‘อธิบดีโยธาฯ’ มั่นใจแบบจำลองโมเดล พิสูจน์หาสาเหตุ ‘ตึกสตง.’ถล่มได้ คาด 90 วันรู้ผล

‘อธิบดีโยธาฯ’รายงานคืบหน้าสอบโครงสร้างตึก สตง.ถล่มต่อ‘มท.1’ พุ่งเป้า‘คำนวณ-แก้ไขแบบก่อสร้าง’ มั่นใจแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถพิสูจน์เหตุอาคารถล่มได้ แจงต้องใช้หลายหน่วยงานร่วมมือป้อง ‘Human error’

‘อธิบดีโยธาฯ’ มั่นใจแบบจำลองโมเดล พิสูจน์หาสาเหตุ ‘ตึกสตง.’ถล่มได้ คาด 90 วันรู้ผล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2 พ.ค.2568 ที่กระทรวงมหาดไทย นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการก่อสร้างอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. กล่าวภายหลังเข้ารายงานความคืบหน้าผลการตรวจสอบกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่า เราได้ตรวจสอบในเรื่องของการคำนวณ ซึ่งกำลังตรวจสอบในเรื่องของรายละเอียด เนื่องจากว่ามีรายละเอียดจำนวนมาก

 

และมีแนวเรื่องที่กำลังทำคู่ขนานกันไป คือการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นบทพิสูจน์ว่าอาคาร สตง.ถล่ม เกิดจากการออกแบบหรือไม่ โดยก่อนหน้านี้ได้ขอเวลาการพิสูจน์ต่อนายกรัฐมนตรีไว้ 90 วัน ฉะนั้นไทม์ไลน์ที่กำหนดในระยะเวลา 90 วันก็จะได้ผลว่าการออกแบบตามแบบทำให้อาคารพังหรือไม่ ซึ่งวิธีการคือสร้างแบบจำลองโดยนำแบบเข้าในคอมพิวเตอร์ และกำหนดคุณสมบัติของวัสดุเข้าไปในแบบจำลอง แล้วให้แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจริงกระทำกับอาคาร จึงจะทำให้รู้ว่าอาคารสตง.นี้พังหรือไม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ และย้ำว่าภายใน 90 วันก็จะสามารถพิสูจน์ได้

ส่วนการตรวจสอบเอกสารนั้น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ได้ร่วมตรวจสอบเอกสารจากการไปตรวจยึดในพื้นที่ร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ โดยจะตรวจสอบในเรื่องของรายงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ การขออนุมัติ การเทคอนกรีต และในเรื่องการทดสอบวัสดุต่างๆ ส่วนวัสดุที่เก็บหน้างานได้เก็บร่วมกับตำรวจ และทางตำรวจได้อายัดไว้ไปตรวจสอบ นอกจากนี้ตนยังได้รายงานนายอนุทินด้วยว่า ต้องไปปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ,พ.ร.บ.วิชาชีพวิศวกร และมาตรฐานของการก่อสร้างของพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกัน

เมื่อถามว่า กรอบระยะเวลา 90 วันจะสามารถสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ใช่หรือไม่ อธิบดีกรมโยธาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ใช้เวลาดำเนินการไปแล้ว 1 เดือน และแบบจำลองนี้ทำโดย 5 หน่วยงาน แล้วมาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในแบบจำลอง และทำออกมาเป็นบทสรุป ส่วนขณะนี้คณะกรรมการตรวจสอบฯ พุ่งเป้าไปที่ประเด็นใดนั้น สิ่งที่ดูได้ทันทีคือการคำนวณตามแบบที่มีการจ้างการก่อสร้างซึ่งมีอยู่แล้ว และที่ได้แก้ไขแบบ ได้แก้ไขแบบส่วนใดบ้างที่เกี่ยวกับโครงสร้าง เราจะนำเข้าแบบจำลอง ซึ่งแบบจำลองชุดนี้ เหมือนกับนำอาคารจริงก่อนที่จะพังถล่ม โดยรันโมเดลเข้าไปในระบบ

 

เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ที่ รศ.เอนก ศิริพานิชกร ที่ปรึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วศท. ให้ความเห็นว่าแบบไม่สอดคล้องกับกฎกระทรวง อธิบดีกรมโยธาฯ กล่าวว่า ตอนนี้ต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการฯ เพราะเป็นหน้าที่ของคณะกรรม ตนไม่สามารถพูดก่อนได้ อย่างไรก็ดียืนยันว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จะมีผลทดสอบ แล้วผลจะแน่นอนออกมาเป็นคำตอบให้สังคมได้ เพราะแบบจำลองที่เราตรวจสอบดำเนินการเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว แต่ต้องสร้างแบบจำลองให้ครอบคลุมในหลายสถานะ อีกทั้งองค์ประกอบของคณะทำงานชุดนี้ครอบคลุมผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง ดังนั้นตนเชื่อว่าเมื่อผลออกมา จะสร้างความชัดเจนให้กับโครงการนี้ได้ ว่าสาเหตุของอาคารนี้ที่ถล่มเป็นเพราะอะไร

