือขาระยะฟักตัว 1-7 วัน เริ่มจากตุ่มแข็ง เปลี่ยนเป็นตุ่มน้ำใส และแตกกลายเป็นแผลหลุมสีดำคล้ายบุหรี่จี้ หากไม่ได้รับการรักษา เชื้ออาจลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ

2.การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น จากขนสัตว์หรือกระดูกป่น อาการได้แก่ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และต่อมน้ำเหลืองขั้วหัวใจโต บางรายอาจมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบและเสียชีวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง

3.การติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร (รุนแรงที่สุด) เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อแบบปรุงไม่สุก อาการ ได้แก่ มีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาจมีแผลในช่องปากและคอหอย เจ็บคอ กลืนลำบาก ต่อมน้ำเหลืองคอบวม

มาตรการป้องกันและควบคุมในหน่วยฝึกทหารใหม่
-การคัดกรองและเฝ้าระวัง
-คัดกรองประวัติ : ซักประวัติทหารใหม่ โดยเฉพาะผู้มาจากพื้นที่ระบาด
-เฝ้าสังเกต : อาการผิวหนัง หายใจ อาหาร อย่างน้อย 7 วัน
-รายงาน : แจ้งผู้บังคับบัญชาและสำนักงานสาธารณสุขทันที

การดำเนินการเมื่อพบผู้ติดเชื้อ
1.แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.แยกผู้ป่วย-ส่ง รพ. รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
3.ป้องกันการแพร่กระจาย
-ล้างมือ
-ใช้อุปกรณ์ป้องกัน
-ห้ามใช้ของร่วม
-ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ

 

ส่วนมาตรการดูแลทหารใหม่ที่เจ็บป่วย ด้วยโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
1. นำส่ง รพ. ทันที เมื่อมีอาการ
-ไข้เกิน 37.5°C
– ไข้ร่วมกับอาการรุนแรง
– ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไม่ดีขึ้น
– O2 sat ต่ำกว่า 96%

2. หากระบาดเป็นกลุ่ม
– แจ้ง รพ.ทบ.
-ห้ามเข้าออกหน่วยฝึก
-เพิ่มมาตรการฆ่าเชื้อ

3. ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
-สวมหน้ากากอนามัย
-อยู่ที่อากาศถ่ายเทได้

4.ดูแลโภชนาการ
-ดื่มน้ำเพียงพอ
-รับประทานอาหารให้ครบ
การเฝ้าระวังและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคแอนแทรกซ์ และการดูแลสุขภาพโดยรวม จะช่วยให้การฝึกทหารใหม่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวบ้าน ฮือฮา เศรษฐีใจบุญ ถวายที่ดินมูลค่ากว่า 40 ล้าน สร้างองค์พระใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก
“นายกเบี้ยว” ประกาศ “ภรรยา” คว้าชัยชนะนายกเทศมนตรีตำบลธัญบุรี “ลูกพีช” ได้เป็นสท.
“กกต.” แถลงปิดหีบเลือกตั้งเทศบาล พบฉีกบัตร 5 จังหวัด รวม 6 ราย เตรียมประกาศผลอย่างเป็นทางการภายใน 30 วัน
"ลูกสส.คนดัง" สงขลา สั่งสมุนรุมทำร้ายตำรวจ ไม่พอใจถูกห้ามถ่ายรูปในหน่วยเลือกตั้ง
ยะลาคึกคัก จัดพิธี "เวียนเทียน" เที่ยงวัน เนื่องในวันวิสาขบูชา คุมเข้มความปลอดภัยพุทธศาสนิกชน
"รอยตุ๊" โพสต์ขอร้อง "ชัชชาติ" อย่าลงสมัครผู้ว่าฯกทม.อีกสมัย คอมเมนต์เห็นด้วยพรึ่บ
"โฆษกภูมิใจไทย" ปฎิเสธข่าว คว่ำร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 69 ชี้ไม่มีเหตุไม่สนับสนุน กม.เป็นประโยชน์พัฒนาประเทศ
รวบ “เจ๊เจี๊ยบ” หลอกคนไทยไปทำงานต่างประเทศ ผู้เสียหายนับร้อย เสียหายกว่า 30 ล้านบาท
"กรมโยธาฯ" แจง 3 ข้อ ปมเหตุก่อสร้างซุ้มประตูเมือง จ.อุดรธานี ล่าช้า
โฆษกเพื่อไทย สยบลือ ร้องหยุดโจมตี "ภูมิใจไทย" พร้อมคว่ำงบฯ 69 ตอบโต้คดีฮั้วสว. ยันพรรคร่วมฯทำงานปกติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น