นาทีผู้ชุมนุมเซอร์เบียแตกฮือ คาดหนีคลื่นเสียง

-คลิปไวรัลเผยนาทีผู้ชุมนุมประท้วงรัฐบาลเซอร์เบีย จู่ ๆ แตกฮือแยกย้ายไปคนละทาง จุดชนวนสงสัยมีการใช้อาวุธเสียงต้องห้ามสลายม็อบ รัฐบาลปัดข่าวปลอม ขณะที่กลุ่มสิทธิฯและฝ่ายค้านจี้สอบสวนอย่างเป็นอิสระ

 

 

เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา ชาวเซอร์เบียออกมาชุมนุมประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เพื่อแสดงพลังว่าพวกเขาหมดความอดทนกับปัญหาคอรัปชั่นเรื้อรังในประเทศ ต่อมามีประเด็นใหม่เกิดขึ้น เมื่อในโลกออนไลน์ มีการเผยแพร่คลิปแสดงให้เห็นว่า ในช่วงที่ผู้ประท้วงพร้อมใจกันสงบนิ่ง 15 นาที เพื่อไว้อาลัยเหยื่อหลังคาสถานีรถไฟพังถล่มซึ่งเป็นจุดเริ่มของการประท้วงรัฐบาล จู่ ๆ เสียงแหลมแสบแก้วหูดังขึ้นมา ผู้ชุมนุมแตกตื่นวิ่งหนีหาที่หลบภัยกันโกลาหลจนล้มเหยียบกันบ้างก็มี

เหตุการณ์ในคลิปนำไปสู่ข้อกล่าวหาว่า ทางการหรือฝ่ายความมั่นคงเซอร์เบีย ใช้อาวุธเสียง ซึ่งเป็นอาวุธต้องห้ามกับผู้ชุมนุม แต่ประธานาธิบดี อเล็กซานเดอร์ วูซิช ผู้นำเซอร์เบียออกมาปฏิเสธ และอ้างว่าเป็นการสร้างเรื่องโกหกประสงค์ร้ายมุ่งทำลายเซอร์เบีย เขาบอกด้วยว่า จะเชิญสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ FBI กับสำนักงานความมั่นคงสหพันธ์รัฐ หรือ FSB ของรัสเซีย มาร่วมสอบสวนด้วย ขณะเดียวกัน ก็จะสอบหาคนที่สร้างเรื่องว่ามีการใช้อาวุธโซนิคบูม

เจ้าหน้าที่เซอร์เบีย ยอมรับว่า ตำรวจเพิ่มอาวุธเสียงเป็นหนึ่งในเครื่องมือควบคุมฝูงชนเมื่อสองปีที่แล้ว แต่ยืนยันว่าไม่ได้นำมาใช้ในที่ชุมนุมเมื่อวันเสาร์

กลุ่มสิทธิมนุษยชนและฝ่ายค้าน เคลื่อนไหวเรียกร้องให้สอบสวนอย่างเป็นอิสระ และเตรียมยื่่นฟ้องต่อศาลในประเทศและระหว่างประเทศกับผู้อยู่เบื้องหลัง คำร้องออนไลน์ที่ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงในเซอร์เบียจัดทำขึ้น เพื่อเรียกร้องสหประชาชาติ สภายุโรป และองค์การเพื่อความร่วมมือและความมั่นคงยุโรป สอบสวนเรื่องการใช้อาวุธเสียงกับการประท้วงอย่างสันติในกรุงเบลเกรด และสอบสอบสวนผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ชุมนุม มีผู้ร่วมลงชื่อทะลุครึ่งล้าน

ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ระบุว่า ผู้ที่สัมผัสกับอาวุธเสียง จะรู้สึกปวดหูอย่างรุนแรง สับสน และตื่นตระหนก หากสัมผัสเป็นเวลานาน อาจทำให้แก้วหูแตกและสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร หลายคนที่อ้างว่าอยู่ในจุดเกิดเหตุ แชร์ประสบการณ์บนโซเชียลว่า พวกเขารู้สึกปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้ และมึนงง นอกจากนี้มีผู้เชี่ยวชาญบางคน กล่าวหาว่า เครื่องส่งคลื่นความถี่สูง หรือ LRAD ( Long Range Acoustic Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงความถี่สูงได้ไกลมาก ผลิตในสหรัฐฯ ถูกนำมาใช้ในการชุมนุมเมื่อวันเสาร์ แต่เป็นคำกล่าวอ้างที่ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นอิสระ

การชุมนุมประท้วงในเซอร์เบีย มีจุดเริ่มจากโศกนาฏกรรมหลังคาคอนกรีตสถานีรถไฟ ที่เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศพังถล่ม เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 15 ราย หลังจากที่เพิ่งปรับปรุงใหม่และเปิดใช้เพียงสองปี ผู้ประท้วงมองว่าสาเหตุรากเหง้ามาจากการคอรัปชั่นในภาครัฐ และการปล่อยปละละเลยมาตรฐานความปลอดภัย
นักศึกษาออกมาประท้วงในระยะแรก ก่อนขยายวงกว้างครอบคลุมประชาชนหลายภาคส่วน การชุมนุมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแสดงพลังครั้งใหญ่สุดของมวลชนที่ประเมินว่าอาจมากถึง 3 แสนกว่าคน กำลังสั่นคลอนอำนาจประธานาธิบดีวูซิช ที่ผูกขาดมานานกว่า 10 ปี ขณะที่วูซิช ระบุว่าการประท้วงที่นำโดยนักศึกษา เป็นแผนการตะวันตกที่จ้องโค่นล้มเขา และเตือนว่าคนที่แพร่ข่าวปลอมต่าง ๆ นานา จะถูกดำเนินคดีในศาล

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แอ๊ด-หงา-ปู" ประกาศจุดยืน ปล่อยเพลงต้านนโยบายกาสิโนเพื่อไทย
"หมอตุลย์" เดินหน้ายื่นปธ.วุฒิฯ ส่งคำร้องศาลรธน.วินิจฉัย "อุ๊งอิ๊ง" พ้นรมว.วัฒนธรรม พร้อมหยุดปฏิบัติหน้าที่
"นิพิฏฐ์" เตือน "แพทองธาร" เสี่ยงมาก เลี่ยงย้ายทำหน้าที่รมว.วัฒนธรรม ชี้คำร้องเรื่องคุณสมบัติ เป็นไปตามรธน.มาตรา 160
"อุตุฯ" เตือน 45 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง กทม.ไม่รอด ร้อยละ 70 ของพื้นที่
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) วนอุทยาน 'ไซห่านป้า' ผืนป่าฝีมือมนุษย์ใหญ่สุดในโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซี่ยงไฮ้ต้อนรับ 'นักท่องเที่ยวต่างชาติ'พุ่งสูง คนไทยติดอันดับ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) มวยไทย-ระบำเอ็งกอ ผูกโยงวัฒนธรรมไทย-จีน
ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ตามประเภทกิจการ พื้นที่กำหนด มีผลทันที
"หนุ่มถูกจับเมาขับ" หัวร้อน ทำร้ายตำรวจสิบเวรหน้าห้องขัง เหตุญาติไม่มาประกันตัว พาครอบครัวไหว้ขอขมาก่อนรับเพิ่ม 1 ข้อหา
"แม่ค้าก๋วยจั๊บ" สระบุรี  ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 รับ 6 ล้านบาท ดีใจแจกก๋วยจั๊บให้ชาวบ้านทานฟรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น