 

อธิบดีกรมโยธาฯ กล่าวย้ำว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ 4 ลำดับ ในลำดับแรกเสร็จเรียบร้อยแล้ว คีย์ข้อมูลเรียบร้อยแล้ว แต่ยอมรับว่ามีอยู่หลายขั้นตอน จึงต้องใช้เวลา และหลังจากเสร็จแล้วจะต้องประชุมหารือ เพราะเราต่างคนต่างทำ และต้องคุยถึงหลักเกณฑ์ต่างๆว่าจะใช้หลักใด เพื่อให้เป็นฐานเดียวกัน ก่อนที่จะประมวลเป็นผลออกมา และต้องดูว่าผลของแต่ละสถาบันออกมาในแนวทางเดียวกันหรือไม่ จึงจะออกมาเป็นผลสรุปของคณะกรรมการฯชุดนี้

สำหรับความคืบหน้าการตรวจสอบความเสียหายของอาคาร จากเหตุแผ่นดินไหวนั้น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยว่า แบ่งเป็นอาคารของภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เบื้องต้นตรวจสอบอาคารภาครัฐในกรุงเทพฯ 300 กว่าหน่วยงาน ประมาณ 900 กว่าอาคาร พบว่ามีความเสียหายรุนแรงกระทบต่อการใช้งานเพียง 1 อาคาร คือ อาคารของ สตง. ส่วนต่างจังหวัดตรวจสอบไปแล้ว 3,000 กว่าหน่วยงาน ประมาณ 9,000 กว่าอาคาร ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่สามารถใช้งานได้ตามปกติ มีอาคารที่เสียหายและปิดการใช้ 16 อาคาร จากทั้งหมด 76 จังหวัด ในส่วนที่เป็นอาคารของเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ออกคำสั่งไปแล้ว 11,000 อาคาร ตรวจสอบแล้ว 5,000 กว่าอาคาร ซึ่งรายงานมาแล้ว ไม่ได้รับความเสียหายรุนแรงถึงขั้นต้องปิดการใช้ หรือถึงขั้นสีแดง ในส่วนพื้นที่ต่างจังหวัดมีประมาณ 6 หมื่นกว่าอาคาร ใน 76 จังหวัด ทางท้องถิ่นได้แจ้งให้เจ้าของอาคารตรวจสอบอยู่ และรายงานให้กรมโยธาธิการและผังเมืองทราบในทุก 15 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ม.นเรศวร" สั่งเลิกจ้าง "ดร.พอล" โดนร้องทำผิดคดี 112 ตม.ยึดหนังสือเดินทาง เหตุถูกเพิกถอนวีซ่า
สศร. เผยโฉมทัพศิลปินไทย-ต่างชาติกลุ่มสอง 15 ศิลปิน "กลุ่มศิลปิน" ร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยในงาน Thailand Biennale, Phuket 2025
"มหาดไทย" ขับเคลื่อนจัดรูปที่ดินนราธิวาส สุไหงโก-ลก พลิกโฉมเมืองชายแดน สู่การเติบโตที่ยั่งยืน
ยังไม่จบ "มาดามเมนี่" อัปเดตยังได้ของคืนไม่ครบ ยื่นคำขาด 10 วัน ลั่นขอเจรจา "ดิว อริสรา" ปมยืมของหรู
เปิดปฏิบัติการ "FOX Hunt" ทลายแก๊งหลอกลงทุน FOX Wallet ปลอม รวบ 8 สมาชิกจีนดำ-ไทยดำ ยึดทรัพย์กว่า 3 ล้านบาท
"บิ๊กต่าย" สั่งสอบ ตร.พาผู้ต้องหา ลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด
กรุงไทยนำเทรนด์! จับมืออินฟลูฯสายท่องเที่ยว สร้างปรากฏการณ์ TOURIST สู่ TOURICH ผ่าน Krungthai Travel Debit Card
สสจ.มุกดาหาร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" เพิ่ม 1 ราย รอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงอีก 3 ราย
TPIPL จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
เพราะทะเลคือชีวิต ซีพีร้อยเรียงความดีผนึกชุมชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 76 ล้านตัว สร้างความยั่งยืนให้ชายฝั่งตราด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น