รู้หรือไม่ "มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง" คร่าชีวิตคนไทย วันละ 14 ราย มากเป็นอันดับ 3 ผู้ป่วยใหม่เพิ่มวันละ 44 ราย เราจะอยู่อย่างไร…ให้ห่างไกล ป้องกันได้?
ข่าวที่น่าสนใจ
“มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง” ?
- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง เกิดจากเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตผิดปกติพัฒนากลายเป็นมะเร็ง สำหรับในประเทศไทย มะเร็งชนิดนี้พบเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งทั้งหมด แม้ว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่อัตราการเกิดสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 50 – 70 ปี และอัตราเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในผู้เคยเป็นลำไส้อักเสบ มีติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ หรือมีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว
สาเหตุ?
- ส่วนสาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง มาจาก
- น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรืออยู่ในภาวะอ้วน
- การรับประทานอาหารประเภทเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์แปรรูปอื่น ๆ
- ขาดการออกกำลังกาย
- การสูบบุหรี่
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- มีประวัติเนื้องอก ที่ผนังลำไส้ใหญ่และไม่ใช่เนื้อร้าย
- ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง
กลุ่มอาการที่บ่งชี้?
- ขณะที่กลุ่มอาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง ได้แก่
- มีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ ท้องเสียสลับกับท้องผูกไม่หาย หรือรู้สึกว่าถ่ายอุจจาระไม่สุด
- มีมูกเลือดปนหรือเลือดดำปนออกมากับอุจจาระ
- อุจจาระมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิมจากเป็นก้อนเปลี่ยนเป็นเส้นแบนคล้ายตังเม
- ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ปวดท้อง มีลมในลำไส้มาก
- น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
- เหนื่อย อ่อนเพลียไม่มีแรงตลอดเวลา
- คลื่นไส้อาเจียน
- หากเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น อาจตรวจพบว่ามีอาการซีดจากการเสียเลือดโดยไม่มีเลือดออกในอุจจาระให้เห็นได้ด้วยตาเปล่า
- ถ้ามีก้อนมะเร็งบริเวณทวารหนัก ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะคลำพบก้อน อาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด ถ่ายแล้วปวด หรือพบว่าต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต
วิธีการรักษา?
- สำหรับวิธีการรักษาโรค “มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง” ได้แก่ ผ่าตัด, รังสีรักษา, เคมีบำบัด, รักษาแบบผสมผสานด้วยวิธีการดังกล่าว แต่จะใช้วิธีการใดนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและสภาวะของผู้ป่วย
การป้องกัน?
- การป้องกันและลดความเสี่ยง แม้ว่ายังไม่มีวิธีป้องกันการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง ได้ 100% แต่มีวิธีลดความเสี่ยง ได้แก่
- ควรรับประทานอาหารครบ 5 หมู่
- รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้ง ย่าง ทอด รมควัน
- ลดอาหารประเภทเนื้อแดงและมีไขมันสูง
- ดูแลและควบคุมการขับถ่ายอุจจาระให้เหมาะสม
- สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ไม่มีอาการและไม่มีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง
- สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีประวัติมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว มีประวัติเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือมีติ่งเนื้องอกจำนวนมาก ควรได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายที่พอเหมาะ
- งดสูบบุหรี่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ไส้ตรง เป็นมะเร็งที่พบบ่อย การตรวจคัดกรองหรือระวังที่ดีและถูกต้อง จะช่วยให้ตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือมะเร็งระยะแรก ทำให้การรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที
ข่าวที่เกี่ยวข้อง