ร้อง EU 2 มาตรฐาน เหตุไม่ให้เข้าประเทศหากฉีดวัคซีนที่ยุโรปไม่รับรอง

ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมองว่า การที่สหภาพยุโรปไม่ยอมให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนที่สหภาพยุโรปยังไม่รับรองเข้าประเทศได้นั้นเป็นการเลือกปฎิบัติ

หลังจากที่ ดร.อิเฟียนยี เอ็นโซฟอร์ ชาวไนจีเรีย และภรรยาของเขาได้วางแผนจะเดินทางไปยุโรปแต่พบว่าอาจถูกปฏิเสธเนื่องจากวัคซีนที่ฉีดนั้น ทางสหภาพยุโรปยังไม่รับรอง โดยทั้งสองได้ฉีดวัคซีน แอสตราเซเนกา ไปครบทั้ง 2 โดสแล้ว แต่เป็นแอสตราเซเนกา ที่ผลิตในประเทศอินเดีย หรือที่รู้จักในชื่อ โควาชิลด์ ทำให้สหภาพยุโรปที่ยังไม่ไฟเขียวให้กับวัคซีนที่ผลิตในอินเดียอาจทำให้พวกเขาถูกปฏิเสธการเข้าประเทศ

ทางหน่วยงานกำกับดูแลของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า แอสตราเซเนกายังไม่ได้ดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับโรงงานในอินเดีย รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการผลิตและมาตรฐานการควบคุมที่จะแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีคุณภาพเพียงพอ อย่างไรก็ดี ได้มีผู้เชี่ยวชาญบางคนอธิบายว่าการที่ สหภาพยุโรปปฏิเสธผู้รับวัคซีนที่ทางยุโรปยังไม่ยอมรับนั้นเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยชี้ให้เห็นว่าองค์การอนามัยโลกได้ตรวจสอบและอนุมัติโรงงานแล้ว ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้การเดินทางยุ่งยากและทำให้เศรษฐกิจแย่ลงเท่านั้น แต่ยังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของวัคซีนอีกด้วย

เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม สหภาพยุโรปได้แนะนำใบรับรองดิจิทัลเกี่ยวกับโควิด 19 ซึ่งช่วยให้ผู้อยู่อาศัยในสหภาพยุโรปสามารถเดินทางได้อย่างอิสระในกลุ่ม 27 ประเทศ หากพวกเขาฉีดวัคซีนที่ได้รับการรับรองในยุโรป 4 ชนิด คือ แอสตราเซเนกาที่ผลิตในยุโรป ไฟเซอร์ โมเดอร์นา และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน แต่จะไม่รวมถึงแอสตราเซเนก้าที่ผลิตในอินเดีย และวัคซีนจากจีนและรัสเซีย นอกจากเรื่องวัคซีนแล้ว การรับรองเข้าประเทศได้ยังรวมถึงต้องมีผลตรวจเป็นลบ หรือเพิ่งรักษาโควิดหาย ก็ได้รับการรับรองเช่นกัน ใบรับรองนี้นับเป็นแบบอย่างให้มีการเดินทางได้ดีในยุคโควิด 19 อย่างไรก็ตาม บางประเทศในสหภาพยุโรปก็ไม่ได้เคร่งครัดว่าต้องเป็นวัคซีน 4 ชนิดนี้เท่านั้น เช่น เยอรมันี สวิตเซอร์แลนด์ซึ่ง เรื่องนี้ยังคงเป็นความสับสนสำหรับผู้ที่วางแผนเดินทางไปเยือนสหภาพยุโรป

เอ็นโซฟอร์ ตั้งข้อสังเกตว่าวัคซีนที่ผลิตในอินเดียที่เขาได้รับนั้น ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้ว และยังได้รับการจัดหาผ่านโครงการปันวัคซีนโคแวกซ์  การกีดกันความเท่าเทียมเรื่องวัคซีน จะเป็นการด้อยค่าวัคซีนที่ใช้ในแอฟริกาว่าดีไม่เท่าชาติตะวันตก

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ศาสตราจารย์ อีโว วลาเยฟ จากมหาวิทยาลัยวอร์วิกค์ ในอังกฤษ ซึ่งให้คำแนะนำว่าการที่ประเทศตะวันตกปฏิเสธที่จะยอมรับวัคซีนที่ใช้ในประเทศยากจนอาจจุดชนวนให้เกิดความไม่ไว้วางใจได้

องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ยอมรับวัคซีนทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตไปแล้ว หน่วยงานด้านสุขภาพของสหประชาชาติกล่าวว่า ประเทศที่ปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น กำลังบ่อนทำลายความเชื่อมั่นในวัคซีนที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบต่อการรับวัคซีนและอาจทำให้ผู้คนหลายพันล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"GLO" จัด Kid Dee Roadshow ภาคเหนือ เสริมพลังคนรุ่นใหม่รู้เท่าทันภัยพนันออนไลน์
“ภูมิธรรม” ชี้ชายแดนไทย-กัมพูชายังตึงเครียด ยันยึดมาตรการตามเดิม ไม่มีผ่อนปรนเข้า-ออก ข้ามแดน
"บิ๊กเล็ก" แจงเข้าใจคลาดเคลื่อน ยันคุยทางออกขัดแย้งกัมพูชา ไม่ได้หมายถึง "เตีย เซียฮา" ขอเชื่อมั่น ไว้ใจนำสงบสุขกลับคืน
"อ.ไชยันต์" ซัด "ไอติม พริษฐ์" อ้างเหตุปชน.ไม่ร่วมยื่นซักฟอก "นายกอิ๊งค์" ทำปชช.เสียโอกาส สวนเจ็บ รัฐสภาอังกฤษ เขียนชัด จริยธรรมนักการเมือง อย่าทำไม่รู้เห็น 
ปั๊มน้ำมันระเบิดดังสนั่นทั่วกรุงโรมของอิตาลี
"โฆษกทบ." แจงเหตุ "ทหารพรานไทย" ปะทะคารม "ทหารกัมพูชา" จุดชมวิวภูผี ไม่ถึงขั้นรุนแรง ย้ำต่างฝ่ายต่างยึดข้อตกลง
"จุลพันธ์" อ้างเหตุครม.ใหม่ เตรียมถอนร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์-กาสิโน พิจารณาซ้ำ ยันไม่เกี่ยวปมขัดแย้งกัมพูชา
ดร.เฉลิมชัย ปิดหลักสูตร ปธส. 12 มุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด
"มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์" ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรทุ่งหลวง ราชบุรี มอบรถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย ถวายเป็นพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568
"หมอวรงค์" สรุปแยกเป็นข้อๆ ไต่สวนแพทย์-พยาบาล รักษา "ทักษิณ" พิรุธหนัก แพทย์อ้างส่งไปรพ.ตร. เพราะ "พยาบาลเวร" วินิจฉัยอาการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น