“เผ่าภูมิ” โชว์ผลงาน แจกเงินหมื่นเฟส 1 กระจายเงินสู่จังหวัดยากจน ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี

เผ่าภูมิ โชว์ผลแจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 เงินลงจังหวัดยากจน ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี 68% ลงร้านชุมชน 82% ใช้หมด 3 เดือน ตัวชี้วัดเศรษฐกิจพุ่ง

“เผ่าภูมิ” โชว์ผลงานแจกเงินหมื่นเฟส 1 กระจายเงินสู่จังหวัดยากจน ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี – Top News รายงาน

เผ่าภูมิ

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึง ผลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 หรือ แจกเงิน 10,000 บาท เฟส 1 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ จากการประมวลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังนี้

1.“เงินกระจายถูกฝาถูกตัว” กล่าวคือ จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ได้รับเงินสูง คือ จังหวัดยากจน มี GPP per Capita หรือผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวต่ำ ภูมิภาคที่รับเงินมากอยู่ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งทำให้ภูมิภาคเหล่านี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากที่สุด

2.“เงินกระจายทั่วถึงทุกพื้นที่” ครอบคลุมครบทุกตำบลทั่วประเทศไทย กล่าวคือ ไม่มีตำบลใดเลยที่ไม่ได้รับเงิน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

3.“เงินพุ่งสู่ร้านเล็ก ร้านในชุมชน” ร้อยละ 68 นำเงินไปใช้จ่ายในร้านค้าชุมชน/ร้านขายของชำ ร้านหาบเร่แผงลอยทั่วไป/ร้านค้าในตลาด ร้อยละ 30 นำไปใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อและ Modern Trade และที่เหลืออีกร้อยละ 2 ใช้จ่ายในร้านอื่นๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าการเกษตร ร้านออนไลน์ เป็นต้น

4.“ส่วนใหญ่ใช้เงินหมดใน 3 เดือน” โดยร้อยละ 82 จะใช้จ่ายเงินหมดภายใน 3 เดือน ขณะที่ภายใน 1 เดือน อยู่ที่ร้อยละ 21 และ 1-3 เดือน ร้อยละ 61

5.“ตัวชี้วัดเศรษฐกิจ พุ่ง” ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 56.9 ในไตรมาสที่ 4 สูงขึ้นกว่าไตรมาสที่ 3 ที่ระดับ 56.5 ดัชนีความเชื่อมั่น MSMEs ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 53.0 ในไตรมาสที่ 4 จากระดับ 49.6 ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค การท่องเที่ยว การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น โดยตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะเดือนตุลาคม ที่เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจเต็มเดือน

 

6.“ลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้น 3 ปี” การศึกษาดัชนี GINI ซึ่งใช้วัดความเหลื่อมล้ำ หากลดลงแปลว่ามีความเท่าเทียมเพิ่มขึ้น ของกระทรวงการคลังพบว่า พบว่าช่วยลดระดับดัชนี GINI ได้ 0.01 จุด ทั้งดัชนี GINI ด้านรายได้ และดัชนี GINI ด้านรายจ่าย กล่าวคือ ลดระดับความเหลื่อมล้ำลงได้ และหากเปรียบกับกรณีที่ไม่มีโครงการนี้ การที่ดัชนี GINI ลดลงได้ 0.01 จุดดังกล่าว มักใช้เวลานานถึง 3 ปี อ้างอิงตามแนวโน้มการพัฒนาการเศรษฐกิจในอดีต กล่าวคือ โครงการนี้ร่นระยะเวลาลดความเหลื่อมล้ำประเทศเร็วขึ้น 3 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา
ไฟไหม้โรงแรมกลางเมืองที่อินเดียดับ 15 คน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น