นักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนาโฟมที่ย่อยสลายได้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่นและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจง พัฒนาโฟมที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ และย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ซึ่งสามารถดูดซับไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำได้ 99.8%

โฟมทำจากไคตินในกระดูกปลาหมึก และเซลลูโลสฝ้าย มีโครงสร้างเป็นรูพรุน ซึ่งสามารถดูดซับไมโครพลาสติกได้ โดยนักวิจัยทดลองประสิทธิภาพโฟมในแหล่งน้ำต่างๆ ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ Wu Yang นักวิจัยกล่าวว่า จากการทดสอบในแหล่งน้ำ 4 แห่ง คือ แหล่งน้ำชลประทาน ทะเลสาบ ทะเล และบ่อน้ำ พบว่า ในการใช้งานครั้งแรก โฟมสามารถดูดซับไมโครพลาสติกได้มากถึง 99.8% และเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ 5 ครั้ง ก็ยังสามารถดูดซับไมโครพลาสติกได้ 95% การพัฒนาโฟมจากไคตินในกระดูกปลาหมึก ยังเป็นการนำกระดูกปลาหมึกที่เป็นของเสีย กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย
.
ทีมนักวิจัยยื่นขอจดสิทธิบัตรสําหรับเทคโนโลยีนี้แล้ว Deng Hongbing หนึ่งในนักวิจัยกล่าวว่า งานวิจัยนี้จะช่วยต่อยอดในการสร้างนวัตกรรมบำบัดน้ำในทะเลสาบขนาดเล็ก โรงงานผลิตน้ำ ท่อประปา และเครื่องกรองน้ำในครัวเรือนได้
.
คลิปจาก China Media Group

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ฮุน มาเนต" อวยสุด ไม่มีพรรคการเมืองแทนที่ CPP ได้ เชื่อชาวกัมพูชา ยังต้องการ ฮุน เซน เป็นรากฐานมั่นคง
"อดีตผู้พิพากษาอาวุโส” ศาลฏีกา ขยายความ เหตุพยานกลุ่มแพทย์พยาบาล รักษา "ทักษิณ" โดนเรียกไต่สวน วันนี้
"อุตุฯ" เตือน 41 จังหวัด รับมือฝนตกหนักถึงหนักมาก กทม.ก็ไม่รอด
ทีมกรมที่ดินพา "น้อง AI-Din" คว้ารางวัลชนะเลิศสูงสุดในโครงการ Tech for Gov: NextGen GovAI Training Program
"บิ๊กโจ๊ก" ยื่นเรื่อง ขอให้ประธานศาลปกครองสูงสุด ตรวจสอบตุลาการเจ้าของสำนวน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) บานกระจกนับหมื่นแปลงแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าในซินเจียง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเปิดตัว 'หุ่นยนต์กำจัดวัชพืช' ด้วยเลเซอร์อัจฉริยะ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เรือพลังแอมโมเนีย 'ลำแรกของโลก ้เปิดเที่ยวปฐมฤกษ์ในจีน
"อธิบดีกรมฝนหลวงฯ" ร่วมสนับสนุน "มังคุดคัดภาคใต้" เพิ่มช่องทางการจำหน่าย-กระจายสินค้าเกษตรตรงสู่ผู้บริโภค
ผู้ประกอบการธุรกิจกลางคืน ผุดไอเดีย ช่วยเจ้าของกิจการลดภาระ แจกอาหารให้กับพนักงาน-คนทำกลางคืน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น