No data was found

ด่วน!!ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราว สื่อนำเสนอข่าวตามสิทธิเสรีภาพ ชี้ ข้อกำหนดขัดรธน.นายกไม่มีอำนาจตัดอินเทอร์เน็ตได้

กดติดตาม TOP NEWS

ศาลแพ่ง สั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามนายกฯ บังคับใช้ข้อกำหนดห้ามเสนอข่าวที่อาจทำให้หวาดกลัว จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ชี้ขัดรธน.-ไม่มีกฎหมายให้อำนาจระงับอินเตอร์เน็ต

ภายหลังจากวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ศาลแพ่งมีคำสั่งให้รับคำฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ พ3618/2564 ที่บริษัท รีพอร์ตเตอร์ โปรดักชั่น จำกัด กับพวกรวม 12 คน ยื่นฟ้อง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29กรกฏาคม 2564 พร้อมรับคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉิน

ล่าสุดวันนี้ เมื่อเวลา 13.30น. ศาลแพ่งพิจารณาไต่สวนแล้วมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ใจความว่า “การออกข้อกำหนดดังกล่าว เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของโจทก์ทั้ง12คน และประชาชนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2560 บัญญัติคุ้มครองไว้ เนื่องจากข้อกำหนดที่กล่าวว่า ข้อความอันอาจทำให้เกิดความหวาดกลัวตามข้อกำหนดนั้นมีลักษณะไม่แน่ชัดและขอบเขตกว้าง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนไม่มั่นใจในการสื่อสารตามเสรีภาพของรัฐธรรมนูญ มาตรา34 วรรค1 และมาตรา35 วรรค1และมาตรา 26 วรรค1

นอกจากนี้ยังเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ ส่วนข้อกำหนด ข้อ 2 ที่ให้อำนาจระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ไอพี (IP address) ที่มีการเผยแพร่ข้อความหรือข่าวสารในอินเทอร์เน็ตที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดฯ ไม่ปรากฏว่ามาตรา2 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีออกข้อกำหนดให้ดำเนินการระงับการให้บริการอินเทอร์เน็ต จึงเป็นข้อกำหนดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการแพร่ระบาดของโรคคิดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease : COVID-19) และรัฐสั่งปิดพื้นที่หรือล๊อกดาวน์จำกัดการเดินทาง

โดยศาลแพ่ง จึงมีคำสั่งห้าม(จำเลย)นายกรัฐมนตรี ดำเนินการบังคับใช้ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราช กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 29) เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น”

ด้านนายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความจากภาคีนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยนางสาวฐปนีย์ เอียดศรีชัย และตัวแทนสื่อมวลชนบางส่วน เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาของศาลในวันนี้ด้วย โดยทนายความ กล่าวว่า ถือว่าพึงพอใจที่ศาลให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้มีคำสั่งคุ้มครอง แต่รัฐก็ยังสามารถบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ได้ ตามกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์กับผู้ที่ทำผิดต่อไปได้ตามปกติ

ขณะที่นางสาวฐปนีย์ กล่าวว่าศาลได้ให้ความคุ้มครองเพื่อให้สื่อมวลชนและประชาชนมีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการแสดงออกความคิดเห็นแต่สื่อมวลชนเองก็ยืนยันว่าจะนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริง ไม่มีการสร้างเฟกนิวส์ตามที่มีข้อกังวล แต่จะนำเสนอข่าวด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุชาติ" ชม "นายกฯเศรษฐา" ทำงานไวเหมือน "ลุงตู่"
สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 "Movement คนรุ่นใหม่"
"ปคบ." แจงผลคืบหน้าคดี "นอท" เร่งสอบเอาผิด "ลอตเตอรี่ พลัส"
"พิชิต" ลั่น 7 พ.ค. พร้อมแจงทุกสิ่งอย่าง ขัดคุณสมบัตินั่งรมต.?
เขมรหนีความจน! ลอบเข้าไทยหางานที่แปดริ้ว หวังค่าแรง 400 บาท
ผบ.พล.ร.11 นำกำลังพลร่วมกิจกรรมฉัตรมงคล
รวบสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคบุกเบิก หนีคดีกว่า 14 ปี สอบสวนกลาง ตามรวบ
"พิพัฒน์" นำทีมคุย "กลุ่มมิตรผล" ร่วมยกระดับมาตรฐาน-ศักยภาพแรงงาน
"พท." จัดหนักล็อตใหญ่ส่ง 9 สายแข็งชิง "นายกอบจ." ดับเครื่องชน "ก้าวไกล" ให้มันรู้ไผเป็นไผศึกเลือกตั้งท้องถิ่น
"กฟน." รับผิดประมาท เหตุคนตกท่อดับ แจงสาเหตุนำฝาไม้ปิดแทน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น