สหรัฐ ส.ส. วอนปธน. หยุดส่งอาวุธให้อิสราเอล

ส.ส. พรรครัฐบาลของสหรัฐ ร่วมลงนามวอนประธานาธิบดี หยุดส่งอาวุธให้อิสราเอล มีเปโลซีรวมอยู่ด้วย ในขณะที่ UN มีมติ เรียกร้องนานาชาติ หยุดขายอาวุธให้อิสราเอล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ขณะนี้ นางแนนซี เปโลซี สมาชิกพรรคเดโมแครต และเป็นอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นคนหนึ่ง ที่ใกล้ชิดประธานาธิบดีโจ ไบเดนเป็นอย่างมาก ได้ร่วมกับสมาชิกพรรคอีก 36 คน ลงนามในจดหมายถึงไบเดน และนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐ โดยภายในจดหมายระบุว่า การโจมตีเมื่อเร็วนี้ ต่อเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ รวมถึงวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ เราจึงเห็นว่า การอนุมัติจัดสิ่งอาวุธเหล่านี้ถึงอิสราเอล เป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม หากพบว่าการโจมตีครั้งนี้ละเมิดกฎหมายของสหรัฐหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เราขอแนะนำให้ระงับการจัดส่งอาวุธเหล่านี้ต่อไป จนกว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจะแสดงความรับผิดชอบ

นอกจากนี้ ในจดหมายยังมีการเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของไบเดน ทำการสอบสวนถึงการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล ที่ทำให้เจ้าหน้าที่ 7 คนขององค์กรการกุศลเวิลด์ เซ็นทรัล คิทเช่น (หรือ WCK) ต้องถูกสังหารด้วย ซึ่งสำหรับการลงนามครั้งนี้นั้น ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า มุมมองดังกล่าวกำลังกลายเป็นกระแสหลักในพรรคมากขึ้นเรื่อยๆ และก่อนหน้านี้ หลังจากที่เกิดเหตุโจมตีเจ้าหน้าที่ขององค์กรดังกล่าว เปโลซีก็ได้มีคำแถลงออกมาทันทีด้วยว่า รัฐบาลอิสราเอลต้องอนุญาตให้มีการจัดส่งความช่วยเหลือช่วยชีวิตไปยังครอบครัวผู้บริสุทธิ์ในฉนวนกาซาให้ได้ตลอด และรับรองว่า ผู้ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือมีเส้นทางที่ปลอดภัย ความหิวโหยไม่สามารถกลายมาเป็นอาวุธสงครามได้

ขณะเดียวกัน ทางด้านของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้ทำการลงมติเรียกร้องให้นานาประเทศ หยุดขายหรือจัดส่งอาวุธให้กับอิสราเอล โดยสมาชิกทั้ง 47 ประเทศ ได้ลงมติเห็นชอบมติดังกล่าวด้วยคะแนนเสียง 28 ต่อ 6 เสียง ส่วนผู้งดออกเสียงมีอยู่ 13 เสียง ทั้งนี้ คะแนนเสียงของประเทศพันธมิตรตะวันตกนั้น เป็นไปในแบบที่แตกต่างกัน โดยสหรัฐและเยอรมนี คัดค้านมตินี้ ด้านฝรั่งเศสและญี่ปุ่นงดออกเสียง ขณะที่เบลเยียม ฟินแลนด์ และลักเซมเบิร์กลงมติเห็นชอบ

หลังการลงมติดังกล่าวผ่านไปนางเมราฟ ไอลอน ชาฮาร์ ผู้แทนถาวรของอิสราเอลประจำสหประชาชาติ ได้ทำการประท้วงมตินี้ โดยระบุว่า ตนรู้สึกผิดหวังกับบรรดาประเทศยุโรป และตนจะไม่เข้าร่วมการประชุมที่เหลือของวัน มติดังกล่าวคือรอยเปื้อนต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนและสหประชาชาติโดยรวม สภานี้ได้ละทิ้งและเมินการกระทำที่ร้ายแรงต่อประชาชนอิสราเอล แต่ไปปกป้องกลุ่มฮามาสมาเนิ่นนาน ซึ่งได้กลายเป็นเกราะกำบังสำหรับผู้ก่อการร้ายไปแล้ว

ทั้งนี้ แม้ว่าการลงมติดังกล่าวจะไม่มีข้อผูกมัดใดๆ แต่มติดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรงกดดันจากนานาประเทศต่ออิสราเอล อันเป็นสัญญาณของความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับการปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซา

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“สรวงศ์” แนะตั้งคนกลางถกปมเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ขออย่าปิดโอกาสเปิดกาสิโน
หอการค้าสุราษฎร์ฯ ยื่น 4 ข้อเสนอด่วน ‘หอการค้าไทย’ เร่งฝ่าวิกฤตภาษี ทวงคืนผู้นำส่งออกกุ้งของโลก
"นิพิฏฐ์" ขยายเพิ่มข้อกม. ศาลฎีกาฯไต่สวนเองป่วยทิพย์ ชั้น 14 ลั่นเจ็บรพ.พัทลุง ยังรู้ควรส่งตัวมานอนนอกคุกหรือไม่
"รัดเกล้า" ให้กำลังใจ “พีระพันธุ์” เชื่อมั่นความจริงจะพิสูจน์ได้ในไม่ช้า
แหกไส้ "พรรคส้ม" โอ๋โจรใต้สุดๆ ออกจม.เปิดผนึกยกเป็น "ขบวนการต่อสู้ปาตานี" ก่อนลบทิ้ง ร้องหยุดสังหารพลเรือน ขอให้อดทนเจรจา!
เปิด 3 รายชื่อตัวเต็ง ชิงเก้าอี้ "กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส." ลุ้นแสดงวิสัยทัศน์ 22 พ.ค.นี้
"ชัชชาติ" ย้ำเดินหน้าหาร่างผู้ประสบภัย จนท.ทำงานเต็มกำลัง หลังยอดสูญหายเพิ่มขึ้นอีก 6 ราย
"หมอวรงค์" ส่งกำลังใจแพทยสภา ตรวจสอบชั้น 14 ลั่นอย่ากังวล "สมศักดิ์" ใช้อำนาจแทรกแซง
"เรืองไกร" ร้องกกต.สอบเอาผิด "พีระพันธุ์" นั่งกรรมการบริษัท คุณสมบัติรัฐมนตรีขัดรธน.
ลมแรงซัด 'เรือล่ม' หลายลำในจีนดับ 9 สูญหาย 1

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น