“ไทยสมายล์บัส” รุกพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเทียบเคียง “ไต้หวัน” หวังปรับใช้ HOP Card เชื่อมต่อการเดินทาง ขยายชำระเงินครอบคลุมทุกรูปแบบ

"ไทยสมายล์บัส" รุกพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเทียบเคียง "ไต้หวัน" หวังปรับใช้ HOP Card เชื่อมต่อการเดินทาง ขยายชำระเงินครอบคลุมทุกรูปแบบ

นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด หรือ TSB ผู้นำในธุรกิจรถโดยสารสาธารณะพลังงานไฟฟ้า เปิดเผยว่า บริษัทมุ่งมั่นยกระดับระบบขนส่งมวลชนของไทยให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สะอาด ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในหลายประเทศที่มีลักษณะโครงสร้างการคมนาคมขนส่งใกล้เคียงกับประเทศไทย คือ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง ที่ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งรุดหน้าเป็นอย่างมาก หลายเมืองได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่ ทั้งกฎระเบียบข้อบังคับจนถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ การร่วมมือกันของภาคเอกชน ส่งผลให้รูปแบบการขนส่งสาธารณะจากรถสันดาป ปรับเปลี่ยนมาสู่พลังงานสะอาด ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า(EV-Bus)เหมือนกับในประเทศไทย ของไทย สมายล์ บัส ที่เป็นรูปแบบรถเมล์พลังงานสะอาด ไม่ปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม

 

 

 

 

นาย วรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า การเดินทางมาศึกษาดูงานเรื่องระบบคมนาคมขนส่งที่ประะทศไต้หวันครั้งนี้ ได้เห็นถึงตัวอย่างการเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งโดยใช้บัตรใบเดียว“ไทย สมายล์ บัส” จะนำแนวทางโมเดลระบบขนส่งสาธารณะของไต้หวันไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ให้บริการอื่นๆ ซึ่ง “ไทย สมายล์ บัส” ได้มีการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างรถกับเรือไว้เรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกัน จากการศึกษางานระบบขนส่งสาธารณะในครั้งนี้ มองว่า จะสามารถนำกลับมาใช้กับประเทศไทยได้อย่างแน่นอน เพราะระบบขนส่งสาธารณะของไทยและไต้หวัน โดยเฉพาะระบบเทคโนโลยี มีความใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่ระบบขนส่งสาธารณะของไทยยังไม่เทียบเท่าของไต้หวัน คือ ระบบสาธารณูปโภค การจัดสรรพื้นที่ เส้นทางที่รถวิ่ง รวมถึงภาพนโยบายการสนับสนุนผู้ให้บริการ ซึ่งของไต้หวันมีทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจที่ไปในทิศทางเดียวกัน

นายวรวิทย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของระบบขนส่งสาธารณะของไทย จะต้องมีการหารือกันอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นการดำเนินการเพียงเจ้าเดียว แต่จะดำเนินการอย่างไร ให้การเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะทั้งรัฐและเอกชนในรูปแบบใด โดยในส่วนของรัฐวิสาหกิจ มีการสนับสนุนจากภาครัฐ และธุรกิจระบบขนส่งสาธารณะค่อนข้างมีการผูกขาด ดังนั้น จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ผู้ให้บริการอยู่รอด และแข่งขันบนมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งถือเป็นจุดที่บริษัทจะนำกลับไปพิจารณาเพิ่มเติม

ทั้งนี้ จากการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะของไต้หวัน มองว่า ยังมีโอกาสที่ระบบขนส่งสาธารณะไทยจะมีความใกล้เคียงกับไต้หวันมากขึ้น โดยจากที่เห็นภาพของตัวรถโดยสาร และเทคโนโลยี ไทยมีความเทียบเท่าไต้หวัน หรืออาจจะเหนือกว่า รวมถึงเรื่องคอนเซป ของไทย ที่ไปไกลกว่าใต้หวันแล้ว

นายวรวิทย์ ระบุว่า ระบบขนส่งสาธารณะของที่ไทยยังเเข่งขันไม่ได้ คือ การเชื่อมต่อระหว่างขนส่งกับขนส่งด้วยกัน ในการทำให้บัตรใบเดียวสามารถใช้ บริการระบบสาธารณะได้ทุกรูปแบบ แต่ทั้งนี้ในรูปแบบของบัตรที่นำมาเชื่อมต่อนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการว่าจะใช้บัตรของผู้ให้บริการรายใด ซึ่งบริษัท พร้อมที่จะร่วมผลักดันตรงจุดนี้กับหน่วยงานต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน ในส่วนของ “ไทย สบายล์ บัส“ จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง ( MOU ) เรื่องของการแชร์ข้อมูลเส้นทางรถ รวมถึงสถานะรถของบริษัทเข้ากับช่องทางของรัฐ ในวันที่ 5 ก.ค.นี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีในการทำให้ภาพรวมระบบขนส่งสาธารณะเกิดความราบรื่นยิ่งขึ้น โดย”ไทย สบายล์ บัส“ พร้อมที่จะเปิด และทำให้การให้บริการประชาชนร่วมกัน ของภาครัฐวิสาหกิจ และเอกชน อื่นๆ ทั้งในเรื่องของข้อมูลพื้นฐาน หรือระบบหลังบ้านเพื่อให้ระบบขนส่งมีการเชื่อมต่อกันอย่างจริงจัง

