“รมว.สุดาวรรณ” นำทีมผู้บริหารวธ.ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบูรณะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาที่เสียหายหนักจากน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว

"รมว.สุดาวรรณ" นำทีมผู้บริหารวธ.ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการบูรณะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลาที่เสียหายหนักจากน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา” ในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 1/2568 ณ จังหวัดสงขลา

 

 

โดยมีนายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางโชติกา อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ

และเจ้าหน้าที่กระทรวงวัฒนธรรมและผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2421 สมัยรัชกาลที่ 5

และเมื่อปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และดำเนินการบูรณะ แต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ.2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งนี้ ได้รับผลกระทบที่เกิดจากฝนตกหนัก มีน้ำท่วมขัง

ทำให้อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา มีสภาพชำรุด กระเบื้องหลังคาแตกชำรุดน้ำฝนรั่วบริเวณหลังคา ไม้ฝ้าเพดานเปื่อย ผนังปูนมีรอยแตกร้าว

ซุ้มประตูและกำแพง เหล็กขึ้นสนิมและสีหลุดร่อน ผนังปูนแตกร้าว ไฟฟ้าสนามและไฟส่องอาคารชำรุดเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ ห้องน้ำมีสภาพชำรุดทรุดโทรม

และไม่เพียงพอต่อการให้บริการนักท่องเที่ยวและกลุ่มผู้ใช้บริการ เช่น กลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ เนื่องจากห้องน้ำมีจำนวนน้อยและไม่มีห้องน้ำสำหรับผู้พิการ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อติดตามข้อสั่งการที่ได้ให้กรมศิลปากร โดยสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา เร่งดำเนินการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยเป็นการเร่งด่วน ซึ่งได้รับรายงานจากอธิบดีกรมศิลปากรว่า ที่ผ่านมา วธ.โดยกรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการบูรณะอาคารจัดแสดง และปรับปรุงภูมิทัศน์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ได้แก่

1. บูรณะอาคาร
2.บูรณะซุ้มประตู กำแพงรั้ว
3.ก่อสร้างห้องน้ำ
4.ปรับปรุงระบบไฟฟ้า
5. ติดตั้งระบบกล้อง CCTV
6.ปรับภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

 

 

 

ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการบูรณะซ่อมแซม แต่การดำเนินการมีความล่าช้าออกไปบ้างจากแผนงานที่กำหนดเอาไว้ เนื่องจากช่วงปลายปีที่แล้วมีฝนตกค่อนข้างชุก

อีกทั้งสภาพอาคารพิพิธภัณฑ์มีความเก่าแก่ หลังคาชำรุดเสียหายมากและต้องปรับปรุงเพิ่มเติมหลายส่วน เช่น ห้องน้ำที่มีจำนวนน้อยและคับแคบ

จึงดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและขนาดห้องกว้างขวางมากขึ้น เพื่อรองรับผู้เข้ามาเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ทุกกลุ่มทั้งเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการให้ได้รับการอำนวยความสะดวกมากที่สุดและใช้บริการได้มากขึ้น

“เท่าที่ได้หารือกับอธิบดีกรมศิลปากรและผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 11 สงขลาได้รับรายงานว่า ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการบูรณะปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

เพื่อให้แล้วเสร็จทันเวลาตามแผนงานที่กำหนดไว้ ดิฉันจึงได้กำชับให้การบูรณะปรับปรุง ขอให้คงรูปแบบเดิมของอาคารไว้ให้มากที่สุด เพื่อคงสภาพความเป็นโบราณสถานของชาติ

รักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศ และส่งเสริมให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้

ได้รับการอนุรักษ์ดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพอาคารและภูมิทัศน์โดยรอบมีความสวยงาม เหมาะสมกับความเป็นโบราณสถานของชาติ

 

 

 

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่า จะดำเนินการซ่อมแซมแล้วเสร็จใกล้เคียงตามเวลาที่กำหนดไว้โดยตั้งเป้าหมายจะทยอยเปิดให้เข้าชมบางส่วนในปีนี้

จะต้องของบประมาณเพิ่มเติมในการบูรณะปรับปรุงและดูแลในปีถัดไป ที่สำคัญกรมศิลปากรตั้งเป้าหมายพัฒนาให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน

เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลาให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติมาเที่ยวชมและศึกษาเรียนรู้

ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมและเศรษฐกิจ ช่วยส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลาและประเทศ” นางสาวสุดาวรรณ กล่าว

 

ทั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เดิมเป็นคฤหาสน์ของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2421 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

โดยแรกเริ่มเป็นคฤหาสน์ของสายตระกูล ณ สงขลา ต่อมาเป็นสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งเป็นศาลากลางจังหวัดสงขลาก่อนจะย้ายไปสร้างที่ใหม่

และเมื่อ พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานด้วยคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และศิลปกรรมที่สวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์แบบจีนผสมยุโรป

ต่อมากรมศิลปากรเริ่มดำเนินการบูรณะเพื่อเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2525

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อย่าหลงเชื่อ "คลิปวัดร่องขุ่นถล่ม" ว่อนโซเชียลฯ "อ.เฉลิมชัย" ลั่น AI มันร้าย
"ไพศาล" เผย "อนุทิน" พูดเองภท.ไม่มีปัญหาร่วมรัฐบาล ยังสนิทแน่นแฟ้น "ทักษิณ"
"ท็อป วราวุธ"นำประชุมพรรคชาติไทยพัฒนา เผยยึดคำพ่อบรรหาร เน้นทำงานให้ปชช. สร้างพันธมิตรการเมือง
"นายกฯ" ขอบคุณทุกภาคส่วน พอใจนโยบายลดตายเจ็บ 7 วันอันตราย ลดลงกว่าปีที่แล้วกว่า 25%
"นทท.ต่างชาติ" ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล เริ่ม 1 พ.ค.นี้ ตามกฎใหม่
เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” หลังออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
"อุตุฯ" เตือน 49 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง กทม.โดนด้วย
ชายแดนไทย-เมียนมา ระอุต่อเนื่อง "ทหารเมียนมา" ใช้เครื่องบินรบทิ้งระเบิด ใส่กกล.KNLA ก่อนถูกบุกโจมตีตอบโต้ หนีเข้าไทยอื้อ
"ลักลอบ" นำเข้าสัตว์ต่างถิ่น ปัญหาโลกแตกของไทย
"พีช" หนุ่มขับ BMW คุมอารมณ์ไม่อยู่ โวยสื่อหลังโดนกล้องกระเเทกหัว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น