เพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ” เคลื่อนไหวค้านปม “เศรษฐา” พ้นเก้าอี้นายกฯ เรียกร้องห้ามเกิดขึ้นอีก

27 องค์กรเครือข่าย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ออกแถลงการณ์ หลัง “เศรษฐา” พ้นเก้าอี้นายกฯ ย้ำ เหตุการณ์นี้ต้องไม่เกิดขึ้นอีก รวมถึงการยุบพรรคด้วย

เพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ” เคลื่อนไหวค้านปม “เศรษฐา” พ้นเก้าอี้นายกฯ เรียกร้องห้ามเกิดขึ้นอีก – Top News รายงาน

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม – United Front of Thammasat and Demonstration” เผยแพร่แถลงการณ์ เครือข่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษา และภาคประชาสังคม รวม 27 องค์กร กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ เศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง โดยมีเนื้อหาสรุปว่า

เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2567 ศาลรัฐธรรมนูญใต้ลงมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4) เนื่องจากไม่มีความชื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (5)

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

คดีนี้สืบเนื่องจากการที่สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ชุดที่แล้ว 40 คน ได้ยื่นคำร้องผ่านประธานวุฒิสภา ขอให้นำส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่าความเป็นรัฐมนตรีของ เศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลงหรือไม่ กรณีเพื่อนำโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ

โดยผลจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำของฝ่ายบริหาร ต้องพ้นจากตำแหน่งทันที และส่งผลให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาล “เศรษฐา” ต้องหลุดจากตำแหน่งทั้งคณะ แต่ยังคงต้องทำหน้าที่รักษาการต่อไปจนกว่าการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่จะเสร็จสิ้น

ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นอีกครั้งที่นายกรัฐมนตรีถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ้นจากตำแหน่ง จากเรื่องคุณสมบัติ-ลักษณะต้องห้าม-จริยธรรม โดยการร้องเรียนครั้งนี้มาจากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหาของคนกลุ่มหนึ่ง และมิได้ผ่านการเลือกตั้งที่มีการออกเสียงโดยประชาชน โดยครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่ 3 ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่มีการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2540

 

คำว่า “จริยธรรม” เป็นคำที่มีความหมายกว้างและสามารถตีความได้หลายแบบจนขาดมาตรฐานที่ชัดเจนว่าแท้จริงแล้วเกณฑ์ในการวัดเรื่องจริยธรรมนั้นเป็นเช่นใด ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าเรามิอาจปฏิเสธความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับกฎหมายจริยธรรม โดยเฉพาะจริยธรรมทางการเมืองที่ถูกวางอยู่ในรัฐธรรมนูญนั้น มิอาจขัดต่อวัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ของกฎหมายตามหลักนิติรัฐและหลักการปกครองในระบอบประชาธิปโตย ซึ่งก็คือความยุติธรรม การพิทักษ์สิทธิเสรีภาพประชาชน และความเสมอภาคต่อกฎหมาย หรือความยุติธรรมสาธารณะ (Public Justice)

ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้ เครือข่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษา และภาคประชาสังคม ขอเรียกร้องว่าไม่ควรมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในประเทศไทย เราเชื่อว่าเจ้าของอำนาจที่แท้จริงคือประชาชนมิใช่องค์กรอิสระที่มาจากการแต่งตั้งโดยมิได้มีการยึดโยงใดๆ กับประชาชนมาเป็นผู้ตัดสินว่าบุคคลใดต้องพ้นจากตำแหน่ง หรือการสั่งยุบพรรคการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการก่อตั้งขึ้นมา

 

แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โอละพ่อ ! ช่างก่อสร้าง อ้างถูกโกงค่าแรง ที่แท้เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์
สระแก้ว ย้ายด่วนเรื่องฉาวครูลวนลามเด็กนักเรียนหญิง
“ไอซ์” 1 ใน 5 ผู้ต้องหาตามหมายจับคดีปล้นเงิน 3.4 ล้าน กลางห้างดังย่านลาดพร้าว ย่องเข้ามอบตัวแล้ว
“ทบ.” รับมอบเหรียญมงคล 700 เหรียญ ส่งกำลังใจให้ทหารชายแดนไทย-กัมพูชา ปฏิบัติหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ
ฉะเชิงเทรา ปลาช่อนลอดถ้ำสมุนไพร ของดี 8 ริ้วที่ต้องบอกต่อ
ผบ.กองเรือยุทธการ ลงพื้นที่ นรข.อุบลฯ เยี่ยมครอบครัว 'จ่าชล' ทหารหมวดเรือชายแดนเกาะกูด ที่ภรรยาใกล้คลอด สร้างขวัญกำลังใจ
ศาลบุรีรัมย์ พิพากษาจำคุก 12 เดือน “ชูวิทย์” หมิ่นประมาท “ศักดิ์สยาม–เนวิน” กล่าวหาเท็จทุจริตรถไฟฟ้าสายสีส้ม–ฮุบที่ดินร.ฟ.ท.
ทรัมป์ขู่เก็บภาษีญี่ปุ่นเพิ่มเป็น 35% หลังไม่ยอมซื้อข้าว
สื่อสิงคโปร์ชี้อาณาจักรชินวัตรถึงกาลอวสาน
"ชัชชาติ" พาคนกรุงฯแบกภาระดอกเบี้ยวันละ 5.4 ล้าน ต่อไป อ้างเหตุยื้อจ่ายหนี้ BTS งวด 2 รอศาลปกครองชี้ผลคดีค้างชำระเงิน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น