logo

ห้ามพลาด ชม “ดาวหาง” C/2022 E3 เข้าใกล้โลกในรอบ 50,000 ปี

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

ย้ำ วันนี้ห้ามพลาดชม "ดาวหาง" C/2022 E3 เข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 50,000 ปี อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ประเดิม “ดาวหาง” ดวงแรกของปี 2023 กับ C/2022 E3 ดาว หาง ที่ไม่เคยโคจรใกล้โลกมานานกว่า 50,000 ปี แต่ในวันที่ 1 ก.พ. นี้ ดาว หาง จะเข้าใกล้โลกมากที่สุด แนวโน้มมีความสว่างมากขึ้นจนอาจมองเห็นด้วยตาเปล่า ติตตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวดี! สายดูดาวมีเฮ หลังนักดาราศาสตร์ เผย “ดาวหาง” C/2022 E3 จะเคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 50,000 ปี และมีแนวโน้มจะสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

โดยนักดาราศาสตร์เผยว่า C/2022 E3 (ZTF) กำลังจะเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 12 มกราคม และเข้าใกล้โลกมาที่สุดในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ คาดว่าช่วงดังกล่าวดาว หางจะมีส่วนหางฟุ้งกระจายและส่องสว่างมากที่สุด ซึ่งหากสถานการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจาง ๆ ในท้องฟ้าที่มืด

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

ซึ่งรายงานของนาซาระบุว่า ผู้ที่อาศัยบริเวณซีกโลกเหนือ (รวมทั้งไทย) สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงเช้า โดยดาว หางจะเคลื่อนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากนั้นดาว หางจะปรากฏให้ผู้สังเกตในซีกโลกใต้สังเกตได้ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสังเกตดาว หาง C/2022 E3 (ZTF) คือ วันที่ดวงจันทร์ไม่สว่างมาก ซึ่งในเดือนมกราคมนี้ วันที่จันทร์ดับจะตรงกับวันที่ 22 มกราคม ดังนั้น หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ฟ้าเปิดและไม่มีเมฆบัง จะสามารถสังเกตเห็นดาว หางในช่วงเวลาดังกล่าวบริเวณกลุ่มดาวมังกร (Draco)

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

ดาว หางดวงนี้ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ แฟรงค์ มาสซิ (Frank Masci) แล ไบรซ์ โบลิน (Bryce Bolin) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2022 ที่ผ่านมา ในหอดูดาว Palomar ใน Zwicky Transient Facility (ZTF)

ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการเครื่องยนต์ขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ขององค์การนาซา พบว่า ดาว หางดวงนี้มีคาบการโคจรประมาณ 50,000 ปี ในรูปแบบพาลาโบลา ซึ่งมายความว่า ครั้งสุดท้ายที่ดาว หาง ดวงนี้โคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นในอยู่ในช่วงท้าย ๆ ของยุคหินเก่า (ช่วงที่มนุษย์ยุคแรกเริ่ม) อยู่อาศัยบนโลกในช่วงยุคน้ำแข็ง นั่นหมายความว่า การโคจรเข้าใกล้โลกในครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่มนุษย์ปัจจุบันจะได้เห็น

ดาวหาง, ดาวหาง C/2022 E3 (ZTF), ดาวพฤหัส, นักดาราศาสตร์, นาซา, กลุ่มดาวมังกร, จันทร์ดับ

อย่างไรก็ตาม ความสว่างของดาว หางเป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ยาก เพราะ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และหลายครั้งที่ดาว หางมีความสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่สุดท้ายก็ยังไม่เพียงพอที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ อย่างไรก็ตาม นับว่ายังมีจังหวะนานหลายวันที่จะสังเกตเห็นผ่านกล้องโทรทรรศน์ในช่วงปลายเดือนมกราคม-ต้นกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023

ทั้งนี้ สำหรับใครที่พลาดไปจริง ๆ ไม่ต้องเสียใจไป สามารถชมได้อีกครั้งในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ เนื่องจาก ดาว หางจะเข้าใกล้ดาวอังคาร แต่อาจมองได้ค่อนข้างลำบาก แนะนำให้ชมวันที่ 1 กุมภาพันธุ์นี้ดีที่สุด!

ข้อมูล : space และ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนอง 17 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.ก็โดนด้วย
เพจกล้าที่จะก้าว นำเหยื่อ “แชร์ลูกโซ่ธุรกิจออมทอง” เข้าร้องเรียน ดีเอสไอ ภาค 1 หลังโดนโกงสูญเงินนับร้อยล้าน
"บิ๊กอุ้ม" ลุยบุรีรัมย์กับ "กสศ." แก้ปัญหาเด็กหลุดนอกระบบการศึกษา มอบ "สกร." ตามเด็กถึงบ้าน ตั้งเป้าเทอม 2/2567 "บุรีรัมย์เด็กดร็อปเอาต์เป็นศูนย์"
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" ชื่อนี้มีที่มา ลุ้นเป็น "มรดกโลก" แห่งที่ 8 ของประเทศไทย
สถานทูตฯ เตือนคนไทยในฝรั่งเศส ระวังตัว หลังเกิดเหตุวินาศกรรมเผาเส้นทางรถไฟ
จนท.เฝ้าระวัง "น้ำป่า" ไหลหลากผ่ากลางโรงเรียน หวั่นอาคารถล่ม วิกฤติซ้ำซ้อน เด็กนร. โดนไฟช็อต เร่งหามส่งรพ.ด่วน
"อ.อ๊อด" ค้านใช้ไซยาไนด์กำจัด "ปลาหมอคางดำ" หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ 5 รูป วัดโพธิ์
สุดเศร้า "เบนซ์ ธนธิป" อดีตนักแสดง เสียชีวิตแล้ว หลังตกเตียงผู้ป่วย
"สหกรณ์ฯพรหมคีรี" เตรียมรับมือมังคุดทะลัก มั่นใจราคาไม่ตกเหตุสมาชิกทำมังคุดคุณภาพ

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น