นอกจากการศึกษาโมเดลระบบการชำระเงินของไต้หวันแล้ว ล่าสุด บริษัทได้พัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus เพิ่มฟังก์ชันให้หลากหลาย อาทิ ตรวจสอบเวลาเดินรถ เมื่อกำลังเข้าป้าย คำนวณระยะเวลาเดินทาง มากกว่านั้นยังมีระบบสำหรับผู้ลงทะเบียนบัตร HOP Card โดยเฉพาะ ให้สามารถเช็กประวัติการเดินทางย้อนหลัง ขึ้น-ลงที่ป้ายใด เวลากี่โมง พร้อมประเมินความพึงพอใจหรือร้องเรียนติชมพนักงานผู้ให้บริการ แล้วส่งข้อมูลตรงถึงฝ่ายปฏิบัติการได้ทันทีทำให้ปัญหาของผู้โดยสารจะได้รับการตรวจสอบ แก้ไขได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันแผนการพัฒนาแอปพลิเคชันในระยะต่อไปจะมีฟังก์ชันใหม่ๆ เข้ามาตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น Personal AVM การแตะอัปเดตบัตรโดยสารด้วยเทคโนโลยี NFC จากสมาร์ตโฟน เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ บริษัทจะรุกทำการตลาดมากขึ้น โดยตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มผู้ถือบัตร Hop Card เป็นจากปัจจุบัน 1.4 แสนใบ (ลงทะเบียนใช้งาน ราว 5 หมื่นใบ) เป็น 3-4 แสนใบ และเพิ่มสัดส่วนการลงทะเบียนใช้บัตร โดยมีแผนเพิ่มสิทธิประโชน์บัตร Hop Card ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาพันธมิตรหลายรายที่เจรจาแล้ว คือ กลุ่มไมเนอร์กรุ๊ป ที่ให้ส่วนลดอาหารในกลุ่ม และพันธมิตร โดย 1 เส้นทางจะมีพาร์ทเนอร์ 1-2 รายต่อเส้นทาง บริษัทมี 123 เส้นทาง ก็จะดึงพันธมิตรราว 300 ราย ที่จะดึงร้านค้าเข้าร่วม นอกจากนี้ยังขยายพันธมิตรรูปแบบ B2B ในกลุ่มโรงเรียน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าอีกด้วย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หวิดดับ ! สาวโรงงาน ขี่จยย. เกี่ยวรถบรรทุกล้มศีรษะฟาดพื้นสาหัสกู้ภัยโร่ช่วยชีวิต
สุดผวา!! แจ้งเตือน 3 ทุ่มคืนนี้ฝนถล่มหนักในตัวเมืองคอน-หวั่นท่วมหนักกลางดึกการช่วยเหลือจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ระทึก "แท่งคอนกรีตถ่วงเครน" ร่วงกลางถนนพระราม 4 ทับรถเสียหาย 2 คัน
"กองปราบฯ" ลุยเก็บหลักฐานคดียิง "สจ.โต้ง" พร้อมเชิญ "ดาบใจ" ตำรวจชุดดูแลความปลอดภัย สอบเครียดทั้งคืน
"บิ๊กโอ๋" บินด่วนลงพื้นที่ "อุ้มผาง" สอบเหตุปาบึ้มหน้าเวทีรำวง
“เทพมนตรี” โต้ “ทักษิณ” ปม MOU44 ชี้ไทยเสียเปรียบ มีบางคนได้ประโยชน์
"อารี" มอบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรนวดศรีษะ สร้างรายได้ ประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องปรับอากาศ
"เสี่ยเน้า" อดีตโปรโมเตอร์มวยไทยชื่อดัง เผยสนิท "สจ.โต้ง" ชี้เขาเป็นคนจิตใจดี ไม่คิดร้ายกับใคร
อัปเดตล่าสุดยอดเสียชีวิต-บาดเจ็บ อื้อ "งานกาชาดอุ้มผาง" 2 มือบึ้ม เปิดปากสาเหตุลงมือโหด
อาละวาด ! กลุ่มโจ๋อาละวาด เบิ้ลเครื่อง จยย. ใส่วัยรุ่น ก่อนตามไล่แทงทั่วร่างกายสาหัส "แม่" วอน ตำรวจเร่งติดตามคนร้าย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น