No data was found

ศปก.ศบค.อาจล็อกดาวน์พื้นที่โควิดระบาดหนัก หาก สธ.เสนอ

กดติดตาม TOP NEWS

ทำเนียบฯ 7 ก.ค.- "พล.อ.ณัฐพล" เผยรอข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุข หากเสนอล็อกดาวน์พื้นที่โควิดระบาดหนัก ก็พร้อมดำเนินการ แต่พื้นที่อื่น ๆ ก็ต้องมีมาตรการเสริม ชี้รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจดูตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่ม หามาตรการแก้ไขต่อเนื่อง

พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ผอ.ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่า กำลังรอข้อเสนออย่างเป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุข ในการพิจารณาว่าจะล็อคดาวน์ พื้นที่โควิด-19 ระบาด ซึ่งทาง ศบค.พร้อมที่จะรับพิจารณา เพราะต้องฟังข้อคิดเห็นจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นอันดับแรก และนำมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะนี้ถือว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อยังทรงตัว แต่ก็มีการติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด พร้อมกันนี้ขอให้ทุกคนเข้าใจในคำว่าล็อคดาวน์ ซึ่งหากเปรียบเทียบความหมายแล้วประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ล็อคดาวน์ เมื่อครั้งเดือนเมษายน 2563 แต่หลังจากนั้นแล้วประเทศไทยไม่ได้ดำเนินมาตรการล็อคดาวน์แต่เป็นการปิดพื้นที่ ปิดบางกิจการ จำกัดการเคลื่อนย้าย ทั้งนี้หากตัวเลขมีการเพิ่มสูงขึ้นการประชุมรับข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุขก็จะเร็วขึ้นก่อนวันที่ 12 กรกฎาคม ซึ่งจะครบกำหนดการออกมาตรการล่าสุด แต่หากตัวเลขยังขึ้นลงก็ต้องประเมินให้ครบเวลา 15 วัน เพื่อประเมินครั้งเดียวและให้เกิดความครบถ้วน ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ นั่งรอให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ระหว่างนี้ก็เร่งหามาตรการในการแก้ไขสถานการณ์ เช่นการควบคุมการเคลื่อนย้าย การรักษาพยาบาล การจัดหาเตียงเพิ่มเติม เป็นต้น

ผอ.ศปก.ศบค. กล่าวว่า หากเกิดการล็อกดาวน์ ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง พื้นที่อื่น ๆ ก็จะต้องมีมาตรการเสริมให้สอดคล้องกันด้วย เพื่อสอดคล้องกับพื้นที่ที่ล็อคดาวน์ ดังนั้นอาจจะต้องมีการลดหลั่นมาตรการไปตามพื้นที่ รัฐบาลไม่ได้หลีกเลี่ยงที่จะล็อกดาวน์ประเทศแต่ความหมายและการดำเนินมาตรการต้องชัดเจนนั่นหมายถึงการล็อกดาวน์คือห้ามไม่ให้ไปไหน และมีมาตรการเคอร์ฟิวส์ เข้ามา การล็อกดาวน์ในเดือนเมษายน 2563 ผู้ประกอบการและคนที่มีรายได้ไม่ประจำกระทบและเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้นกระทรวงการคลังรายงานว่าต้องใช้งบประมาณในการเยียวยาถึงเดือนละ เกือบ 300,000 ล้านบาท ซึ่งหากดำเนินการล็อกดาวน์หมายความว่าต้องใช้งบประมาณจำนวนที่กล่าวมาในการเยียวยาประชาชน ซึ่งก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้นทาง ศบค.จึงคำนึงว่าการให้ประชาชนบางส่วนได้ทำมาหากินโดยไม่กระทบและเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดจึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ท้ายสุดแล้วจะต้องมีการหารือและวิเคราะห์ปัจจัยในการแก้ไขปัญหาแต่หากกระทรวงสาธารณสุขมองว่าต้นเหตุทั้งหมดเป็นปัจจัย ก็ต้องปฏิบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอจึงขอรอฟังเหตุผลอย่างเป็นทางการก่อน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อุปนายก "สมาคมคนพิการฯ" เสียงแข็งโควต้าสลากฯส่งแค่สมาชิก แจงละเอียด ทำไม "หวย" บางล็อต หลุดโผล่ยี่ปั๊ว นายทุนออนไลน์
ว่อนโซเชียล ! พระสงฆ์ใช้บาตรฟาดหัวโยม ล่าสุดเจ้าอาวาสสั่งให้ออกจากวัดแต่พระรูปดังกล่าวไม่ยอมชี้หน้าด่ากราดเจ้าอาวาสวัด
พัทยา ร้อนจัด ส่งผลกระทบ 2 อ่างหลักเก็บน้ำดิบ แห้งขอด หากฝนยังไม่ตก หวั่นกระทบต่อประชาชนและภาคท่องเที่ยว
อย่าเพิ่งรีบเติม พรุ่งนี้ “น้ำมันลดราคา” เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ ปรับลง 0.50 บาทต่อลิตร
เปิดรายชื่อ 15 องค์กรหลัก รับโควต้าสลากฯ แค่ขายให้หมด กินส่วนต่าง 1.60 บาท/ใบ รายได้รวมเกือบ 30 ล้านต่อเดือน
จีน แก๊ง ‘โลมาหัวบาตรหลังเรียบแยงซี’ ว่ายน้ำเล่น
"สรรเพชญ" สวน "อุ๊งอิ๊ง" วิจารณ์แบงก์ชาติ ชี้ดื้อรั้นแจกเงินดิจิทัล กระทบการคลังปท.
กัมพูชาเตือนประชาชนเลี่ยง ‘แดด’ หลังอุณหภูมิพุ่ง 43°C
เกาหลีใต้ เตือนภัยสถานทูตใน 5 ประเทศ
หลายชาติส่ง 'ทุเรียน' ตีตลาดจีน ทุเรียนไทยเสี่ยงไม่ได้ 'ยืนหนึ่ง' ต่อ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น