No data was found

จีนพบ “ฟอสซิล” สัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์ใหม่ อายุ 244 ล้านปี

ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, นักบรรพชีวินวิทยา

กดติดตาม TOP NEWS

เซอร์ไพรส์ ยูนนานประกาศพบ "ฟอสซิล" สัตว์เลื้อยคลานในท้องทะเลสายพันธุ์ใหม่ อายุกว่า 244 ล้านปี

ยูนนาน ประกาศพบ “ฟอสซิล” สัตว์เลื้อยคลานในท้องทะเลสายพันธุ์ใหม่ ในหลัวผิง มณฑลยูนนาน อายุกว่า 244 ล้านปี ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า คณะนักบรรพชีวินวิทยาจีนค้นพบ “ฟอสซิล” ของสัตว์เลื้อยคลานในทะเลสายพันธุ์ใหม่ มีอายุมาถึง 244 ล้านปี ในหลัวผิง มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

 

 

สัตว์สายพันธุ์ดังกล่าว มีชื่อว่า หลัวผิงโกซอรัส (Luopingosaurus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่มีรูปร่างคล้ายสัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจก และเป็นสัตว์ประเภทปาคีเพลอโรซอร์ (pachypleurosaur)

  • มีปากแหลมยาว
  • และมีลำตัวยาวมากกว่าครึ่งเมตร

 

 

ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, นักบรรพชีวินวิทยา

 

 

 

ซ่างชิ่งหัว นักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน กล่าวว่า จมูกและปากที่ยื่นยาว คิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของหัว ช่วยลดแรงต้านระหว่างการไล่ล่าในน้ำได้มาก ทำให้สัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้จับเหยื่อได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

 

 

การค้นพบครั้งนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกครั้งใหม่เกี่ยวกับวิวัฒนาการระยะแรกของสัตว์ประเภทปาคีเพลอโรซอร์

 

ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, นักบรรพชีวินวิทยา

 

 

 

การศึกษาพบว่า ขาหน้าของสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้มีกระดูกหลายท่อน ทำให้ครีบมีความยืดหยุ่นมากขึ้นขณะเปลี่ยนทิศทางในน้ำ โดยการค้นพบครั้งนี้ยังแสดงหลักฐานฟอส ซิลที่เก่าแก่ที่สุดของซอโรเทอรีเจีย (Sauropterygia) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่มีกระดูกหลายท่อน

 

 

การศึกษานี้ชี้ว่า ความสามารถของปาคีเพลอโรซอร์ในการใช้ด้านข้างจับปลาขนาดเล็กและเหยื่ออื่น ๆ จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นระหว่างกระบวนการเกิดวิวัฒนาการ แต่ประสิทธิภาพในการกลืนหลังจากจับได้แล้วจะค่อย ๆ ลดลง

 

 

 

ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, ฟอสซิล, จีน, สัตว์เลื้อยคลาน, สัตว์เลื้อยคลายในทะเล, pachypleurosaur, หลักฐานฟอสซิล, ยูนนาน, หลัวผิงโกซอรัส, นักบรรพชีวินวิทยา

 

 

อนึ่ง สัตว์เลื้อยคลานในทะเลที่ค้นพบในจีนและถูกตั้งชื่อเป็นครั้งแรกเป็นสัตว์ประเภทปาคีเพลอโรซอร์เช่นกัน โดยมีชื่อว่าเคอิโชซอรัส (Keichousaurus) ซึ่งพบในปี 1957

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผอ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 58 จ.อุทัยธานี เปิดใจ แจงปมดราม่าไม่มี "นมโรงเรียน" ให้เด็กกิน
"สุริยะ" มอบทอท.ดูแล-ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเครื่องบิน "สิงคโปร์แอร์ไลน์" ลงจอดฉุกเฉินสุวรรณภูมิ
"ปลัดกระทรวงเกษตร" ยันส่งนมให้โรงเรียนในนครสวรรค์เช้านี้ พร้อมสางปัญหาจัดสรรนมไม่เป็นธรรม
"นายกฯ" ย้ำปมดราม่าข้าว 10 ปี จบแล้ว ขั้นตอนซื้อขายให้เป็นตามกลไกเชิงพาณิชย์
ซีพีเอฟ ร่วม เขตหนองจอก กทม. โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ
"รมว.วธ." ปลื้มรับ "โกลเด้นบอย-สตรีพนมมือ" เปิดเข้าชม 22 พ.ค.นี้
“พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์” ถอนฟ้อง “บุ้ง ทะลุวัง” คดีหมิ่นประมาท
พล.ร.11 นำกำลังพลร่วมประกอบพิธีเวียนเทียนวันวิสาขบูชา
ทรภ. 1 จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ”เนื่องในวันอาภากร” ประจำปี 2567
"กลุ่มสมาพันธ์กัญชา" ยื่นหนังสือหนุน "ภูมิใจไทย" ผลักดันกม.กัญชา คัดค้านแนวคิดรัฐดึงกลับเป็นยาเสพติด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น