แพทย์เตือนภัย “เล่นมือถือ” ในห้องน้ำ เสี่ยง 4 อันตรายไม่รู้ตัว

เล่นมือถือ, ติดโทรศัพท์, ขับถ่าย, ห้องน้ำ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวาร, ท้องร่วง, หน้ามืด เหน็บชา, หน้าจอโทรศัพท์

เตือนภัย สายโซเชียลระวังให้ดี ใครชอบนั่ง "เล่นมือถือ" ในห้องน้ำ เสี่ยง 4 อันตรายไม่รู้ตัว เช็ค

แพทย์เตือนภัย ใครชอบนั่ง “เล่นมือถือ” ติดโทรศัพท์ ขณะขับถ่ายในห้องน้ำบ่อย ๆ ระวังให้ดี เสี่ยง 4 อันตรายย่างกรายไม่รู้ตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตในปัจจุบัน กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทุกคนต้องมีติดตัว ไม่ว่าจะใช้ในการติดต่อสื่อสารแล้ว ยังใช้ในการติดตามข่าวสาร ท่องโลกโซเชียลอีกด้วย และด้วยเหตุนี้เอง ทำให้หลายคนติดโทรศัพท์หนักมา จนถึงขั้นไปนั่ง “เล่นมือถือ” ขณะขับถ่ายในห้องน้ำ ล่าสุด แพทย์เตือนภัย ใครที่มีพฤติกรรมนี้ ระวังเสี่ยง 4 อันตรายมาเยือนโดยไม่รู้ตัว

1. ท้องผูก

  • นอกจากเรื่องอาหารการกินแล้ว การนั่งขับถ่ายอยู่บนชักโครกนาน ๆ รวมถึงการนั่งเฉย ๆ ก็เพิ่มความเสี่ยงท้องผูกมากยิ่งขึ้น
  • เนื่องจาก การใช้โทรศัพท์ขณะขับถ่ายอาจดึงสมาธิ และความสนใจในการถ่ายไปจากเรา
  • ทำให้ต้องใช้เวลาขับถ่ายนานกว่าปกติ และอาจทำให้หายปวดท้องจนไม่ได้ถ่ายไปเลยก็ได้

เล่นมือถือ, ติดโทรศัพท์, ขับถ่าย, ห้องน้ำ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวาร, ท้องร่วง, หน้ามืด เหน็บชา, หน้าจอโทรศัพท์

 

2. ริดสีดวงทวาร

  • การนั่งถ่ายนาน ๆ และการเบ่ง เป็นการเพิ่มแรงดันบริเวณปากทวารหนักโดยไม่รู้ตัว
  • ทำให้เลือดคั่งบริเวณทวารหนัก จนเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร

3. ท้องร่วง

  • โทรศัพท์เป็นหน่ึงในอุปกรณ์ที่เราใช้งานมากที่สุด แน่นอนว่าถ้าเรานำโทรศัพท์เข้าห้องน้ำ ก็ต้องมีการวางตามพื้นที่ต่าง ๆ ในห้องน้ำ กลายเป็นช่องทางส่งผ่านเชื้อโรคที่พบได้ในห้องน้ำ
  • ยิ่งเราไม่ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
  • การหยิบโทรศัพท์แล้วไปหยิบอาหารเข้าปาก ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคท้องร่วงมากกว่าเดิม

 

4. หน้ามืด เหน็บชา

  • การนั่งบนโถส้วมแบบชักโครก เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดอาการเหน็บชา หน้ามืดได้
  • เนื่องจาก ท่าก้มตัวลงเอาศอกยันต้นขาหรือเข่า เสี่ยงทำให้เกิดเหน็บชาที่ขา และหน้ามืดจากการก้มมองหน้าจอโทรศัพท์ แล้วลุกขึ้นจากโถส้วมอย่างรวดเร็ว จนเกิดอาการหน้ามืดขึ้นได้เช่นกัน
  • หากเกิดอาการหน้ามืดอย่างรุนแรงในห้องน้ำ อาจเกิดอุบัติเหตุรุนแรงถึงชีวิต โดยเฉพาะ
    • ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ
    • พักผ่อนน้อย
    • ทานอาหารไม่เพียงพอ
    • โลหิตจาง
    • เบาหวานกำเริบ
    • ผู้สูงอายุ เป็นต้น

 

เล่นมือถือ, ติดโทรศัพท์, ขับถ่าย, ห้องน้ำ, ท้องผูก, ริดสีดวงทวาร, ท้องร่วง, หน้ามืด เหน็บชา, หน้าจอโทรศัพท์

 

คำแนะนำในการขับถ่ายในห้องน้ำอย่างถูกวิธี

  • ไม่ควรใช้เวลาขับถ่ายในห้องน้ำเกิน 10-15 นาที
  • ควรเข้าไปเพื่อตั้งใจขับถ่ายจริง ๆ หากนั่งนานแล้วยังไม่ถ่ายให้ออกมาจากห้องน้ำก่อน  อาจดื่มน้ำ นม หรือผลไม้ให้มากขึ้น แล้วค่อยรอจนกว่าจะปวดท้อง เพื่อขับถ่ายอีกครั้ง
  • เมื่อขับถ่ายเสร็จให้รีบออกมาจากห้องน้ำทันที

 

ข้อมูล : chulalongkornhospital

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนอง 42 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก กทม.เจอฝน 30%
ฉะเชิงเทรา ประชาชนแห่ส่องเลขประทัดพิธีรับส่งพระราหู
ชาวบ้านสุดทน ประกาศขายบ้าน พร้อมกัน 30 หลัง ซื้อไม่ถึงปี พบปัญหาเพียบ
"ดีเอสไอ" ส่งข้อมูลวิเคราะห์ ปมฮั้วสว.67 ให้ “กกต.” พิจารณากฎหมายเลือกตั้ง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) นักเรียนจีน 100 คน 'แกว่งเชือกยักษ์'ให้เพื่อนโดด
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “Adora Flora City” เรือสำราญจีนผ่านทดสอบการลอยน้ำ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนพัฒนาบ้านคอนเทนเนอร์สำหรับทีมสำรวจขั้วโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) หมู่ดอก 'พิลาปขาว' ในเสฉวน เบ่งบานราวนกสยายปีก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน)เทคโนโลยีอัจฉริยะเสริมการเรียนรู้ 'โรงเรียน' ในฝูเจี้ยน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) โรงพยาบาลจีนใช้ 'AI' บอกทาง-แนะนำผู้ใช้บริการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น